backup og meta

นอนดึก เป็นประจำขอให้รู้ไว้ว่า อ้วนแน่ๆ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Sopista Kongchon · แก้ไขล่าสุด 15/07/2020

    นอนดึก เป็นประจำขอให้รู้ไว้ว่า อ้วนแน่ๆ

    นอนดึก ตื่นสาย หักห้ามใจไม่ได้เมื่อเจอของหวาน อาการแบบนี้เกิดขึ้นกับคุณบ่อยๆ หรือเปล่า มีงานวิจัยที่ชี้ว่า การนอนดึก ทำให้น้ำหนักขึ้นได้ ใครที่ไม่อยากอ้วนขึ้น ลองอ่านบทความที่ Hello คุณหมอ ได้รวบรวมข้อมูลที่น่าเชื่อถือมาให้อ่านกันค่ะ อ่านจบแล้วปรับเวลานอนเพื่อสุขภาพที่ดีกันดีกว่านะคะ

    นอนดึก ทำให้น้ำหนักขึ้น

    งานวิจัยชี้ว่า วัยรุ่นหรือวัยทำงานที่นอนดึก มีแนวโน้มที่จะน้ำหนักขึ้น โดยงานวิจัย ของสถาบัน National Longitudinal Study of Adolescent Health ที่ได้ติดตามกลุ่มผู้ใหญ่จำนวน 3,500 คน ที่เกิดในปี 1994 ถึงปี 2009  ในระยะยาว พบว่าการนอนดึกและการนอนอย่างไม่มีคุณภาพ ส่งผลทำให้ค่าดัชนีมวลกาย (Body Mass Index, BMI) เพิ่มขึ้นในระยะยาว

    การนอนดึกของวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ ทำให้ค่า BMI เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ทีมวิจัยยังให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า การกินฟาสต์ฟู้ดเป็นอีกตัวการสำคัญที่ทำให้ ค่า BMI เพิ่มเนื่องจากการนอนดึกแต่ไม่ใช่แค่วัยรุ่นกับวัยผู้ใหญ่ ยังมีงานวิจัยที่พบว่า เด็กๆ วัย 4 ขวบ และ 5 ขวบ ที่นอนดึก ก็เสี่ยงต่อการเป็นโรคอ้วนเช่นกัน เด็กๆ ที่นอนน้อยกว่า 9.5 ชั่วโมงต่อวัน จะเสี่ยงเป็นโรคอ้วน มากกว่าเด็กๆ ที่เข้านอนตั้งแต่ 3 ทุ่ม และตื่นเช้า

    ใครที่มีอาการหิวบ่อย หักห้ามใจกับของหวาน ของทอด ไม่ได้ อาจเป็นเพราะนอนดึก เนื่องจากมีงานวิจัยหลายงานวิจัย ชี้ว่าการนอนดึก จะเพิ่มความอยากอาหาร แถมจะทำให้คุณไม่สามารถหักห้ามใจ ที่จะไม่กินอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตและไขมันสูงได้

    เหตุผลที่ทำให้น้ำหนักขึ้น

    เวลานอนที่เหมาะสมคือ 7-9 ชั่วโมงต่อวัน ถ้านอนน้อยกว่านั้น จะทำให้ฮอร์โมนคอร์ติซอล หรือฮอร์โมนความเครียดเพิ่มขึ้น ซึ่งฮอร์โมนคอร์ติซอล จะส่งสัญญาณให้ร่างกาย กักเก็บพลังงานไว้ใช้ ซึ่งหมายความว่า ร่างกายจะรักษาไขมันไว้ เป็นเหตุที่ทำให้เราอ้วนได้

    นอกจากนี้ ดร. ไมเคิล เจ. บรูซ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องการนอนหลับ ผู้เขียนหนังสือเรื่อง Beauty Sleep กล่าวว่า ถ้านอนดึก นอนไม่พอ หรือคุณภาพการนอนหลับไม่ดี กระบวนการการเผาผลาญก็จะทำงานได้ไม่เต็มที่ โดยเฉลี่ยแล้ว คนเราควรนอน 7.5 ชั่วโมงต่อวัน คนที่นอนหลับอย่างเพียงพอในทุกๆ วันแล้ว อาจไม่ส่งผลต่อการลดน้ำหนัก แต่สำหรับคนที่นอนดึก พักผ่อนน้อย นอน 5 ชั่วโมงต่อวัน หากลองปรับเวลานอน จาก 5 ชั่วโมงต่อวันเป็น 7.5 ชั่วโมง รับรองว่าน้ำหนักลดลงอย่างแน่นอน

    ดร. ไมเคิล เจ. บรูซ อธิบายเพิ่มเติมว่า ฮอร์โมนคือปัจจัยสำคัญที่ทำให้การนอนดึก ส่งผลต่อน้ำหนักตัว โดยฮอร์โมนที่ว่าได้แก่ ฮอร์โมนเกรลิน (Ghrelin) กับฮอร์โมนเลปติน (Leptin) ฮอร์โมนเกรลิน คือฮอร์โมนที่ทำให้หิว หากนอนดึก จะทำให้มีฮอร์โมนเกรลินเยอะ ส่วนฮอร์โมนเลปติน คือฮอร์โมนที่ทำให้อิ่ม การนอนดึกจะทำให้มีเลปตินน้อย ส่งผลให้อยากกินอาหารมากขึ้น และอิ่มช้าลง ซึ่งพอกินมาก และแถมกระบวนการเผาผลาญช้าลง ก็จะทำให้น้ำหนักขึ้นในที่สุด

    เคล็ดลับช่วยให้หลับอย่างมีคุณภาพ

  • งดคาเฟอีน เพราะว่าจะทำให้เราตื่นในตอนกลางคืน ซึ่งรบกวนการนอนหลับ โดยหลังบ่ายสอง ไม่ควรกินคาเฟอีน เนื่องจากคาเฟอีนสามารถอยู่ในระบบร่างกายของเราได้นาน 5-6  ชั่วโมง
  • ไม่กินอะไรก่อนนอน ไม่ควรออกไปกินก๋วยเตี๋ยวตอน 4 ทุ่ม หรือกินอาหารก่อนเข้านอน เพราะนอกจากจะเสี่ยงเป็นกรดไหลย้อนแล้ว ยังทำให้รบกวนการนอนหลับอีกด้วย หากหิวจริงๆ อาจกินน้ำเปล่า หรือนมอุ่นๆ ก่อนเข้านอนแทน
  • ปิดคอมพิวเตอร์และเครื่องมือสื่อสาร อย่างน้อยหนึ่งชั่วโมงก่อนเข้านอน
  • เข้านอนและตื่นนอนให้เป็นเวลา แม้กระทั่งวันหยุด ร่างกายจะสร้างความเคยชิน และทำให้หลับง่ายขึ้น
  • ปิดไฟ ความมืดช่วยให้ร่างกายหลั่งสารเมลาโทนินที่ช่วยในการนอนหลับ ขณะที่แสงสว่างจะกดการหลั่งเมลาโทนินของร่างกาย ซึ่งเป็นเหตุผลที่ว่า การเปิดม่านรับแสงในยามเช้า ทำให้เรารู้สึกตื่นตัวขึ้น
  • Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย Sopista Kongchon · แก้ไขล่าสุด 15/07/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา