backup og meta

โรคสมาธิสั้น ส่งผลต่อเซ็กส์ อย่างไรบ้าง

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย เนตรนภา ปะวะคัง


เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 05/04/2022

    โรคสมาธิสั้น ส่งผลต่อเซ็กส์ อย่างไรบ้าง

    โรคสมาธิสั้น (Attention deficit hyperactivity disorder หรือ ADHD) เป็นโรคที่มักจะได้รับการวินิจฉัยในเด็ก แต่ก็มีผลกระทบในผู้ใหญ่ได้ โรคสมาธิสั้นนั้นทำให้เกิดอาการหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น ไม่มีสมาธิจดจ่ออยู่กับสิ่งที่ทำ ปัญหาทางด้านพฤติกรรม บางครั้งโรคสมาธิสั้นอาจส่งผลให้เกิดปัญหาความสัมพันธ์ และกระทบกับเรื่องบนเตียงได้ โรคสมาธิสั้น ส่งผลต่อเซ็กส์ ได้ในหลายด้าน ดังนั้น การเข้าใจผลกระทบของโรคสมาธิสั้นต่อเรื่องเซ็กส์ อาจช่วยให้รับมือได้อย่างเหมาะสม และอาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดปัญหาความสัมพันธ์ในระยะยาวได้

    โรคสมาธิสั้น ส่งผลต่อเซ็กส์ อย่างไร

    อาการโดยทั่วไปของโรคสมาธิสั้นนั้นคือ ภาวะซึมเศร้า ความไม่มั่นคงทางอารมณ์ และความวิตกกังวล ซึ่งปัญหาต่างๆ เหล่านี้อาจส่งผลกระทบในทางลบต่อแรงขับทางเพศ เช่น ผู้ที่มีอาการสมาธิสั้นอาจจะไม่มีความต้องการในการมีเซ็กส์ เนื่องจากพวกเขาต้องพยายามจัดการกับการทำงานที่ต้องใช้สมาธิเป็นอย่างสูง จึงเหนื่อยเกินไป จนไม่มีอารมณ์ทางเพศ นอกจากนี้ความเครียดที่เกิดจากโรคสมาธิสั้นยังเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่นำไปสู่ความเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ

    มีความต้องการทางเพศสูงกว่าปกติ

    Hypersexuality หมายถึงการที่แรงขับทางเพศที่สูงกว่าปกติ สิ่งเร้า หรือการกระตุ้นทางเพศ จะทำให้ร่างกายปล่อย เอนดอร์ฟิน (Endorphin) ออกมา ผ่านทางตัวสื่อประสาทของสมอง ซึ่งทำให้เรารู้สึกผ่อนคลายและช่วยลดความรุนแรงจากอาการของ ADHD ผู้ที่เป็น ADHD บางคนอาจมีความเสี่ยงในการทำกิจกรรมทางเพศ เนื่องจากปัญหาอารมณ์ที่หุนหันพลันแล่น อีกทั้งอาจมีความเสี่ยงในการสารเสพติดอื่น ๆ ซึ่งส่งผลให้เกิดความเสี่ยงทางเพศต่างๆ ต่อไป

    ไม่สำเร็จความใคร่

    นอกเหนือจากความต้องการทางเพศที่สูงเกินไปแล้ว ผู้ที่มีอาการสมาธิสั้นบางคน อาจมีปัญหาในการถึงจุดสุดยอด แม้ว่าจะได้รับการกระตุ้นเป็นเวลานาน แต่ก็ไม่ถึงจุดสุดยอด ปัญหานี้อาจจะเกิดจากความเบื่อหน่าย ปัญหาในการใช้สมาธิ หรือความรู้สึกอื่นๆ ที่เกิดจากปัญหาสมาธิสั้น

    ภาวะภูมิไวเกิน (Hypersensitivity)

    ภาวะภูมิไวเกิน (Hypersensitivity) เป็นภาวะที่ผู้ป่วยสมาธิสั้นหลาย ๆ คนมักเจอ ซึ่งผู้ป่วยจะไวต่อสิ่งต่าง ๆ ทางกายภาพ รวมถึงการสัมผัสด้วย ซึ่งอาจทำให้ผู้ที่เป็นโรคสมาธิสั้นเมื่อถูกกระตุ้นที่อวัยวะเพศ อาจจะรู้สึกไม่ปลอดภัย หรือรู้สึกเจ็บ ซึ่งความไวต่อความรู้สึกนี้อาจนำไปสู่ความรู้สึกอื่น ๆ ด้วย ทั้ง กลิ่น รสนิยม

    มีอาการไฮเปอร์ (Hyperactivity)

    ไฮเปอร์ (Hyperactivity) คือภาวะที่อยู่ไม่สุข ขาดสมาธิ วอกแวกต่อสิ่งรอบตัวได้ง่าย ซึ่งปัญหาเหล่านี้สามารถส่งผลกระทบต่อเซ็กส์ได้ โดยผู้ที่มีภาวะไฮเปอร์นั้นมักจะรู้สึกผ่อนคลายได้ยาก ไม่มีสมาธิในการทำกิจกรรมใดได้นาน ๆ เมื่อมีเพศสัมพันธ์อาจทำให้เขาเปลี่ยนท่าทางปล่อยครั้ง จนไม่มีสมาธิ จดจ่อได้นานพอ ระหว่างมีเพศสัมพันธ์

    สิ่งที่ควรทำเมื่อคู่รักมีอาการของโรคสมาธิสั้น

    หากคู่รักมีปัญหาสมาธิสั้น อาจต้องหมั่นสังเกตอาการว่าพวกเขามีอาการเช่นไร บางคนมีอาการฟุ้งซ่านระหว่างมีเพศสัมพันธ์ เสียสมาธิได้ง่าย สนใจอย่างอื่นขณะมีเพศสัมพันธ์ หากคู่รักมีอาการเหล่านี้ จะต้องทำความเข้าใจก่อนว่าเป็นปัญหาจากโรคสมาธิสั้น บางครั้งโรคสมาธิสั้นอาจทำให้มีอารมณ์โกรธ สับสน จนส่งผลต่อความสัมพันธ์ ดังนั้น ควรต้องให้เวลาอีกฝ่ายจัดการกับอารมณ์ของตนเอง และพยายามเข้าใจว่าปัญหาอาจเกิดจากโรคสมาธิสั้น ที่สำคัญต้องคอยสื่อสารพูดคุยกับเขา ด้วยคำพูดดี ๆ

    จัดการปัญหาเรื่องเซ็กส์ได้ง่าย ๆ แม้จะเป็นโรคสมาธิสั้น

    สื่อสารกับคู่รักให้เข้าใจ

    การสื่อสารถือเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการอยู่ร่วมกัน การได้พูดคุยเกี่ยวกับปัญหาทางเพศที่เกิดขึ้นอาจช่วยให้เข้าใจกันมากขึ้น และอาจช่วยกันแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้ อย่างไรก็ตามต้องมีการพูดคุยกันอย่างเปิดเผย การได้พูดคุยกันอาจทำให้รู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น ลดความเครียดที่มีได้ด้วย

    หลีกเลี่ยงสิ่งที่กระตุ้นความรู้สึก

    ผู้ที่มีปัญหาสมาธิสั้นอาจมีความไวต่อสิ่งเร้าต่างๆ เช่น กลิ่นน้ำหอม น้ำมัน แสง สี และเสียง เมื่อมีตัวกระตุ้นเหล่านี้อาจทำให้พวกเขาเสียสมาธิได้ง่าย ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงตัวกระตุ้นเหล่านี้ที่ทำให้เขาเสียสมาธิ และสร้างบรรยากาศการมีเพศสัมพันธ์ที่เหมาะสมกับคู่ของตนเอง

    เปลี่ยนรูปแบบ

    หลายๆ คนเมื่อเจอปัญหาก็อาจจะเบื่อหน่ายกับเรื่องเซ็กส์ แต่การได้ลองเปลี่ยนแปลงอะไรใหม่ๆ เช่น การใช้ท่าทางในการมีเซ็กส์ใหม่ ๆ ใช้อุปกรณ์ช่วยในการมีเซ็กส์ อาจทำให้สนุกกับการมีเซ็กส์มากขึ้น ที่สำคัญก่อนที่จะเปลี่ยนแปลงหรือทำอะไร ควรปรึกษากับอีกฝ่ายก่อนว่าชอบแบบไหน ต้องการแบบไหน

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    เนตรนภา ปะวะคัง


    เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 05/04/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา