เชื่อว่าหลายๆ คน คงผ่านภาวะทางอารมณ์นี้กันมาแล้ว เวลาที่เรารับประทานอาหารผิดเวลาหรืออดอาหารเป็นเวลานานๆ ทำให้เริ่มมีอาการหงุดหงิด หรือเรียกง่ายๆ ว่า โมโหหิว แต่จะเกิดขึ้นได้อย่างไร เพราะ น้ำตาลในเลือดต่ำ ใช่หรือไม่? วันนี้ Hello คุณหมอ มีคำตอบมาให้ทุกคนได้ทราบกัน
โมโหหิว เกิดขึ้นได้อย่างไร?
อาหารที่เรารับประทานเข้าไปนั้น ไม่ว่าจะเป็นคาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน เมื่อเวลาผ่านไปหลังจากที่สารอาหารเหล่านี้ซึมซับเข้าภายในร่างกาย ระบบการย่อยสลายจะทำการส่งออกมาเป็นน้ำตาล หรือเรียกอีกอย่างได้ว่า กลูโคส (Glucose) ที่จะเข้าไปสู่กระแสเลือดและยังกระจายไปตามอวัยวะส่วนต่างๆ เพื่อใช้เป็นพลังงานในการทำกิจวัตรประจำวันของคุณ
การรับประทานอาหารในแต่ละมื้อระบบการทำงานของสมองจะจดจำช่วงเวลาเอาไว้ หากอดอาหารหรือทานผิดเวลาสมองของคุณจะรับรู้ได้ถึงระดับกลูโคสในกระแสเลือดที่กำลังลดลง ส่งผลต่อไปยังด้านฮอร์โมนอะดรีนาลีน (Adrenaline) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่สามารถกระตุ้นพฤติกรรมอารมณ์ความพลุ่งพล่าน เพราะเหตุนี้จึงทำให้เกิดอาการโมโหหิว ขึ้นและสามารถเกิดภาวะอารมณ์อื่นร่วมด้วย เช่น ความเครียด วิตกกังวล
ศาสตราจารย์ฟรานเซสโก้ เลรี กรมจิตวิทยา แห่งมหาวิทยาลัยเกวลฟ์ในแคนาดา ได้ทำการทดลองพิสูจน์เรื่องนี้โดยฉีดสารบางอย่างเข้าสู่ร่างกายหนูทดลอง เมื่อเวลาผ่านไปได้สักระยะหนูทดลองมีพฤติกรรมเนือยนิ่งผิดปกติ จึงทำการตรวจเลือด หลังจากนั้นไม่นานศาสตราจารย์ฟรานเซสโก้และทีมพบว่าหนูทดลองมีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ มีฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดความเครียด วิตกกังวลสูงกว่าปกติ จึงทำการแก้ไขโดยฉีดยาคลายเครียดให้
การทดลองในครั้งนี้เห็นได้ชัดว่าภาวะ น้ำตาลในเลือดต่ำ มีผลต่อการทำงานของระบบในร่างกาย ทำให้เกิดกระตุ้นทางอารมณ์บางรายอาจหงุดหงิดหรือโมโห แต่บางรายอาจรู้สึกหมดแรงอ่อนเพลีย ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมรอบข้างของคุณด้วยว่าเป็นเชิงบวกหรือเชิงลบ
เมื่อระดับ น้ำตาลในเลือดต่ำ ร่างกายจะได้รับผลกระทบอะไรบ้าง?
ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia) สามารถทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเบาหวานได้สูง คุณควรได้รับการตรวจสุขภาพก่อนเกิดผลกระทบที่ร้ายแรงเหล่านี้ตามมา
- มีปัญหาทางด้านการมองเห็นปิดปกติ เช่น มองเห็นวัตถุเป็นภาพเบลอเลือนลางจนถึงขั้นเป็นภาพดำ
- อัตราการเต้นของหัวใจเร็วขึ้น หรือผิดปกติ
- การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ฉับพลัน
- ความเหนื่อยล้าที่ไม่สามารถหาสาเหตุได้
- ผิวซีดอย่างเห็นได้ชัด
- อาการปวดหัว วิงเวียนศรีษะ
- พฤติกรรมเกี่ยวกับการนอนหลับเปลี่ยนแปลงไป
- เกิดความเครียด วิตกกังวล
- เกิดอาการลมชัก
วิธีการป้องกันและรักษาระดับ น้ำตาลในเลือดต่ำ …
โดยปกติผู้ป่วยทั่วไปที่เข้าสู่ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ มักมาจากค่าเฉลี่ยของน้ำตาลที่ไม่ตรงตามเกณฑ์ ค่าคงที่ของระดับน้ำตาลในเลือดนั้นควรอยู่ในระหว่าง 70-100 (mg / dL) หากสูงหรือต่ำกว่านี้อาจทำให้เกิดการสุ่มเสี่ยงของโรคเบาหวานตามมาได้
ส่วนใหญ่ในการรักษาระดับน้ำตาลในเลือดจะนิยมใช้ อินซูลิน (insulin) ในการช่วยปรับสมดุลภาวะของระดับน้ำตาล ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการได้รับความเห็นชอบและการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์แล้วเท่านั้น เพราะบางรายอาจไม่จำเป็นที่ต้องพึ่งพาอินซูลินในการรักษา
วิธีการป้องกัน
หากรู้สึกเหมือนกำลังจะเป็นลมหรืออ่อนแรง เห็นภาพไม่ชัด ซึ่งเป็นอาการเบื้องต้นที่ไม่รุนแรง
ควรพกเครื่องดื่ม หรือพกขนมขบเคี้ยว เช่น น้ำอัดลม น้ำหวาน น้ำผลไม้ นม หมากฝรั่ง แล้วนั่งพักสักครู่ สูดหายใจเข้าลึกๆ อาการของคุณจะกลับมาดีขึ้นตามลำดับ
อีกกรณีถ้าหากคุณมีความสุ่มเสี่ยงของโรคเบาหวานวิธีที่สามารถป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดได้ คือ..
- รับประทานอาหารตามโปรแกรมของแพทย์ที่ได้กำหนดไว้
- รับประทานอาหารให้ครบทั้ง 3 มื้อ และถูกต้องตามหลักโภชนาการ
- ออกกำลังกาย 30 นาทีถึง 1 ชั่วโมงหลังอาหาร
- ตรวจสอบอินซูลิน (insulin) และขนาดยารักษาโรคเบาหวานก่อนทานหรือฉีด
- หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์
- ตรวจสอบระดับน้ำตาลในเลือดทั้งก่อนและหลังออกกำลังกายหรือหลังอาหาร แจ้งให้แพทย์ทราบถึงการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำตาล เพราะอาจมีการเปลี่ยนแปลงโปรแกรมการออกกำลังกายหรือแผนการกินเพื่อความปลอดภัย
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด
[embed-health-tool-bmi]