backup og meta

ลิโมนีน (Limonene)

ลิโมนีน (Limonene)

สรรพคุณของลิโมนีน

ลิโมนีนใช้สำหรับ?

ลิโมนีน (Limonen) เป็นสารเคมีที่พบได้ในเปลือกผลไม้ตระกูลส้มและในพืชชนิดอื่น ๆ และใช้ทำยา ลิโมนีนใช้เพื่อช่วยลดน้ำหนัก ป้องกันมะเร็ง รักษาโรคมะเร็งและรักษาโรคหลอดลมอักเสบ ลิโมนีนนำมาใช้เป็นสารรสชาติในอาหาร เครื่องดื่มและหมากฝรั่ง

ในงานเภสัชกรรม ลิโมนีนนำมาใช้เพื่อช่วยให้ยาทาหรือครีมต่างๆ ซึมเข้าผิวได้ดี ในด้านอุตสาหกรรม ลิโมนีนใช้เป็นกลิ่นหอม ตัวทำละลาย และเป็นส่วนประกอบในเจลล้างมือแบบไม่ต้องใช้น้ำ

กลไกการออกฤทธิ์

งานวิจัยเกี่ยวกับกลไกการออกฤทธิ์ของลิโมนีนยังมีไม่พอ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติม อย่างไรก็ตาม เป็นที่ทราบกันว่าลิโมนีนอาจช่วยป้องกันการก่อตัวของสารก่อมะเร็ง และฆ่าเซลล์มะเร็งในท้องทดลองได้

ข้อควรระวังและคำเตือน

สิ่งที่ควรรู้ก่อนใช้ลิโมนีน 

ปรึกษาแพทย์ เภสัชกรหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรในกรณีที่ 

  • ตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร เนื่องจากในขณะให้นมบุตรนั้น ควรใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น
  • กำลังใช้ยาอื่นๆ รวมถึงยาที่สามารถซื้อได้โดยไม่ต้องมีใบสั่งจากแพทย์
  • มีอาการแพ้สารในลิโมนีน ยาอื่นๆ หรืออาหารเสริมอื่นๆ
  • มีโรคอื่นๆ มีความผิดปกติหรือพยาธิสภาพอื่นๆ
  • มีอาการแพ้อื่นๆ เช่น แพ้อาหาร สีผสมอาหาร สารกันบูดหรือเนื้อสัตว์ต่างๆ

ข้อกำหนดสำหรับผลิตภัณฑ์จากลิโมนีนนั้น มีความเข้มงวดน้อยกว่าข้อกำหนดยาอื่นๆ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อความปลอดภัย การใช้ผลิตภัณฑ์นี้ต้องมีประโยชน์มากกว่าความเสี่ยง ควรปรึกษาแพทย์หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม

ลิโมนีนปลอดภัยแค่ไหน

ลิโมนีนปลอดภัยหากใช้ในปริมาณเทียบเท่าในอาหาร และยังปลอดภัยกับคนส่วนใหญ่ในปริมาณเทียบเท่ายาอีกด้วย เมื่อใช้เป็นเวลา 1 ปี

ข้อควรระวังและคำเตือน

สำหรับสตรีมีครรภ์และอยู่ในระหว่างให้นมบุตร : ลิโมนีนปลอดภัยหากบริโภคในปริมาณเทียบเท่าในอาหาร แต่ข้อมูลเรื่องความปลอดภัยในการนำลิโมนีนไปใช้ในปริมาณเทียบเท่ายานั้นยังมีไม่เพียงพอ โปรดคำนึงถึงความปลอดภัยและหลีกเลี่ยงการใช้จนกว่าจะมีข้อมูลเพิ่มเติม

ผลข้างเคียง

เกิดผลข้างเคียงอะไรบ้างเมื่อใช้ลิโมนีน

หากกังวลเรื่องผลข้างเคียงของยา ควรปรึกษาแพทย์ที่รักษา

ปฏิกิริยาต่างๆ

เกิดปฏิกิริยาอะไรบ้างเมื่อใช้ลิโมนีนกับยาอื่น

ลิโมนีนอาจมีปฏิกิริยากับยาหรือพยาธิสภาพปัจจุบัน ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรและแพทย์ก่อนใช้

ผลิตภัณฑ์ที่อาจมีปฏิกิริยาต่อลิโมนีนได้แก่

  • ตัวยาที่จะถูกแปรสภาพโดยตับ เช่นสารไซโตโครม พี450 2ซี9 (Cytochrome P450 2C9) หรือซีวายพี2ซี9 (CYP2C9)

ตัวยาบางชนิดจะถูกแปรสภาพหรือถูกทำลายโดยตับ

ลิโมนีนอาจเร่งการทำลายตัวยาในตับ การใช้ลิโมนีนควบคู่กับตัวยาที่ถูกแปรสภาพโดยตับบางชนิด สร้างผลกระทบและผลข้างเคียงหลายประการ ดังนั้นก่อนใช้ยาลิโมนีน ควรปรึกษาผู้ให้บริการด้านสุขภาพก่อนใช้ยาใด ๆ ที่จะถูกแปรสภาพโดยตับ

    • ตัวยาที่จะถูกแปรสภาพโดยตับ ได้แก่ ไดโครเฟน (Diclofenac) (เช่น คาตาแฟลม (Cataflam) โวลทาเรน (Voltaren) ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) (เช่น มอร์ตริน (Motrin)) เมโลซิแคม (Meloxicam) (เช่น โมบิค (Mobic)) ไพโรซิแคม (Piroxicam) (เช่น เฟลดีน (Feldene)) แอมิทรปทีลีน (Amitriptyline) (เช่น เอลาวิล (Elavil)) วาร์ฟาริน (Warfarin) (เช่น คูมาดิน (Coumadin)) กลีพิไซด์ (Glipizide) (เช่น กลูคอโทรล (Glucotrol)) โลซาร์ทาน (Losartan) (เช่น คอร์ซาร์ (Cozaar)) และอื่นๆ
  • ตัวยาที่ลดการทำลายตัวยาอื่นโดยตับ อย่าง ไซโตโครม พี450 2ซี19 (Cytochrome P450 2C19) หรือซีวายพี2ซี19 (CYP2C19)

ลิโมนีนอาจถูกทำลายโดยตับ การใช้ลิโมนีนร่วมกับยาที่ลดการทำลายลิโมนีนในตับ ได้แก่ ซิเมทิดีน (Cimetidine) (เช่น ทากาเท (Tagamet)), ฟลูวอกซามีน (Fluvoxamine) (เช่น ลูวอกซ์ (Luvox)), โอเมพราโซน (Omeprazole) (เช่น พรีโลเซ็ค (Prilosec)); ทิโคลพิไดน์ (Ticlopidine) (เช่น ทิคลิด (Ticlid)), โทพิราเมท (Topiramate) (เช่น โทพาแม็กซ์ (Topamax)) และอื่น ๆ

  • ตัวยาที่ลดการทำลายตัวยาอื่นโดยตับ อย่าง ไซโตโครม พี450 2ซี9 (Cytochrome P450 2C9) ซีวายพี2ซี9 (CYP2C9)

ลิโมนีนอาจถูกทำลายโดยตับ การใช้ลิโมนีนร่วมกับยาที่ลดการทำลายลิโมนีนในตับทำให้เกิดผลข้างเคียงของ ลิโมนีน

ตัวยาที่ลดการทำลายลิโมนีนในตับ ได้แก่ อะมิโอดาโรน (Amiodarone) (เช่น คาดาโรน (Cordarone)), ฟลูคานาโซล (Fluconazole) (เช่น ไดฟลูแคน (Diflucan)) ลาวาสตาติน (Lovastatin) (เช่น เมวาคอร์ (Mevacor)) พารอกเซไทน์ (Paroxetine) (เช่น แพกซิล (Paxil)) ซาเฟอร์ลูคาสต์ (Zafirlukast) (เช่น แอคโคเลท (Accolate)) และตัวยาอื่นๆ

  • ตัวยาที่เพิ่มการทำลายตัวยาอื่นโดยตับ อย่าง ไซโตโครม พี450 2ซี19 (Cytochrome P450 2C19) ซีวายพี2ซี19 (CYP2C19)

ลิโมนีนอาจถูกทำลายโดยตับ การใช้ลิโมนีนร่วมกับยาที่ลดการทำลายลิโมนีนในตับ อาจลดประสิทธิภาพของลิโมนีน

ตัวยาที่เพิ่มการทำลายตัวยาอื่นโดยตับ ได้แก่ คาร์บามาเซพีน (Carbamazepine) (เช่น เทกเกรโทล (Tegretol)) เพรดนิโซน (Prednisone) (เช่น เดลตาโซล (Deltasone)) และไรฟามพิน (Rifampin) (เช่น ไรฟาดีน (Rifadin) กับ ไรมัคเทน (Rimactane))

  • ตัวยาที่เพิ่มการทำลายตัวยาอื่นโดยตับ อย่าง ไซโตโครม พี450 2ซี9  (Cytochrome P450 2C9) ซีวายพี2ซี9 (CYP2C9)
  • ลิโมนีนอาจถูกทำลายโดยตับ การใช้ลิโมนีนร่วมกับยาที่เพิ่มการทำลายลิโมนีนในตับ อาจลดประสิทธิภาพของลิโมนีน

ตัวยาที่เพิ่มการทำลายตัวยาลิโมนีนในตับ ได้แก่ ริฟามปิน (Rifampin) (เช่น ริฟาดิน (Rifadin) ริมาคเทน (Rimactane)) และเซโคบาร์บิทอล (Secobarbital) (เช่น เซคอนอล (Seconal))

ขนาดใช้ยา

ข้อมูลนี้ใช้อ้างอิงเป็นคำแนะนำทางการแพทย์ไม่ได้ ควรปรึกษาเภสัชกรหรือแพทย์ใช้เสมอ

ขนาดการใช้ลิโมนีนโดยทั่วไปอยู่เท่าไหร่

ขนาดในการใช้ลิโมนีนนั้นอาจแตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละราย ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับอายุ สุขภาพ และพยาธิสภาพอื่น ๆ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารนั้นไม่ได้ปลอดภัยเสมอไป ควรปรึกษาแพทย์เพื่อทราบขนาดในการใช้ที่เหมาะสม

พบลิโมนีนในรูปแบบใด

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารชนิดนี้อาจพบได้ในรูปแบบต่อไปนี้

  • ดี-ลิโมนีน (D-limonene) สารสกัดเย็นจากเปลือกส้ม ในรูปแบบแคปซูล
  • น้ำมันส้มดี-ลิโมนีน (D-limonene)

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Limonene http://www.webmd.com/vitamins-supplements/ingredientmono-1105-limonene.aspx?activeingredientid=1105 Accessed August 29, 2017

What Is Limonene? Everything You Need to Know. https://www.healthline.com/nutrition/d-limonene. Accessed January 27, 2019

4+ Potential Benefits of Limonene + Side Effects. https://selfhacked.com/blog/limonene-health-benefits/. Accessed January 27, 2019

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

09/02/2021

เขียนโดย Ploylada Prommate

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

อาหารปิ้งย่าง ต้นเหตุมะเร็งร้าย แต่ใจก็อยากกิน

ลิ้นส้ม แบบนี้ เป็นสัญญาณอันตรายของสุขภาพหรือเปล่า


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Ploylada Prommate · แก้ไขล่าสุด 09/02/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา