ดูแลตัวเองเมื่อเกิด ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ต้องทำอย่างไรบ้าง
ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Sleep Apnea) ถือเป็นโรคนอนไม่หลับที่มีอันตรายร้ายแรง ส่วนใหญ่อาการเริ่มต้นของภาวะหยุดหายใจขณะหลับก็คือ กรนเสียงดัง และรู้สึกเหนื่อย แม้จะนอนหลับเต็มที่แล้วก็ตาม ดังนั้น การเรียนรู้วิธีการดูแลตัวเองจึงถือเป็นเรื่องที่ควรทำ ทาง Hello คุณหมอ จึงได้นำเรื่องนี้มาฝากกัน ปัจจัยที่ทำให้เกิด ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ก่อนจะไปถึงวิธีการดูแลตัวเอง ลองมาดูกันก่อนดีกว่าว่า ปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับมีอะไรบ้าง น้ำหนักเกิน โรคอ้วนนั้นสามารถเพิ่มความเสี่ยงของภาวะหยุดหายใจขณะหลับได้อย่างมาก เนื่องจากไขมันที่สะสมรอบๆ ทางเดินหายใจส่วนบน สามารถขัดขวางการหายใจของคุณได้ รอบคอ ผู้ที่มีรอบคอหนาอาจมีทางเดินหายใจที่แคบลง ทางเดินหายใจแคบ ทางเดินหายใจแคบอาจเกิดจากพันธุกรรม นอกจากนั้นเมื่อต่อมทอนซิล หรือโรคเนื้องอกในจมูก ยังสามารถทำให้ทางเดินหายใจขยายตัว จนไปปิดกันระบบทางเดินหายใจ โดยเฉพาะในเด็กได้ด้วย เพศชาย โดยทั่วไปแล้วเพศชายมักมีแนวโน้มในการเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับได้มากกว่าเพศหญิงมากกว่า ประมาณ 2-3 เท่า อย่างไรก็ตาม ผู้หญิงที่มีน้ำหนักเกิน และอยู่ในช่วงวัยหมดประจำเดือนก็จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะการหยุดหายใจขณะหลับได้มากขึ้นเช่นกัน อายุมากขึ้น ภาวะหยุดหายใจขณะหลับมักพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ ประวัติครอบครัว การที่คุณมีสมาชิกในครอบครัวมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ก็อาจจะเพิ่มความเสี่ยงให้กับตัวคุณได้ สูบบุหรี่ ผู้ที่สูบบุหรี่จะมีแนวโน้มในการเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ได้มากกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ถึง 3 เท่า เนื่องจากการสูบบุหรี่สามารถเพิ่มปริมาณการอักเสบ และกักเก็บของเหลวในไว้ในทางเดินหายใจส่วนบนนั่นเอง คัดจมูก หากคุณมีปัญหาเกี่ยวกับทางเดินหายใจในจมูก ไม่ว่าจะเกิดจากโรคหรืออาการแพ้ ก็ทำให้คุณมีแนวโน้มที่จะพัฒนาไปสู่ภาวะหยุดหายใจขณะหลับได้เช่นกัน วิธีดูแลตัวเองเมื่อเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับ โดยปกติแล้วการรักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับแบบดั้งเดิม ก็คือการสวมหน้ากาก CPAP ในเวลากลางคืน แต่วิธีนั้นไม่สะดวกสบายเท่าไหร่นัก ดังนั้น ลองมาดูวิธีการดูแลตัวเองเมื่อเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับ กันดีกว่า รักษาน้ำหนักให้สมส่วน และรักษาร่างกายให้แข็งแรง โดยปกติแล้วเมื่อเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับ แพทย์มักจะแนะนำให้ลดน้ำหนัก […]