backup og meta

ตำแยแมว (Acalypha indica)

ตำแยแมว (Acalypha indica)

ตำแยแมว (Acalypha indica หรือ Indian acalypha) เป็นไม้ล้มลุกขนาดเล็ก มักจะเกิดขึ้นเป็นวัชพืชที่สามารถพบได้ตามทุ่งร้างข้างทาง หลายคนนิยมถอนรากตำแยแมวมาให้แมวกิน

[embed-health-tool-bmr]

ข้อบ่งใช้

ตำแยแมว ใช้สำหรับ

ตำแยแมว (Acalypha indica หรือ Indian acalypha) เป็นไม้ล้มลุกขนาดเล็ก ความสูงประมาณ 60-80 เซนติเมตร ใบมนรี ปลายแหลม มีขอบหยักเล็กน้อย มักจะเกิดขึ้นเป็นวัชพืชที่สามารถพบได้ตามทุ่งร้างข้างทาง หลายคนนิยมถอนรากตำแยแมวมาให้แมวกิน

เรามีการนำตำแยแมวมาใช้เป็นสมุนไพร รับประทานเพื่อใช้เป็นยาระบาย ขับพยาธิ ขับเสมหะ และช่วยบรรเทาอาการไอ นอกจากนี้ยังสามารถนำต้นแห้งมาบด ทาผิวหนังเพื่อรักษาอาการคัน และโรคผิวหนังอื่นๆ

การทำงานของตำแยแมว

ยังมีข้อมูลไม่เพียงพอเกี่ยวกับการทำงานของตำแยแมวเมื่อนำมาใช้เป็นสมุนไพร โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม แต่เป็นที่คาดการณ์กันว่า เนื่องจากการรับประทานตำแยแมวนั้นส่งผลให้เกิดอาการคลื่นไส้และอาเจียน หลายคนจึงนำมาใช้เพื่อช่วยในการขับเสมหะ และขับพยาธิ

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ ตำแยแมว

ปรึกษาแพทย์หรึอเภสัชกร หาก

  • คุณอยู่ในช่วงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร เนื่องจากในขณะที่คุณกำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร คุณควรจะได้รับยาตามคำสั่งแพทย์เท่านั้น
  • คุณได้รับยาชนิดอื่นอยู่ ไม่ว่าจะเป็นยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง สมุนไพร เป็นต้น
  • คุณมีอาการแพ้สารจากตำแยแมว หรือแพ้ยาชนิดอื่น หรือแพ้สมุนไพรชนิดอื่น
  • คุณมีอาการเจ็บป่วย มีอาการผิดปกติ หรือภาวะทางการแพทย์อื่นๆ
  • คุณมีอาการแพ้ต่าง ๆ เช่นแพ้อาหาร สีผสมอาหาร สารกันบูด เนื้อสัตว์

ตำแยแมวมีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อนๆ ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร เช่น อาการท้องเสีย ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานตำแยแมว เนื่องจากอาจจะทำให้มีอาการรุนแรงขึ้น

กฎระเบียบสำหรับการใช้สมุนไพรนั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่ายารักษาโรค เพื่อความปลอดภัย คุณจึงควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการใช้ตำแยแมวให้ดีก่อนการใช้ ประโยชน์ของการใช้ตำแยแมวควรมีมากกว่าความเสี่ยงในการใช้ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ในปัจจุบันยังไม่สามารถทราบแน่ชัดว่า การใช้ตำแยแมวเป็นสมุนไพร ในช่วงขณะตั้งครรภ์และให้นมบุตรนั้นปลอดภัยหรือไม่ เพื่อความปลอดภัยควรหลีกเลี่ยงการใช้

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้ตำแยแมว

การรับประทานตำแยแมวมากเกินไป อาจทำให้เกิดอาการดังต่อไปนี้

ตำแยแมวมีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อนๆ ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร เช่น อาการท้องเสีย ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานตำแยแมว เนื่องจากอาจจะทำให้มีอาการรุนแรงขึ้น

อย่างไรก็ตาม ผลข้างเคียงที่กล่าวมาข้างต้น อาจไม่ได้เกิดกับทุกคน หรือบางคนอาจมีผลข้างเคียงอื่นนอกเหนือจากนี้ หากคุณมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร

ปฏิกิริยาต่อยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

ตำแยแมวอาจทำปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ และอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียงรุนแรง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น คุณควรแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรด้วยว่า คุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง ไม่ว่าจะเป็นยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง สมุนไพร

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ขนาดยาของตำแยแมว

ปริมาณในการใช้ตำแยแมวเพื่อเป็นสมุนไพร อาจจะแตกต่างกันออกไปตามแต่ละบุคคล ขึ้นอยู่กับสุขภาพ อายุ และปัจจัยอื่นๆ การใช้ตำแยแมวในรูปแบบสมุนไพรอาจจะไม่ได้ปลอดภัยเสมอไป จึงควรปรึกษาเรื่องปริมาณการใช้ที่เหมาะสม และวิธีการใช้งานอย่างปลอดภัยจากแพทย์หรือเภสัชกรเสมอ

รูปแบบของตำแยแมว

ตำแยแมวมีจำหน่ายในรูปแบบดังต่อไปนี้

  • ตำแยแมวสด
  • ตำแยแมวแห้ง

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตำแยแมว สรรพคุณและประโยชน์ของต้นตำแยแมว 17 ข้อ ! https://medthai.com/%E0%B8%95%E0%B8%B3%E0%B9%81%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B8%A7/

Acalypha indica http://tropical.theferns.info/viewtropical.php?id=Acalypha+indica

Maraotong http://www.stuartxchange.org/Maraotong.html

Acalypha indica (PROTA) https://uses.plantnet-project.org/en/Acalypha_indica_(PROTA)

Antibacterial activity of Acalypha indica L https://www.europeanreview.org/wp/wp-content/uploads/533.pdf

เวอร์ชันปัจจุบัน

27/10/2022

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

รากบัว สมุนไพรมหัศจรรย์ ที่อาจช่วยปรับปรุงสุขภาพภายใน

ตำแย (Nettle)


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 27/10/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา