backup og meta

ขอบเล็บอักเสบ ประเภท อาการ และการรักษา

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย เนตรนภา ปะวะคัง


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 12/01/2023

    ขอบเล็บอักเสบ ประเภท อาการ และการรักษา

    ขอบเล็บอักเสบ (Paronychia) เป็นโรคเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า สเตรปโทคอกคัส ไพโอจีน (Streptococcus pyogenes) หรือ สแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส (Staphylococcus aureus) สามารถเกิดขึ้นได้ตั้งแต่บริเวณผิวหนังโดยรอบจนถึงภายในเล็บ ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากการบาดเจ็บที่เล็บ เช่น การกัดเล็บ ประตูหนีบ ทำให้เชื้อแบคทีเรียแทรกเข้าไปในเนื้อเล็บ ดังนั้น จึงควรเรียนรู้วิธีป้องกัน และการรักษาเบื้องต้น เพื่อป้องกันการติดเชื้อลุกลามอย่างรุนแรง

    โรค ขอบเล็บอักเสบมี่กี่ประเภท

    โรค ขอบเล็บอักเสบ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

    • ขอบเล็บอักเสบแบบเฉียบพลัน (Acute paronychia)

    โรคขอบเล็บอักเสบแบบเฉียบพลัน เป็นการติดเชื้ออย่างรวดเร็วภายในไม่กี่ชั่วโมง เมื่อได้รับเชื้อแบคทีเรีย แต่การติดเชื้อประเภทนี้มักไม่แพร่กระจายลงไปเข้าสู่นิ้ว ซึ่งอาจสามารถทำให้ฟื้นฟูสุขภาพเล็บกลับมาเป็นดังเดิมได้ค่อนข้างไว

    • ขอบเล็บอักเสบเรื้อรัง (Chronic paronychia)

    หมายถึงโรคขอบเล็บอักเสบที่มีอาการนานกว่า 6 สัปดาห์ขึ้นไป และมีความร้ายแรงกว่าโรคขอบเล็บอักเสบแบบเฉียบพลัน ส่วนใหญ่มักเกิดกับผู้ที่เล็บโดนความชื้นหรือทำงานเกี่ยวข้องกับน้ำเป็นเวลานาน เพราะความชื้นอาจกระตุ้นให้แบคทีเรียเจริญเติบโต จนนำมาสู่อาการเล็บติดเชื้อได้

    สัญญาณเตือนเบื้องต้นของโรค ขอบเล็บอักเสบ

    อาการทั่วไปของโรคขอบเล็บอักเสบ อาจมีดังต่อไปนี้

    • ผิวหนังรอบเล็บบวมแดงขึ้น
    • บริเวณขอบเล็บมีแผลพุพองเต็มไปด้วยหนอง
    • สีผิว หรือพื้นผิวเล็บเปลี่ยนแปลงไป
    • เล็บ และผิวหนังหลุดลอก หรือได้รับความเสียหาย

    วิธีการรักษาโรค ขอบเล็บอักเสบ

    การรักษาโรคขอบเล็บอักเสบ อาจแตกต่างกันออกไป แล้วแต่ความรุนแรงที่เกิดขึ้น ซึ่งสำหรับโรคขอบเล็บอักเสบที่อาการไม่ร้ายแรงมากอาจบรรเทาอาการได้ด้วยการแช่มือในน้ำอุ่น 3-4 ครั้งต่อวัน และทายาปฏิชีวนะที่สามารถหาซื้อได้จากเภสัชกรตามร้านขายยาทั่วไป

    แต่หากเกิดอาการเรื้อรังขึ้น ควรเข้ารับการรักษาหรือขอคำปรึกษาจากคุณหมอ เพราะบางครั้งอาจมีหนองในบริเวณผิวหนังรอบเล็บ ซึ่งจำเป็นทำการเจาะระบายหนองออกไป รวมถึงใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อหยุดการแพร่กระจายของเชื้อแบคทีเรียไปยังบริเวณเล็บอื่น ๆ

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    เนตรนภา ปะวะคัง


    เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 12/01/2023

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา