backup og meta

ม่วงมณี (Bugleweed)

ม่วงมณี (Bugleweed)

ม่วงมณี (Bugleweed) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ม่วงกำมะหยี่ เป็นไม้พุ่มชนิดหนึ่ง ออกดอกเป็นช่อแบบช่อเชิงลด ดอกมีสีม่วง ส่วนใหญ่แล้วมักจะใช้ส่วนที่โตเหนือพื้นดินสำหรับเป็นยารักษาโรค โดยปกติ มักจะถูกนำไปใช้เพื่อรักษาบาดแผล อาการไข้ แผลในปาก ใช้ห้ามเลือด และใช้รักษาภาวะถอนพิษสุรา

ข้อบ่งใช้

ม่วงมณี ใช้สำหรับ

ม่วงมณี(Bugleweed) เป็นไม้พุ่มชนิดหนึ่ง ออกดอกเป็นช่อแบบช่อเชิงลด ดอกมีสีม่วง ส่วนใหญ่แล้วมักจะใช้ส่วนที่โตเหนือพื้นดินสำหรับเป็นยารักษาโรค โดยปกติ มักจะถูกนำไปใช้เพื่อรักษาบาดแผล อาการไข้ แผลในปาก ใช้ห้ามเลือด และใช้รักษาภาวะถอนพิษสุรา (alcohol withdrawal) ที่เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์มากเป็นประจำ แล้วเกิดการลดปริมาณแอลกอฮอล์ลงอย่างฉับพลัน เช่น อาการวิตกกังวล ชีพจรเต้นเร็ว

นอกจากนี้ยังสามารถใช้ม่วงมณีในการควบคุมฮอร์โมนได้อีกด้วย เช่นการควบคุมฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) การลดระดับฮอร์โมน (Thyroid-stimulating hormone; TSH) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่สร้างจากต่อมใต้สมอง (Pituitary gland) ทำหน้าที่กระตุ้นให้ต่อมไทรอยด์ให้สร้างฮอร์โมนไตรไอโอโดไทโรนีน หรือฮอร์โมน T3 (Triiodothyronine; T3) นอกจากนี้ม่วงมณียังสามารถใช้บรรเทาอาการเจ็บป่วยเหล่านี้ได้ด้วย

แต่ก็ยังมีงานวิจัยที่ไม่มากพอที่จะยืนยันได้ว่าม่วงมณีนั้นมีคุณสมบัติในการบรรเทาอาการต่าง ๆ อย่างแน่ชัด จึงจำเป็นที่จะต้องมีการศึกษาคุณสมบัติของม่วงมณีเพิ่มเติมเพื่อให้ได้งานวิจัยที่แน่ชัด

การทำงานของ ม่วงมณี

ม่วงมณีและพืชจากตระกูล Lamiaceae ประกอบไปด้วย กรดโรสมารินิค (Rosmarinic acid) กรดลิโทสเปอมิก (Lithospermic) และกรดคลอโรจีนิก (Chlorogenic acids) ซึ่งกรดเหล่านี้เป็นกรดที่มีฤทธิ์ต่อต้านผลกระทบจากต่อมไทรอยด์สำหรับผู้ที่มีอาการ ไทรอยด์เป็นพิษ นอกจานกี้สารสกัดจาก Lycopus ยังช่วยให้บรรเทาอาการของไทรอยด์ที่เกิดจากโรคเกรฟส์ ซึ่งเป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันของต่อมไทรอยด์ และช่วยบรรเทาอาการของโรคไทรอยด์อื่น ๆ ได้อีกด้วย

แต่ก็ยังไม่มีการศึกษาถึงการทำงานของม่วงมณีที่เพียงพอ เกี่ยวกับอาหารเสริมจากสมุนไพรชนิดนี้ ว่ามีการทำงานอย่างไร กรุณาปรึกษาแพทย์สมุนไพร หรือแพทย์เพิ่มเติมสำหรับข้อมูลหากต้องการใช้  แต่อย่างไรก็ตามมีการศึกษาบางชนิดแสดงให้เห็นว่า ม่วงมณี อาจลดการผลิตฮอร์โมนต่อมไทรอยด์ของร่างกายแต่ยังไม่เคยศึกษาในมนุษย์ นอกจากนี้ม่วงมณีช่วยลดการปล่อยฮอร์โมนโปรแลคติน (Prolactin) ซึ่งอาจช่วยบรรเทาอาการเจ็บหน้าอกอีกด้วย

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ม่วงมณี

ปรึกษากับแพทย์ เภสัชกร หรือแพทย์สมุนไพรหากอยู่ในสภาวะเหล่านี้

  • ท่านอยู่ในระหว่างตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร  เพราะขณะตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร ท่านควรใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น
  • ท่านกำลังทานยาอื่น นี้รวมถึงยาใด ๆ ที่ท่านกำลังทาน ซึ่งซื้อมาโดยปราศจากใบสั่งยาจากแพทย์
  • ท่านมีอาการแพ้สารใด ๆ ของม่วงมณีโรคอื่น หรือสมุนไพรอื่น
  • ท่านมีอาการป่วยอื่น ๆ ความผิดปกติ หรือข้อจำกัดทางการแพทย์
  • ท่านมีอาการแพ้ประเภทอื่น เช่น อาหาร สารแต่งสี วัตถุกันเสีย หรือสัตว์

ข้อบังคับสำหรับอาหารเสริมจากสมุนไพร จำกัดน้อยกว่าข้อบังคับของยา จำเป็นต้องศึกษาเพิ่มเติมเพื่อกำหนดความปลอดภัยของมัน ประโยชน์ของการทานอาหารเสริมจากสมุนไพรนี้ ต้องครอบคลุมความเสี่ยงก่อนการใช้งาน  ปรึกษาแพทย์ของท่านสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

การตั้งครรภ์ และการให้นมบุตร

มันไม่ปลอดภัยที่จะใช้ม่วงมณี โดยการรับประทานระหว่างการตั้งครรภ์ เพราะว่ามันอาจจะมีผลกระทบกับฮอร์โมน และไม่ปลอดภัยที่จะใช้ ม่วงมณี โดยการรับประทานระหว่างการให้นมบุตร เพราะว่ามันอาจจะมีผลกระทบกับการผลิตน้ำนม

การผ่าตัด

หยุดใช้ม่วงมณีอย่างน้อย 2 อาทิตย์ก่อนกำหนดการผ่าตัด

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้ ม่วงมณี

ขณะใช้ม่วงมณีในระยะยาว มันอาจมีผลให้ต่อมไทรอยด์ขยายตัวและการหยุดสมุนไพรนี้โดยทันที อาจทำให้ระดับของต่อมไทรอยด์ และโปรแลคตินสูง ซึ่งนำไปสู่อาการของโรคทางกายภาพ

อย่างไรก็ตาม ผลข้างเคียงที่กล่าวมาข้างต้น อาจไม่ได้เกิดกับทุกคน หรือบางคนอาจมีผลข้างเคียงอื่นนอกเหนือจากนี้ หากคุณมีข้อสงสัยใด ๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร

ปฏิกิริยาต่อยา

ปฏิกิริยาต่อยาอื่น

อาหารเสริมจากสมุนไพรนี้ อาจทำปฏิกิริยากับยารักษาโรคปัจจุบันของคุณ หรือข้อจำกัดทางการแพทย์  โปรดปรึกษาแพทย์สมุนไพรของท่าน หรือแพทย์ก่อนการใช้

ข้อจำกัดทางสุขภาพเหล่านี้ อาจทำปฏิกิริยากับสมุนไพรนี้ เช่น

  • โรคเบาหวาน ม่วงมณีอาจทำให้น้ำตาลในเลือดลดลง ถ้าท่านเป็นโรคเบาหวาน ควรใช้ม่วงมณีอย่างระมัดระวัง เฝ้าดูอาการของน้ำตาลในเลือดต่ำ และตรวจเช็กน้ำตาลในเลือดอย่างระมัดระวัง  การใช้ยาต่อครั้งของท่านที่เป็นโรคเบาหวาน อาจจำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยน
  • ทำให้ต่อมไทรอยด์ขยาย หรือการทำงานของต่อมไทรอยด์แย่ลง (ต่อมไทรอยด์ทำหน้าที่น้อยลง) อย่าใช้ม่วงมณีหากคุณมีข้อจำกัดเหล่านี้ หรือกำลังได้รับการรักษาต่อมไทรอยด์

ยาที่อาจทำปฏิกิริยากับสมุนไพรม่วงมณี

ยารักษาโรคเบาหวาน

ยารักษาโรคเบาหวาน หรือยาป้องกัน หรือบรรเทาอาการโรคเบาหวาน  เพราะม่วงมณีอาจลดน้ำตาลในเลือด ยารักษาโรคเบาหวานถูกใช้เพื่อทำให้น้ำตาลในเลือดลดลงด้วย  การใช้ม่วงมณีพร้อมกับยารักษาโรคเบาหวานอาจเป็นเหตุให้น้ำตาลในเลือดต่ำเกินไป  ต้องหมั่นตรวจเช็กน้ำตาลในเลือดอย่างสม่ำเสมอ การใช้ยารักษาโรคเบาหวานของท่านอาจจำเป็นต้องถูกเปลี่ยนแปลง  รวมถึงยารักษาโรคเหล่านี้

  • Glimepiride (Amaryl)
  • Glyburide (DiaBeta Glynase PresTab  Micronase)
  • Insulin
  • Pioglitazone (Actos)
  • Rosiglitazone (Avandia)
  • Chlorpropamide (Diabinese)
  • Glipizide (Glucotrol)
  • Tolbutamide (Orinase) และอื่นๆ

ฮอร์โมนต่อมไทรอยด์

การใช้ม่วงมณีมีส่วนช่วยลดการทำงานของต่อมไทรอยด์ หากคุณอยู่ในช่วงใช้ยาสำหรับรักษาอาการไทรอยด์ไม่ควรใช้ม่วงมณีควบคู่กัน เพราะอาจทำให้ลดการทำงานของต่อมไทรอยด์มากเกินไป

เพื่อความปลอดภัย คุณไม่ควรเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาเองโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ขนาดยาม่วงมณี

ปริมาณยาที่ใช้ต่อครั้งสำหรับม่วงมณีนั้น อาจแตกต่างกันออกไป สำหรับผู้ป่วยแต่ละคน ซึ่งปริมาณการใช้ยาต่อครั้งที่ควรรับประทานขึ้นอยู่กับอายุ สุขภาพ และข้อจำกัดอื่นๆ มากมาย

แม้ว่าขนาดและปริมาณในการใช้ม่วงมณีอย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ จะยังไม่มีการศึกษา วิจัยที่แน่ชัดและน่าเชื่อถือ แต่มีงานวิจัยบางแห่งจากคลินิกด้านสมุนไพรได้แนะนำขนาดของการใช้ม่วงมณีอย่างปลอดภัยว่า ควรใช้ที่ขนาด 100-400 มิลลิกรัม 2-3 ครั้งต่อวัน นอกจานนี้สถาบันเวชศาสตร์บูรณะยังเสริมอีกว่าการใช้ในปริมาณที่สูงกว่า 2 กรัมต่อวันนั้นเป็นที่ยอมรับได้ในการรักษา

อาหารเสริมจากสมุนไพรไม่ปลอดภัยเสมอไป กรุณาปรึกษากับแพทย์สมุนไพรของท่าน หรือแพทย์สำหรับปริมาณการใช้ยาต่อครั้งที่เหมาะสมของท่าน

รูปแบบของม่วงมณี

อาหารเสริมจากสมุนไพรนี้ อาจมีได้ในรูปแบบดังต่อไปนี้

  • ยาเม็ด
  • ชา

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Bugleweed. https://www.drugs.com/npc/bugleweed.html. Accessed March 19, 2017

Bugleweed. http://www.webmd.com/vitamins-supplements/ingredientmono-147-bugleweed.aspx?activeingredientid=147&activeingredientname=bugleweed. Accessed March 19, 2017

The Health Benefits of Bugleweed. https://www.verywellhealth.com/bugleweed-benefits-side-effects-and-preparations-4688633

 

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

24/07/2020

เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Pattarapong Khuaphu


บทความที่เกี่ยวข้อง

ภาวะขาดไทรอยด์ ส่งผลต่อภาวะมีบุตรยากในผู้หญิงจริงหรือ

รอยแผลเป็นจากอีสุกอีใส รักษาด้วยวิธีไหนได้ผลดีที่สุด


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 24/07/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา