โรคเครียด อาการที่เกิดขึ้นมักแสดงออกมาทางร่างกาย อารมณ์ และพฤติกรรม เช่น วิงเวียนศีรษะ ปวดหัว ความวิตกกังวล เศร้า พฤติกรรมการกินที่เปลี่ยนไป หรือดื่มเครื่องแอลกอฮอล์มากขึ้น ดังนั้น การจัดการความเครียดจึงอาจช่วยบรรเทาอาการในด้านต่าง ๆ ได้
โรคเครียด คืออะไร
โรคเครียด คือ โรคชนิดหนึ่งที่ร่างกายตอบสนองต่อภัยคุกคามหรืออันตรายที่กำลังเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริงหรือความนึกคิด ซึ่งโรคเครียดและอาการเป็นวิธีปกป้องร่างกายอย่างหนึ่ง จะช่วยให้ร่างกายรู้สึกกระฉับกระเฉงมากขึ้น มีสมาธิ และตื่นตัว พร้อมรับมือกับความกดดันหรือปัญหาทีกำลังเกิดขึ้น แต่หากความเครียดเกิดขึ้นระยะยาวอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพและจิตใจ เนื่องจากร่างกายอาจทำงานหนักขึ้น ทำให้สมองเหนื่อยล้า และอาจรบกวนระบบภูมิคุ้มกัน ระบบย่อยอาหาร ระบบหัวใจและหลอดเลือด การนอนหลับ และระบบสืบพันธุ์ นอกจากนี้อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ แลพโรคจิตเภท ตามมาได้
โรคเครียด อาการเป็นอย่างไร
ความเครียดส่งผลต่อระบบประสาทอัตโนมัติที่ควบคุมการเต้นของหัวใจ และการมองเห็น จึงอาจทำให้เกิดอาการทางร่างกาย อารมณ์และจิตใจ รวมถึงการแสดงออกทางพฤติกรรม ดังนี้
อาการทางร่างกาย
- วิงเวียนศีรษะ ปวดหัว ปวดท้อง มีอาการสั่น
- ไม่มีสมาธิ ปัญหาทางความจำ
- อ่อนเพลีย ปัญหาการนอนหลับ
- เจ็บหน้าอก หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูง
- กล้ามเนื้อเกร็ง
- อารมณ์ทางเพศลดลง
- ความอยากอาหารลดลง กระเพาะอาหารและทางเดินอาหารผิดปกติ
- ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เจ็บป่วยบ่อย
อาการทางอารมณ์และจิตใจ
- อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย โศกเศร้า วิตกกังวล
- ความนับถือตนเองต่ำลง
- ภาวะซึมเศร้า
- โรคแพนิค
พฤติกรรมที่เปลี่ยนไป
- หงุดหงิด และรู้สึกกระปรี้กระเปร่า
- นอนมากเกินไป หรือน้อยเกินไปไป
- พฤติกรรมการรับประทานอาหารเปลี่ยนไป อาจกินมากหรือน้อยลง
- เก็บตัว หลีกเลี่ยงการพบเจอผู้คน หรือหลีกเลี่ยงการไปในบางสถานที่
- ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือสูบบุหรี่มากขึ้น
- นิสัยเปลี่ยนแปลง เช่น การกัดเล็บ จังวะการเดินผิดปกติ
- ออกกำลังกายน้อยลง
จัดการกับโรคเครียด
ความเครียดเป็นสิ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ แต่เราสามารถจัดการความเครียดให้บรรเทาลงได้ด้วยวิธี ดังต่อไปนี้
- การรับประทานอาหารและการออกกำลังกาย เลือกรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ เช่น ธัญพืชไม่ขัดสี ไข่ ไก่ ชาเขียว หรือดาร์กช็อกโกแลต และหลีกเลี่ยงอาหารที่อาจเพิ่มความเครียด เช่น ชา กาแฟ และอาหารที่มีน้ำตาลสูง นอกจากนี้ การออกกำลังกายยังช่วยคลายความเครียดและเพิ่มความสดชื่น ความแข็งแรงของร่างกาย จึงควรออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง
- ผ่อนคลายและสร้างสมาธิ มีด้วยกันหลายรูปแบบ เช่น การนวด การทำสมาธิ โยคะ และไทเก็ก เหล่านี้สามารถช่วยผ่อนคลายความเครียด ฝึกสติ และสร้างความแข็งแรง ความยืดหยุ่นของร่างกายได้อีกด้วย
- การมีอารมณ์ขัน ใช้เวลากับครอบครัวและเพื่อน
- หากิจกรรมหรืองานอดิเรกที่ชอบเพื่อผ่อนคลายความเครียด เช่น การอ่านหนังสือ ฟังเพลง หรือทำสวน
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อพักร่างกายและพักสมอง