backup og meta

ต้นพวงทอง (Goldenrod)

ต้นพวงทอง (Goldenrod)

การใช้ประโยชน์ ต้นพวงทอง

ต้นพวงทอง ใช้สำหรับทำอะไร

ต้นพวงทอง (Goldenrod) มีถิ่นกำเนิดมาจากทางทวีปยุโรป เอเชีย และอเมริกาเหนือ มักพบได้ตามข้างท้องถนน แม่น้ำ มีลักษณะเป็นดอกสีเหลืองบานสะพรั่งในช่วงฤดูร้อน ซึ่งมีมากกว่า 100 สายพันธุ์ นอกจากความสวยงามแลัว ยังช่วยในการรักษาอาการ และโรคต่างๆ ได้ดังนี้

  • โรคข้ออักเสบ
  • โรคเกาต์
  • อาการแพ้
  • ไข้หวัด
  • การอักเสบของกระเพาะปัสสาวะ และทางเดินปัสสาวะ
  • นิ่วในไต
  • ผิวหนังอักเสบเรื้อรัง (รักษาโดยการทาผิว)
  • บาดแผลเล็กน้อย (รักษาโดยการทาผิว)

ไม่ควรใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของพืชชนิดนี้ทาลงบนแผลเปิด แผลสด เพราะอาจเกิดการระคายเคืองต่อผิวหนังได้

การทำงานของต้นพวงทอง

การศึกษาเกี่ยวกับการทำงานของต้นพวงทองยังไม่เพียงพอมากนัก โปรดปรึกษานักสมุนไพร หรือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อขอรับข้อมูลเพิ่มเติม แต่อย่างไรก็ตาม มีบางการศึกษาที่ได้รายงานว่าพืชชนิดนี้ มีสารเคมีที่เพิ่มยูรีน (Urine) และสารต้านการบวม (แก้อักเสบ) ที่นำไปสู่การรักษาโรคข้ออักเสบได้

ข้อควรระวังและคำเตือน

อะไรที่คุณควรรู้บ้างก่อนใช้ต้นพวงทอง

ควรปรึกษากับแพทย์และเภสัชกรหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรถึงอาการหรือลักษณะ ดังต่อไปนี้

  • ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร เนื่องจากในขณะที่ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรควรจะได้รับยาหรือสมุนไพรบำรุง ที่จัดจำหน่ายโดยแพทย์เท่านั้น
  • อยู่ในระหว่างการใช้ยาหรือสมุนไพรอื่นๆ ร่วมด้วย รวมถึงยาทุกชนิดที่ซื้อรับประทานเองโดยไม่มีใบสั่งยาจากแพทย์
  • มีอาการแพ้สารที่มีส่วนประกอบของต้นพวงทองหรือยาและสมุนไพรชนิดอื่น
  • มีอาการเจ็บป่วย มีอาการผิดปกติ หรือมีโรคอื่นๆ แทรกซ้อน
  • มีอาการแพ้ต่าง ๆ เช่นแพ้อาหาร สีผสมอาหาร สารกันบูด หรือเนื้อสัตว์

ข้อบังคับสำหรับผลิตภัณฑ์สมุนไพรเสริมอาหารนั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่าข้อบังคับของการใช้ยา จึงจำเป็นต้องศึกษาเพิ่มเติมเพื่อความปลอดภัยในการใช้ ประโยชน์ของการใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรเสริมอาหารนี้จะต้องมีค่าน้ำหนักมากกว่าความเสี่ยง ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม

ต้นพวงทองมีความปลอดภัยแค่ไหน

สำหรับเด็ก : ไม่ควรใช้อาหารเสริมที่มีสารสกัดของต้นพวงทองโดยไม่ได้รับการอนุญาติจากแพทย์

สำหรับผู้ที่ตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร : ยังไม่มีข้อมูลที่เพียงพอเกี่ยวกับความปลอดภัยของการใช้สมุนไพรนี้ระหว่างการสตรีตั้งครรภ์ และช่วงให้นมบุตร ควรหลีกเลี่ยงการใช้ หรือปรึกษาแพทย์ และนักสมุนไพรศาสตร์ก่อนการใช้เสมอ

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงจากการใช้ต้นพวงทอง

ผลข้างเคียงการพืชชนิดนี้ อาจทำให้คุณมีอาการเสียดท้อง และอาการแพ้ ไม่ใช่ทุกคนที่จะได้รับผลข้างเคียงเหล่านี้ อาจมีผลข้างเคียงอื่นๆ นอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น หากคุณมีความกังวลใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษาแพทย์ และเภสัชกรก่อนเสมอ

ปฏิกิริยาระหว่างยา

ยาที่อาจเกิดปฏิกิริยากับต้นพวงทอง มีดังนี้

  • ยาขับน้ำ (ยาขับปัสสาวะ) : ยาโคลโรไธอะไซด์ (Chlorothiazide) , ยาโคลธาลิโดน (Chlorthalidone), ฟูโรซีไมด์ (furosemide), ไฮโดรคลอโรไทอะไซด์ (hydrochlorothiazide) และอื่นๆ เพราะการรับประทานควบคู่กับยาขับน้ำอาจทำให้ร่างกายเสียน้ำมาก ซึ่งทำให้เกิดอาการวิงเวียน และความดันโลหิตต่ำ
  • ลิเทียม (Lithium) : อาจก่อให้เกิดการเพิ่มของระดับลิเทียมในเลือด

การรักษาอื่นๆ เช่น :

  • ภาวะคั่งน้ำ (อาการบวมน้ำ) จากภาวะของโรคไต หรือโรคหัวใจ
  • ความดันโลหิตสูง : ต้นพวงทองอาจทำให้ร่างกายเก็บสะสมโซเดียมในปริมาณมาก และทำให้ภาวะความดันโลหิตสูง
  • การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ (UTIs)

การใช้ยาดังกล่าวนี้อาจเกิดปฏิกริยากับยาหรือการรักษาอื่นๆ ที่ใช้อยู่เป็นประจำได้ ควรปรึกษาแพทย์หรือนักสมุนไพรศาสตร์ก่อนใช้

ขนาดการใช้

ข้อมูลที่นำเสนอนี้ไม่สามารถใช้อ้างอิงเป็นคำแนะนำทางการแพทย์ โปรดปรึกษาเภสัชกร หรือแพทย์ของท่าน ก่อนการนำยาตัวนี้ไปใช้เสมอ

ปกแล้วควรใช้ต้นพวงทองในปริมาณเท่าใด

ปริมาณการใช้ต้นพวงทอง อาจแตกต่างกันไปตามแต่ละบุคคล ซึ่งขึ้นอยู่กับอายุ สุขภาพ และโรคอื่นๆ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารนี้ไม่ได้ปลอดภัยเสมอไป โปรดปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์สำหรับขนาดยาที่เหมาะสมกับคุณ

สมุนไพรดังกล่าวอาจอยู่ในรูปแบบใดบ้าง

สมุนไพรดังกล่าวอาจมีรูปแบบดังต่อไปนี้

  • สมุนไพรตากแห้ง (รูปแบบใบชาหรือแคปซูล)
  • แอลกอฮอลล์ หรือน้ำสกัด

Hello Health Groupไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Golden-Rod. http://www.webmd.com/vitamins-supplements/ingredientmono-84-Golden-Rod.aspx?activeingredientid=84&activeingredientname=Golden-Rod. Accessed December 14, 2016.

Golden-Rod. http://umm.edu/health/medical/altmed/herb/Golden-Rod. Accessed December 14, 2016.

Goldenrod: Benefits, Dosage, and Precautions https://www.healthline.com/nutrition/goldenrod . Accessed December 14, 2016.

เวอร์ชันปัจจุบัน

12/05/2020

เขียนโดย Ploylada Prommate

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะในผู้ชาย โรคที่หนุ่มๆ ก็ควรต้องระวังไม่แพ้สาวๆ

ปัสสาวะบ่อย เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้างและเมื่อใดที่น่าเป็นห่วง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Ploylada Prommate · แก้ไขล่าสุด 12/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา