การใช้ประโยชน์ ตำแย
ตำแย ใช้สำหรับทำอะไร
ตำแย (Nettle) นิยมใช้ส่วนของรากเป็นหลัก เพื่อรักษาเรื่องของการขับปัสสาวะที่เกี่ยวกับโรคต่อมลูกหมากโต (BPH) รวมถึงการปัสสาวะบ่อยในช่วงเวลากลางคืน ความเจ็บปวดขณะปัสสาวะ นิ่วในไต ในส่วนของที่เหนือพื้นดินขึ้นไป ผู้คนใหญ่มักนำมาปรุงเป็นยาเพื่อรักษาอาการ ดังต่อไปนี้
- โรคภูมิแพ้ ไข้ละอองฟาง และโรคข้อเสื่อม
- เลือดออกในมดลูก เลือดกำเดาไหล และเลือดออกในลำไส้
- ภาวะโลหิตจาง การไหลเวียนโลหิตผิดปกติ
- ม้ามขยายตัว
- โรคเบาหวาน
- ความผิดปกติของต่อมไร้ท่อ
- กรดในกระเพาะอาหาร อาการท้องร่วง และโรคบิด
- ผื่นคัน และโรคเรื้อนกวาง
- ป้องกันริ้วรอยความแก่
- ขจัดสารพิษในโลหิต
- สมานแผล และเป็นยาบำรุงทั่วไป
- บรรเทาอาการเจ็บปวดกล้ามเนื้อ หนังศีรษะมัน และผมร่วง
การทำงานของตำแย
การศึกษาเกี่ยวกับการทำงานของตำแยยังไม่เพียงพอมากนัก โปรดปรึกษานักสมุนไพร หรือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อขอรับข้อมูลเพิ่มเติม แต่อย่างไรก็ตาม เป็นที่ทราบกันดีว่าตำแย อาจช่วยเรื่องการลดความอักเสบ และเพิ่มปริมาณน้ำปัสสาวะได้
ข้อควรระวังและคำเตือน
เราควรรู้อะไรบ้างก่อนใช้ตำแย
ควรปรึกษากับแพทย์และเภสัชกรหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรถึงอาการหรือลักษณะ ดังต่อไปนี้
- ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร เนื่องจากในขณะที่ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรควรจะได้รับยาหรือสมุนไพรบำรุง ที่จัดจำหน่ายโดยแพทย์เท่านั้น
- อยู่ในระหว่างการใช้ยาหรือสมุนไพรอื่นๆ ร่วมด้วย รวมถึงยาทุกชนิดที่ซื้อรับประทานเองโดยไม่มีใบสั่งยาจากแพทย์
- มีอาการแพ้สารที่มีส่วนประกอบของตำแยหรือยาและสมุนไพรชนิดอื่น
- มีอาการเจ็บป่วย มีอาการผิดปกติ หรือมีโรคอื่นๆ แทรกซ้อน
- มีอาการแพ้ต่าง ๆ เช่นแพ้อาหาร สีผสมอาหาร สารกันบูด หรือเนื้อสัตว์
ข้อบังคับสำหรับผลิตภัณฑ์สมุนไพรเสริมอาหารนั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่าข้อบังคับของการใช้ยา จึงจำเป็นต้องศึกษาเพิ่มเติมเพื่อความปลอดภัยในการใช้ ประโยชน์ของการใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรเสริมอาหารนี้จะต้องมีค่าน้ำหนักมากกว่าความเสี่ยง ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม
ตำแยมีความปลอดภัยแค่ไหน
สำหรับสตรีตั้งครรภ์และผู้ที่อยู่ในช่วงให้นมบุตร : สมุนไพรชนิดนี้ค่อนข้างอันตรายสำหรับสตรีตั้งครรภ์ อาจส่งผลต่อการหดรัดตัวมดลูกและสาเหตุของการแท้งโดยธรรมชาติ ทางที่ดีที่สุด ควรหลีกเลี่ยงการใช้ตำแยระหว่างตั้งครรภ์
ผลข้างเคียง
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ตำแย
ตำแยอาจทำให้เกิดผลข้างเคียง ดังต่อไปนี้:
ไม่ใช่ทุกคนที่จะได้รับผลข้างเคียงเหล่านี้ และอาจมีผลข้างเคียงอื่นๆ นอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น หากคุณมีความกังวลใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษาแพทย์ และเภสัชกรก่อนเสมอ
ปฏิกิริยาระหว่างยา
ตำแยอาจเกิดปฏิกิริยากับตัวยาอื่นที่คุณใช้ร่วมด้วย เช่น ยาต้านเกร็ดเลือดและยากันเลือดเป็นลิ่ม เพราะอาจส่งผลกับการแข็งตัวของเลือด และอาจทำให้ประสิทธิภาพของยาเจือจาง
- วาร์ฟาริน (Warfarin)
- โคลพิโดเกรล (Clopidogrel)
- แอสไพริน (Aspirin)
ยาสำหรับความดันโลหิตสูง : อาจทำให้ความดันโลหิตลดลง ดังนั้นตำแยอาจมีผลกระทบกับยาเหล่านี้
- เอซีอี อินฮิบิเตอร์ (ACE inhibitors): แคปโตพริล (Captopril), อีลาโรพริล (Elaropril), ลิซิโนพริล (lisinopril), โฟซิโนพริล (fosinopril)
- เบต้า บล็อกเกอร์ (Beta-blockers): อะทีโนลอล (Atenolol), เมโทโพรลอล (metoprolol), โพรพราโนลอล (propranolol)
- แคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์ (Calcium channel blockers): ไนเฟดิปีน (Nifedipine), แอมโลดิปีน (amlodipine), เวอราปามิล (verapamil)
ยาขับปัสสาวะ : เมื่อใช้ร่วมกับตำแยอาจเพิ่มผลกระทบของยาจำพวกนี้ และเพิ่มความเสี่ยงของภาวะขาดน้ำ เช่น ฟูโรซีไมด์ (Furosemide เช่น Lasix), ไฮโดรคลอโรไทอะไซด์ (Hydrocholorothiazide)
ยาสำหรับโรคเบาหวาน : ตำแยอาจทำให้น้ำตาลในเลือดต่ำลงและเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะเลือดมีน้ำตาลน้อย
ตำแยอาจเกิดปฏิกิริยากับตัวยาอื่นนอกเหนือจากข้างต้น หรืออาจมีผลข้างเคียงต่อการรักษาอื่นๆ ควรปรึกษาแพทย์ หรือนักสมุนไพรศาสตร์ก่อนใช้สมุนไพรเสมอ
ขนาดการใช้
ข้อมูลที่นำเสนอนี้ไม่สามารถใช้อ้างอิงเป็นคำแนะนำทางการแพทย์ โปรดปรึกษาเภสัชกร หรือแพทย์ของท่าน ก่อนการนำยาตัวนี้ไปใช้เสมอ
ปริมาณการใช้ตำแย อาจแตกต่างกันไปตามแต่ละบุคคล ซึ่งขึ้นอยู่กับอายุ สุขภาพ และโรคอื่นๆ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารนี้ไม่ได้ปลอดภัยเสมอไป โปรดปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์สำหรับขนาดยาที่เหมาะสมกับคุณ
สมุนไพรดังกล่าวอาจอยู่ในรูปแบบใด
สมุนไพรดังกล่าวอาจมีรูปแบบดังต่อไปนี้
- ชา
- สารละลายแอลกอฮอล์
- สารสกัดเหลว
- ครีม
- ใบตำแยแห้ง
- แคปซูล และยาเม็ด
Hello Health Groupไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด
[embed-health-tool-bmi]