backup og meta

รวมเมนูอาหาร มื้อดึก ที่กินเท่าไหร่ ก็ไม่ทำให้อ้วน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 04/06/2020

    รวมเมนูอาหาร มื้อดึก ที่กินเท่าไหร่ ก็ไม่ทำให้อ้วน

    เป็นเหมือนกันรึเปล่าคะ ตกดึกทีไร ท้องหิวทุกที และเมื่อเราไม่สามารถหักห้ามใจต้านทานความหิว เผลอกินมื้อดึกเข้าไป สุดท้ายแล้วก็ต้องมานั่งเสียใจ เพราะน้ำหนักที่พุ่งขึ้นอย่างฉุดไม่อยู่เสียอย่างนั้น แต่ไม่ต้องกังวลใจไปค่ะ เพราะวันนี้ Hello คุณหมอ จะมาแนะนำเมนูอาหาร มื้อดึก แคลอรี่ต่ำ ไขมันน้อย แบบที่แม้ว่าเราจะเผลอกินดึกแค่ไหน ก็ไม่ต้องมานั่งระแวงใจว่าจะน้ำหนักขึ้น

    อาหารมื้อดึก-กินไม่อ้วน

    อาหาร มื้อดึก แบบไม่อ้วน ที่ควรเลือกกิน

    ไอเท็มเด็ดประจำที่ควรมีติดตู้เย็นไว้สำหรับคนที่ชอบกินอะไรดึกๆ คงหนีไม่พ้น โยเกิร์ต โยเกิร์ตนั้นเป็นแหล่งสำคัญของแคลเซียม ที่ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง และเป็นส่วนสำคัญในการสร้างสารเมลาโทนิน (melatonin) ซึ่งช่วยในการนอนหลับได้อีกด้วย โยเกิร์ตนั้นยังช่วยในเรื่องของระบบขับถ่าย ช่วยป้องกันอาการท้องผูก และที่สำคัญเหนือสิ่งอื่นใดคือเป็นอาหารที่ทำให้รู้สึกอิ่ม แต่มีไขมันต่ำ แคลอรี่น้อย แต่คุณควรเลือกรับประทานโยเกิร์ตรสธรรมชาติ หรือโยเกิร์ตไขมันต่ำ ที่ไม่ผสมพวกผลไม้เชื่อม เพื่อไม่เป็นการเพิ่มแคลอรี่ส่วนเกินให้กับอาหารมื้อนั้น

  • ป๊อปคอร์น
  • แม้ว่าป๊อปคอร์นอาจจะดูเป็นขนมที่มีแคลอรี่สูง แต่จริงๆ แล้วแคลอรี่ในป๊อปคอร์นนั้นมีอยู่น้อยมาก ป๊อปคอร์นขนาด 3 ถ้วยตวงจะให้แคลอรี่ไม่ถึง 100 กรัม และมีใยอาหารมากกว่า 4 กรัม ทำให้เรารู้สึกอิ่มท้องโดยไม่ทำให้อ้วน แต่อย่างไรก็ตาม คุณควรเลือกรับประทานป๊อปคอร์นที่ไม่ใส่เนย น้ำตาล คาราเมล หรือเกลือ แต่อาจลองเปลี่ยนไปทำให้สุกด้วยการอบลมร้อนหรือไมโครเวฟ และผสมกับเครื่องเทศหรือสมุนไพรแห้ง เพื่อช่วยเพิ่มรสชาติแบบไม่เพิ่มแคลอรี่แทน

    • เมนูไข่

    อาหารเมนูไข่ ไม่ว่าจะไข่ต้ม ไข่ลวก ไข่ตุ๋น ไข่ดาว หรือไข่เจียว ต่างก็เป็นเมนูมื้อดึกที่สามารถทำได้อย่างง่ายๆ ใช้เวลารวดเร็ว อิ่มท้อง มีคุณค่าทางโภชนาการ และมีแคลอรี่ต่ำ เพราะไข่ 1 ใบจะใช้แคลอรี่แค่เพียงประมาณ 72 แคลอรี่เท่านั้น แต่จะให้โปรตีนที่ทำให้รู้สึกอิ่มมากถึง 6 กรัม ถ้าเป็นไปได้ควรเลือกกินเป็นไข่ต้ม ไข่ลวก หรือไข่ตุ๋นที่ไม่ต้องใช้น้ำมันในการประกอบอาหาร แต่หากอยากจะทอดไข่ ก็พยายามใช้น้ำมันน้อยๆ หรือทำเป็นไข่ดาวน้ำแทน

  • ผลไม้
  • หากคุณรู้สึกอยากกินของหวานๆ กลางดึก แทนที่จะหยิบขนมขบเคี้ยวมากิน ลองเปลี่ยนเป็นกินผลไม้สดแทน ผลไม้หลายชนิดนั้นจะมีสารเมลาโทนินที่ช่วยในการนอนหลับ มีรสชาติหวานจากน้ำตาลธรรมชาติที่อยู่ในผลไม้ ช่วยดับความรู้สึกอยากของหวาน และมีใยอาหารเป็นจำนวนมาก ช่วยให้อิ่มท้อง และป้องกันไม่ให้ระดับน้ำตาลในเลือดพุ่งขึ้นสูง นอกจากนี้ในผลไม้หลายๆ ชนิดยังมีวิตามิน แร่ธาตุ และสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยต้านการอักเสะและชะลอวัย ตัวอย่างผลไม้ที่ควรเลือกกินคือ กล้วย กินง่ายและทำให้อิ่ม หรือกีวี่ ที่มีแมกนีเซียม เมลาโทนิน และแคลเซียมสูง ช่วยในเรื่องของการนอนหลับ

    หากคุณรู้สึกอยากเคี้ยวอะไรกรอบๆ ลองเลือกรับประทานเป็นผักสดหั่นแท่ง ไม่ว่าจะเป็น แครอท แตงกวา ขึ้นฉ่ายฝรั่ง (celery) หรือพวกผักสลัด กินกับเครื่องจิ้มต่างๆ เช่น น้ำพริก น้ำสลัด ซอส หรือดิปต่างๆ ผักสดนั้นนอกจากจะมีใยอาหารสูง มีคุณค่าทางสารอาหาร กินแล้วรู้สึกสดชื่น ไม่หนักท้อง ยังมีแคลอรี่ต่ำ และช่วยในเรื่องของการขับถ่าย ช่วยในเรื่องของการคุมน้ำหนักแน่นอน

    อาหารมื้อดึกที่ควรหลีกเลี่ยงหากไม่อยากน้ำหนักขึึ้น

    มันฝรั่งทอด

    มันฝรั่งทอดนั้นเป็นการจับคู่กันระหว่างไขมันและเกลือ สองตัวร้ายที่ทำให้เราน้ำหนักขึ้น ดังนั้นคงไม่จำเป็นต้องบอกเลยว่า หากเรากินมันฝรั่งทอดเป็นมื้อดึก จะส่งผลต่อน้ำหนักตัวของเราอย่างไร นอกจากนี้ มันฝรั่งเองก็เป็นคาร์โบไฮเดรตชนิดหนึ่ง ที่จะแปรเปลี่ยนเป็นน้ำตาล และกลายเป็นแคลอรี่เพิ่มน้ำหนักไปในที่สุด

    ช็อกโกแลต

    หากคุณเลือกรับประทานเป็นดาร์กช็อกโกแลตอาจจะไม่มีปัญหาอะไร แต่ช็อกโกแลตที่หาซื้อได้ตามร้านสะดวกซื้อส่วนใหญ่ มักจะเป็นช็อกโกแลตนมที่ผสมน้ำตาลมาค่อนข้างเยอะ ซึ่งอาจเพิ่มระดับของน้ำตาลในเลือด และน้ำหนักตัวได้

    ไอศกรีม

    ภายในไอศกรีมนั้นจะประกอบไปด้วย นม ไข่ และน้ำตาลในปริมาณมาก ไอศกรีมส่วนใหญ่มักจะมีปริมาณของแคลอรี่อยู่ที่ 207 แคลอรี่ ต่อไอศกรีม 100 กรัม ยิ่งหากเป็นไอศกรีมเสริมรสชาติต่างๆ เช่น สตรอว์เบอร์รี่ หรือช็อกโกแลต ก็จะยิ่งเพิ่มปริมาณของแคลอรี่มากยิ่งขึ้นไปอีก

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด 

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 04/06/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา