backup og meta

ดูแลตัวเองเมื่อเกิด ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ต้องทำอย่างไรบ้าง

ดูแลตัวเองเมื่อเกิด ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ต้องทำอย่างไรบ้าง

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Sleep Apnea) ถือเป็นโรคนอนไม่หลับที่มีอันตรายร้ายแรง ส่วนใหญ่อาการเริ่มต้นของภาวะหยุดหายใจขณะหลับก็คือ กรนเสียงดัง และรู้สึกเหนื่อย แม้จะนอนหลับเต็มที่แล้วก็ตาม ดังนั้น การเรียนรู้วิธีการดูแลตัวเองจึงถือเป็นเรื่องที่ควรทำ ทาง Hello คุณหมอ จึงได้นำเรื่องนี้มาฝากกัน

ปัจจัยที่ทำให้เกิด ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ 

ก่อนจะไปถึงวิธีการดูแลตัวเอง ลองมาดูกันก่อนดีกว่าว่า ปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับมีอะไรบ้าง

  • น้ำหนักเกิน โรคอ้วนนั้นสามารถเพิ่มความเสี่ยงของภาวะหยุดหายใจขณะหลับได้อย่างมาก เนื่องจากไขมันที่สะสมรอบๆ ทางเดินหายใจส่วนบน สามารถขัดขวางการหายใจของคุณได้
  • รอบคอ ผู้ที่มีรอบคอหนาอาจมีทางเดินหายใจที่แคบลง
  • ทางเดินหายใจแคบ ทางเดินหายใจแคบอาจเกิดจากพันธุกรรม นอกจากนั้นเมื่อต่อมทอนซิล หรือโรคเนื้องอกในจมูก ยังสามารถทำให้ทางเดินหายใจขยายตัว จนไปปิดกันระบบทางเดินหายใจ โดยเฉพาะในเด็กได้ด้วย
  • เพศชาย โดยทั่วไปแล้วเพศชายมักมีแนวโน้มในการเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับได้มากกว่าเพศหญิงมากกว่า ประมาณ 2-3 เท่า อย่างไรก็ตาม ผู้หญิงที่มีน้ำหนักเกิน และอยู่ในช่วงวัยหมดประจำเดือนก็จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะการหยุดหายใจขณะหลับได้มากขึ้นเช่นกัน
  • อายุมากขึ้น ภาวะหยุดหายใจขณะหลับมักพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ
  • ประวัติครอบครัว การที่คุณมีสมาชิกในครอบครัวมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ก็อาจจะเพิ่มความเสี่ยงให้กับตัวคุณได้
  • สูบบุหรี่ ผู้ที่สูบบุหรี่จะมีแนวโน้มในการเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ได้มากกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ถึง 3 เท่า เนื่องจากการสูบบุหรี่สามารถเพิ่มปริมาณการอักเสบ และกักเก็บของเหลวในไว้ในทางเดินหายใจส่วนบนนั่นเอง
  • คัดจมูก หากคุณมีปัญหาเกี่ยวกับทางเดินหายใจในจมูก ไม่ว่าจะเกิดจากโรคหรืออาการแพ้ ก็ทำให้คุณมีแนวโน้มที่จะพัฒนาไปสู่ภาวะหยุดหายใจขณะหลับได้เช่นกัน

วิธีดูแลตัวเองเมื่อเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

โดยปกติแล้วการรักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับแบบดั้งเดิม ก็คือการสวมหน้ากาก CPAP ในเวลากลางคืน แต่วิธีนั้นไม่สะดวกสบายเท่าไหร่นัก ดังนั้น ลองมาดูวิธีการดูแลตัวเองเมื่อเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับ กันดีกว่า

รักษาน้ำหนักให้สมส่วน และรักษาร่างกายให้แข็งแรง

โดยปกติแล้วเมื่อเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับ แพทย์มักจะแนะนำให้ลดน้ำหนัก เนื่องจากโรคอ้วน โดยเฉพาะร่างกายในส่วนบนนั้น สามารถเพิ่มความเสี่ยงของการอุดตันทางเดินหายใจและทำให้ทางเดินจมูกแคบได้ สิ่งที่เกิดขึ้นเหล่านี้ อาจทำให้คุณหยุดหายใจกระทันหัน หรือหยุดหายใจเป็นระยะเวลานานขณะนอนหลับได้

การรักน้ำหนักตัวให้สมส่วน และการรักษาร่างกายให้แข็งแรง สามารถทำให้ทานเดินหายใจทำงานได้อย่างไม่ติดขัด นอกจากนั้น ยังช่วยลดอาการหยุดหายใจขณะหลับได้อีกด้วย

ลองเล่นโยคะ

การออกกำลังกายเป็นประจำ สามารถเพิ่มระดับพลังงานให้กับร่างกาย ทั้งยังเสริมสร้างหัวใจให้แข็งแรง และช่วยปรับปรุงภาวะหยุดหายใจขณะหลับได้อีกด้วย โยคะสามารถช่วยปรับปรุงความแข็งแรงของระบบทางเดินหายใจ และกระตุ้นการไหลเวียนของออกซิเจนในเลือดได้อีกด้วย

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับมีความเกี่ยวข้องกับการลดความอิ่มตัวของระดับออกซิเจนในเลือดของคุณ ดังนั้น โยคะจึงสามารถปรับปรุงระดับออกซิเจนนี้ได้ ผ่านการออกกำลังกายแบบฝึกการหายใจต่างๆ นั่นจึงเป็นเหตุผลว่า ทำไมการเล่นโยคะถึงช่วยลดภาวะหยุดหายใจขณะหลับได้

เปลี่ยนตำแหน่งการนอน

การเปลี่ยนแปลงตำแหน่งการนอนเพียงเล็กน้อย ก็สามารถช่วยลดภาวการณ์หยุดหายใจขณะหลับได้ นอกจากนั้นยังช่วยปรับปรุงการพักผ่อนของคุณในตอนกลางคืนได้อีกด้วย จากการศึกษาในปี 2006 พบว่า มากกว่าครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับนั้นเกิดจากตำแหน่งการนอน

จากแหล่งการศึกษาที่เชื่อถือได้ แสดงให้เห็นว่า การนอนหงายอาจทำให้ภาวะหยุดหายใจขณะหลับแย่ลง แต่ในผู้ใหญ่บางคนการนอนตะแคงข้าง สามารถช่วยให้การหายใจกลับมาเป็นปกติได้ แต่หากจะให้ดีการปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญถึงตำแหน่งการนอนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับ เพื่อประเมินทางเลือกในการรักษาจะเป็นการดีที่สุด

ใช้เครื่องเพิ่มความชื้น

เครื่องทำความชื้นเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับอากาศ เพราะอากาศแห้งอาจทำให้ร่างกายและระบบทางเดินหายใจมีปัญหา การใช้เครื่องเพิ่มความชื้น สามารถลดความแออัดให้กับทางเดินหายใจ และส่งเสริมการหายใจให้สะดวกขึ้น

นอกจากนั้น การเพิ่มน้ำมันลาเวนเดอร์ สะระแหน่ หรือยูคาลิปตัส ลงในเครื่องเพิ่มความชื้น ก็จะช่วยต้านการอักเสบ และทำให้รู้สึกผ่อนคลายได้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม หากมีเครื่องทำความชื้นแล้ว ก็จำเป็นที่จะต้องดูแลรักษา ทำความสะอาดอยู่เสมอ เนื่องจากเครื่องทำความชื้นอาจแฝงไปด้วยเชื้อรา และแบคทีเรีย

หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์และการสูบบุหรี่

การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ สามารถปรับปรุงสุขภาพและส่งเสริมนิสัยการนอนที่ดีขึ้นได้ ดังนั้น หากคุณยังดื่มแอลกอฮอล์ และสูบบุหรี่ ลองหันมาเลิกดู เนื่องจากการดื่มแอลกอฮอล์และการสูบบุหรี่นั้น เป็นสาเหตุหนึ่งของภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะ แอลกอฮอล์ สามารถคลายกล้ามเนื้อคอที่ควบคุมการหายใจของคุณได้ ซึ่งมันสามารถนำไปสู่การนอนกรน ทั้งยังทำให้วงจรการนอนถูกขัดจังหวะได้ด้วย

นอกจากนี้แอลกอฮอล์ยังนำไปสู่การอักเสบของระบบทางเดินหายใจ ทำให้การไหลเวียนของอากาศถูกปิดกั้นได้ ด้านบุหรี่เองก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ทำให้เกิดการอักเสบ และอาการบวมในทางเดินหายใจ ซึ่งส่งผลให้เกิดการนอนกรนและเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับได้เช่นเดียวกับแอลกอฮอล์นั่นเอง

ใช้เครื่องใช้ในช่องปาก

เครื่องใช้ในช่องปาก สามารถช่วยภาวะหยุดหายใจขณะหลับได้ เนื่องจากเครื่องใช้ในช่องปากนี้ทำหน้าที่ในการปรับตำแหน่งกราม และลิ้น เพื่อให้ทางเดินหายใจเปิดในขณะที่นอนหลับอยู่ เครื่องใช้ในช่องปากนั้นทำงานโดยการขยับขากรรไกรล่าง หรือลิ้นไปข้างหน้า เพื่อลดสิ่งกีดขวางที่ด้านหลังคอ นั่นเอง ซึ่งเครื่องใช้ในช่องปากนี้สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป หรือจะปรึกษากับทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก็ได้เช่นกัน

หากคุณดูแลตัวเองแล้วภาวะหยุดหายใจขณะหลับยังไม่ดีขึ้น การรักษาด้วยศัลยกรรมก็เป็นอีกวิธีที่สามารถช่วยรักษาภาวะนี้ได้เช่นกัน แต่ทั้งนี้การปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อวินิจฉัยและเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสม ดูจะเป็นวิธีที่ดีที่สุด

Hello Health Groupไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัย หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Sleep apnea. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/sleep-apnea/diagnosis-treatment/drc-20377636. Accessed March 03, 2020

6 Lifestyle Remedies for Sleep Apnea. https://www.healthline.com/health/home-remedies-for-sleep-apnea. Accessed March 03, 2020

Sleep Apnea Treatment. https://www.webmd.com/sleep-disorders/sleep-apnea/sleep-apnea-treatments. Accessed March 03, 2020

5 Alternative Sleep Apnea Treatment Options. https://www.aastweb.org/blog/5-alternative-sleep-apnea-treatment-options. Accessed March 03, 2020

เวอร์ชันปัจจุบัน

28/05/2020

เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

เคล็ดลับดี ๆ ที่ช่วยให้ นอนหลับได้ดี หลังผ่าคลอด

นอนหลับหลายครั้งใน 24 ชั่วโมง (Polyphasic Sleep) อันตรายหรือไม่


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 28/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา