backup og meta

ประโยชน์และความเชื่อผิด ๆ ของการอาบน้ำนม

ประโยชน์และความเชื่อผิด ๆ ของการอาบน้ำนม

อาบน้ำนม เป็นหนึ่งในวิธีการดูแลผิวที่ได้รับความนิยมมาอย่างยาวนาน ซึ่งอาจมีประโยชน์ต่อสุขภาพผิว เช่น ช่วยทำให้ผิวนุ่ม ผิวใส เพิ่มความชุ่นชื้นของผิว เนื่องจากในน้ำนมอุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายและผิว อย่างไรก็ตาม อาบน้ำนมอาจไม่สามารถรักษาปัญหาสุขภาพผิวบางอย่างได้ อีกทั้งยังควรดูแลผิวด้วยวิธีอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ใช้ครีมบำรุงผิว เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกาย เพื่อช่วยให้ผิวมีสุขภาพดีและแข็งแรง

[embed-health-tool-bmi]

ประโยชน์ของน้ำนมต่อผิวพรรณ

ประโยชน์ของการอาบน้ำนมนั้น ยังไม่มีการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ ที่กล่าวถึงประโยชน์ของการอาบน้ำนมโดยตรง มีเพียงหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่สนับสนุนว่า น้ำนมมีประโยชน์ต่อผิว ดังนี้

  • ผิวนุ่ม นมทำให้ผิวนุ่มขึ้น เนื่องจากไขมันและโปรตีนในนม โดยหลังจากอาบน้ำนม อาจรู้สึกว่าผิวนุ่มขึ้น นอกจากนี้ การผลัดเซลล์ผิวอย่างอ่อนโยน ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้ผิวนุ่มลื่นขึ้นด้วย
  • ผิวใสขึ้น การอาบน้ำนมช่วยทำให้ผิวใสขึ้น เนื่องจากการผลัดเซลล์ผิว ในนมจะมีกรดแลคติก โดยเฉพาะ Buttermilk หรือนมที่ได้จากการทำเนย มีรสเปรี้ยว ซึ่งนิยมใช้ในการทำเบเกอรี่ ในบัตเตอร์มิลค์จะมีกรดแลคติกมากกว่านมชนิดอื่น โดยในผลิตภัณฑ์ความงามทั่วไป กรดแลคติกจะอยู่ในรูปส่วนผสมที่มีชื่อว่า “อัลฟาไฮดรอกซี (Alpha Hydroxy Acids-AHA)” กรดแลคติกจาการอาบน้ำนม อาจไม่ได้มีมากเท่ากับในผลิตภัณฑ์ความงาม แต่ก็สามารถช่วยขจัดเซลล์ผิวที่ตายแล้วได้ ซึ่งทำให้ผิวนุ่มและใสขึ้น
  • ดีต่อผิวแห้ง การอาบน้ำนมทำให้ผิวชุ่มชื้น เนื่องจากกรดแลคติกในน้ำนมจะละลาย ‘กาว’ ที่เป็นตัวยึดเซลล์ผิวที่ตายแล้ว ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ผิวดูแห้งกร้าน การอาบน้ำนมจึงช่วยทำให้ผิวนุ่มลื่นและชุ่มชื้นขึ้น
  • แก้ปัญหาผิวหมองคล้ำ เซลล์ผิวที่ตายแล้วเป็นเหตุให้เกิดผิวหมองคล้ำ การอาบน้ำนมจะช่วยผลัดเซลล์ผิวที่ตายแล้ว ทำให้ผิวดูสว่างใสขึ้น

ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับการ อาบน้ำนม

การอาบน้ำนม ไม่สามารถรักษาปัญหาผิวได้ ปัญหาผิว เช่น ผิวไหม้แดด ผิวระคายเคือง โรคกลาก เกลื้อน หรือปัญหาผิวหนังอื่น ๆ การอาบน้ำนมจะไม่สามารถรักษาอาการเหล่านี้ได้ ถ้ามีปัญหาผิว แนะนำว่าให้พบคุณหมอผิวหนังเพื่อรักษาอาการต่อไป

นอกจากนี้ ยังมีอีกความเชื่อหนึ่งคือ คนที่แพ้นมไม่สามารถอาบน้ำนมได้ ความจริงแล้วต้องแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ ผู้ที่แพ้นม กับผู้ที่แพ้แลคโตสในนม สำหรับคนที่แพ้นมทุกชนิด ไม่ควรอาบน้ำนม เพราะอาจเกิดอาการแพ้ หากสัมผัสน้ำนมแล้วมีอาการเช่น คัน หรือผื่นขึ้น ควรหลีกเลี่ยงการอาบน้ำนม ส่วนผู้ที่มีอาการแพ้แลคโตสในนม การอาบน้ำนมจะไม่ส่งผล เพราะไม่ได้ดื่มนมเข้าไป และร่างกายไม่ได้ย่อยแลคโตสจึงไม่เกิดอาการแพ้ ดังนั้น การอาบน้ำนม โดยไม่ได้ดื่มนม ก็จะไม่ส่งผลต่อคนที่แพ้แลคโตสในนม แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น หากสัมผัสนมแล้วเกิดการระคายเคือง ก็ควรหลีกเลี่ยงการอาบน้ำนม

วิธีอาบน้ำนมที่บ้าน

หากอยากลองอาบน้ำนมดูบ้าง ไม่จำเป็นต้องเข้าสปาแต่อย่างใด เพราะสามารถผสมน้ำนมสำหรับอาบเองได้ที่บ้าน ด้วยวิธีการง่าย ๆ ก็คือ

  • น้ำนม ให้ใส่น้ำนม 1-2 แก้ว ในน้ำอุ่น ใช้เป็นนมจืดธรรมดา ไม่ใช้นมรสหวาน
  • นมผง ใส่ผงนม 1/3 -2/3 ถ้วยตวง ในน้ำอุ่น

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Tang SC, Yang JH. Dual effects of alpha-hydroxy acids on the skin. Molecules. 2018;23(4). DOI: 10.3390/molecules23040863. Accessed on August 6, 2018

Surber C, Kottner J. Skin care products: What do they promise, what do they deliver? Journal of Tissue Viability. 2017;26(1):29-36. doi:10.1016/j.jtv.2016.03.006. Accessed on August 6, 2018

Kasrae H, Amiri Farahani L, Yousefi P. Efficacy of topical application of human breast milk on atopic eczema healing among infants: a randomized clinical trial. International Journal of Dermatology. 2015;54(8):966-71. doi:10.1111/ijd.12764. Accessed on August 6, 2018

Seifi B, Jalali S, Heidari M. Assessment effect of breast milk on diaper dermatitis. Dermatol Reports. 2017;9(1):7044. doi:10.4081/dr.2017.7044. Accessed on August 6, 2018

Are There Benefits to Taking a Milk Bath?. https://www.livestrong.com/article/144679-what-are-the-benefits-of-a-milk-bath/. Accessed on August 6, 2018

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/03/2022

เขียนโดย Sopista Kongchon

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

ประโยชน์ของว่านหางจระเข้ต่อสุขภาพผิว

ผิวสวย ด้วยกรด เป็นไปได้จริงหรือ และมีกรดอะไรบ้าง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย Sopista Kongchon · แก้ไขล่าสุด 11/03/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา