backup og meta

โรคจิตเภท หรือ Schizophrenia คืออะไร มีอาการและสาเหตุอย่างไร

โรคจิตเภท หรือ Schizophrenia คืออะไร มีอาการและสาเหตุอย่างไร
โรคจิตเภท หรือ Schizophrenia คืออะไร มีอาการและสาเหตุอย่างไร

โรคจิตเภท หรือ Schizophrenia คือ โรคทางจิตที่รุนแรงและเรื้อรัง มักส่งผลต่อความคิด ความรู้สึกและพฤติกรรม ทำให้ผู้ป่วยมีอาการวิตกกังวล หลีกเลี่ยงการเข้าสังคม เห็นภาพหลอน เป็นต้น ซึ่งส่งผลต่อการใช้ชีวิตในประจำวัน ผู้ป่วยโรคจิตเภทส่วนใหญ่มักไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ จำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาตลอดชีวิต แต่อาจสามารถควบคุมอาการต่าง ๆ ได้ด้วยการรักษาที่เหมาะสมตามอาการของแต่ละบุคคล 

Schizophrenia คือ อะไร 

โรคจิตเภท หรือ Schizophrenia คือ กลุ่มอาการของโรคที่มีความผิดปกติทางจิต ส่งผลให้ผู้ป่วยมีความคิดและการรับรู้ไม่ตรงกับความเป็นจริง รวมถึงอาจมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม จนส่งผลให้ไม่สามารถใช้ชีวิตในสังคมและทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันได้ตามปกติ ส่วนใหญ่ผู้ป่วยมักจะเริ่มมีอาการประมาณอายุ 16-30 ปี หรือช่วงวัยรุ่นตอนปลาย 

อาการของ Schizophrenia หรือโรคจิตเภท

อาการของ Schizophrenia อาจแตกต่างกันขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล ซึ่งอาจแบ่งออกเป็น 3 ประเภทได้ดังนี้

  • อาการเชิงบวก
    • หลงผิด ซึ่งเป็นความเชื่อของผู้ป่วยที่เชื่อในสิ่งที่ไม่ได้เกิดขึ้นจริง เช่น คิดว่าคนอื่นจะมาทำร้าย
    • ประสาทหลอน โดยผู้ป่วยอาจเห็น ได้กลิ่น รับรส หรือรู้สึก รวมถึงได้ยินเสียงในสิ่งที่ไม่มีอยู่จริง
    • ความผิดปกติด้านความคิด โดยผู้ป่วยอาจมีกระบวนการความคิดผิดปกติหรือมีความคิดไม่เป็นเหตุเป็นผล บางครั้งอาจหยุดพูดกลางคัน หรือสร้างหัวข้อใหม่ขึ้นมาทั้งที่สองเรื่องไม่ได้เกี่ยวข้องกัน
    • ความผิดปกติด้านการเคลื่อนไหว ผู้ป่วยอาจเคลื่อนไหวร่างกายผิดปกติ เช่น ทำท่าทางเดิมซ้ำ ๆ
  • อาการเชิงลบ  
    • หลีกเลี่ยงการเข้าสังคม หรือการพบปะกับบุคคลอื่น ๆ 
    • มีปัญหาในการวางแผนและทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การซื้อของ 
    • มีปัญหาในการทำกิจวัตรประจำวัน 
    • พูดน้อยลง ใช้เสียงโทนเดียวในการพูดคุย ไม่แสดงสีหน้าอารมณ์ ไม่สบตา 
    • เคลื่อนไหวน้อยลง หรือเคลื่อนไหวท่าทางเดิมซ้ำ ๆ 
    • ไม่มีแรงบันดาลใจหรือความกระตือรือร้นในการใช้ชีวิต
  • อาการทางปัญญา 
    • มีปัญหาในการตัดสินใจ
    • มีปัญหาในการรับรู้ข้อมูลหรือเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ
    • มีปัญหาในการจดจำ
    • มีปัญหาในการจดจ่อหรือไม่มีสมาธิ

อาการของ Schizophrenia อาจเกิดขึ้นแบบเฉียบพลัน หรือค่อย ๆ แสดงอาการออกมาให้สังเกตเห็น และอาการบางอย่างอาจถูกเข้าใจผิดว่าเป็นอาการของโรคซึมเศร้าหรือปัญหาสุขภาพจิตอื่น ๆ ได้ อย่างไรก็ตาม หากมีความผิดปกติข้างต้น ควรเข้าพบคุณหมอโดยเร็วที่สุด

สาเหตุของ Schizophrenia หรือโรคจิตเภท

ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิดโรค Schizophrenia แต่อาจเกิดจากปัจจัยหลายอย่าง เช่น พันธุกรรม สารเคมีในสมองบางชนิดทำงานผิดปกติ รวมถึงสิ่งแวดล้อมที่อาจไปกระตุ้นและส่งผลทำให้เป็นโรคจิตเภทได้ 

อย่างไรก็ตาม ปัจจัยต่อไปนี้อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคจิตเภทได้ 

    • พันธุกรรม หากคนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรค Schizophrenia หรือโรคจิตเภท อาจเพิ่มโอกาสในการเกิดโรคนี้ได้
    • สารเคมีในสมองบางชนิดผิดปกติ เนื่องจากสารสื่อประสาท เช่น โดพามีน (Dopamine) กลูตาเมต (Glutamate) ที่ทำหน้าส่งสัญญาณภายในสมองและระบบประสาททั่วร่างกาย เช่น ความจำ สมาธิ อารมณ์ ดังนั้น หากสารสื่อประสาทบางชนิดไม่สมดุล อาจส่งผลให้เกิดโรค Schizophrenia ได้ 
    • สิ่งแวดล้อม เช่น ปัญหาครอบครัว ปัญหาการเงิน ปัญหาการงาน ปัญหาที่อยู่อาศัย ที่ทำให้เกิดความเครียดสะสมและอาจไปกระตุ้นทำให้เป็นโรคจิตเภทได้ 
    • การสัมผัสสารพิษหรือไวรัสที่อาจส่งผลต่อการพัฒนาสมองของทารกขณะตั้งครรภ์ หรือวัยแรกเกิด 
    • การใช้สารเสพติดในปริมาณมาก เพราะอาจมีฤทธิ์ไปรบกวนการทำงานของสมองจนเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดอาการทางจิตเวชหรือโรค Schizophrenia เช่น เห็นภาพหลอน หูแว่ว ประสาทหลอน 

เมื่อไหร่ที่ควรไปพบคุณหมอ

ผู้ป่วยที่เป็นโรคจิตเภทมักไม่ได้ตระหนักถึงปัญหาที่เกิดจากความผิดปกติทางจิตของตนเอง ครอบครัวหรือคนใกล้ชิดจึงควรใส่ใจและหมั่นดูอาการของผู้ป่วยอยู่เสมอ หากมีอาการใด ๆ ที่ผิดปกติควรรีบไปพบคุณหมอทันทีเพื่อประเมินอาการ และรับการรักษาโดยเร็วที่สุด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Schizophrenia. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/schizophrenia/symptoms-causes/syc-20354443. Accessed April 18, 2022

Schizophrenia. https://www.nimh.nih.gov/health/topics/schizophrenia. Accessed April 18, 2022

Schizophrenia: An Overview. https://www.webmd.com/schizophrenia/mental-health-schizophrenia. Accessed April 18, 2022

Schizophrenia. https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/schizophrenia. Accessed April 18, 2022

Overview – Schizophrenia. https://www.nhs.uk/mental-health/conditions/schizophrenia/overview/. Accessed April 18, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

13/05/2022

เขียนโดย นนทกร บัณฑิตสินทรัพย์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย เนตรนภา ปะวะคัง

อัปเดตโดย: เนตรนภา ปะวะคัง


บทความที่เกี่ยวข้อง

สัญญาณปัญหาสุขภาพจิตในผู้สูงอายุ ที่ควรรู้

วิธีคลายเครียด เพื่อสุขภาพจิตที่ดี


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

เนตรนภา ปะวะคัง


เขียนโดย นนทกร บัณฑิตสินทรัพย์ · แก้ไขล่าสุด 13/05/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา