ปัญหาสุขภาพช่องปากแบบอื่น

นอกจากฟันผุ ปวดฟัน หรือฟันคุด ยังมี ปัญหาสุขภาพช่องปากแบบอื่น ที่คุณอาจจะยังไม่รู้ ดังนั้น เราจึงรวบรวมเรื่องราวเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพช่องปากแบบอื่น มาให้ทุกคนได้ศึกษากัน

เรื่องเด่นประจำหมวด

ปัญหาสุขภาพช่องปากแบบอื่น

ร้อนในเกิดจาก สาเหตุอะไร รักษาได้อย่างไร

ร้อนใน เป็นแผลในช่องปากบริเวณริมฝีปากด้านใน เหงือก ลิ้น หรือกระพุ้งแก้ม มักทำให้รู้สึกเจ็บ รวมทั้งอาจทำให้กลืนอาหารยากหรือพูดได้ลำบาก หากถามว่า ร้อนในเกิดจาก อะไร? คำตอบคือ ร้อนในเกิดได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นการแปรงฟันแรงเกินไป การเผลอกัดปากหรือลิ้นของตนเอง การขาดสารอาหาร การรับประทานอาหารที่เป็นกรด หรือการติดเชื้อแบคทีเรีย [embed-health-tool-bmi] ร้อนในคืออะไร ร้อนใน เป็นแผลในปากที่มักเกิดขึ้นบริเวณริมฝีปากทั้งด้านนอกและผนังด้านใน เหงือก ลิ้น หรือกระพุ้งแก้ม เมื่อเป็นแผลร้อนในมักทำให้รับประทานอาหารได้ไม่สะดวกหรือพูดคุยได้ลำบาก ร้อนใน สามารถแบ่งเป็นชนิดย่อย ๆ ได้ ดังนี้ ร้อนในขนาดเล็ก เป็นร้อนในชนิดที่พบได้บ่อยที่สุด มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2-3 มิลลิเมตร ขอบเป็นรูปวงกลม และอาจหายเองได้ภายใน 1-2 สัปดาห์ ร้อนในขนาดใหญ่ เป็นร้อนในที่มักพบในผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันไม่แข็งแรง เนื่องจากการติดเชื้อเอชไอวีหรือการทำเคมีบำบัด ร้อนในขนาดใหญ่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางราว 1-3 เซนติเมตร ขอบไม่เป็นวงกลม และอาจหายได้เองภายใน 3-6 สัปดาห์ แผลเปื่อยเฮอร์เพติฟอร์ม (Herpetiform Ulcer) เป็นร้อนในชนิดที่พบได้น้อยที่สุด โดยเป็นแผลขนาดเล็กจำนวนมากที่รวมกันเป็นแผลใหญ่แผลเดียว ลักษณะคล้ายกับอาการของโรคเริมแต่ไม่มีความเกี่ยวข้องกัน โดยทั่วไป ร้อนในชนิดนี้มักหายไปเองภายใน 1 สัปดาห์ถึง […]

สำรวจ ปัญหาสุขภาพช่องปากแบบอื่น

ปัญหาสุขภาพช่องปากแบบอื่น

เป็นโรคกรดไหลย้อน จะดูแลสุขภาพฟันอย่างไร ให้ห่างไกลจาก ฟันสึกกร่อน

โรคกรดไหลย้อน เป็นหนึ่งในปัญหาสำคัญที่คนวัยทำงานหลายคนมักจะพบเจอ โรคนี้สามารถส่งผลให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพมากมาย ไม่ว่าจะเป็น อาการแสบร้อนกลางอก ท้องอืด คลื่นไส้ และเจ็บคอ แต่อีกหนึ่งปัญหาที่หลายคนอาจจะมองข้ามคือ ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพฟัน วันนี้ Hello คุณหมอ จะมาช่วยไขคำตอบว่า กรดไหลย้อนกับสุขภาพฟัน เกี่ยวข้องกันอย่างไร และเราจะมีวิธีใดที่จะแก้ปัญหาเหล่านี้ได้บ้าง กรดไหลย้อนกับสุขภาพฟัน สัมพันธ์กันอย่างไร กระเพาะอาหารของเราจะผลิตกรดขึ้นมาตามธรรมชาติ เพื่อช่วยในการย่อยอาหารที่เรารับประทานเข้าไป แต่ในบางครั้ง หากเรารับประทานอาหารในปริมาณมาก หรือนอนทันทีหลังจากรับประทานอาหาร อาจทำให้กรดในกระเพาะอาหารนั้น ไหลย้อนกลับขึ้นไปผ่านทางหลอดอาหาร จนทำให้เราเกิดอาการแสบร้อนกลางอก เจ็บคอ ท้องอืด เรอเหม็นเปรี้ยว และมีคลื่นไส้ เนื่องจากน้ำย่อยกัดทำลายหลอดอาหาร และหากปล่อยทิ้งไว้เรื้อรัง ก็จะกลายเป็นโรคกรดไหลย้อนในที่สุด ตามปกติแล้ว น้ำลายภายในปากของเรา สามารถช่วยรักษาระดับความสมดุลของกรดภายในช่องปากได้ ทำให้ความเป็นกรดนี้ไม่สามารถทำอันตรายใดๆ ต่อสุขภาพฟันของเรา แต่หากเราเป็นโรคกรดไหลย้อน อาจทำให้ปริมาณของกรดที่ไหลย้อนกลับมาทางหลอดอาหารนั้นมีมากเกินไป โดยเฉพาะในช่วงเวลานอนที่ร่างกายของเราจะผลิตน้ำลายน้อยลง ทำให้ไม่สามารถปรับสมดุลของความเป็นกรดภายในช่องปากได้ และทำให้กรดนั้นทำร้ายฟันในที่สุด กรดไหลย้อน ทำให้ฟันสึกกร่อนได้จริงเหรอ อาการฟันสึกกร่อนนั้นแตกต่างจากอาการฟันผุ เนื่องจากไม่ได้มีสาเหตุมาจากการทำลายฟันของเชื้อแบคทีเรีย แต่มีสาเหตุมาจากสารเคมีที่เป็นกรด ที่บ่อนทำลายชั้นเคลือบฟัน และส่งผลให้ฟันเกิดการสึกกร่อนได้ เมื่อกรดในกระเพาะที่ไหลย้อนกลับขึ้นไปทางหลอดอาหารไปสัมผัสกับฟัน ก็จะทำการกัดกร่อนชั้นเคลือบฟันและทำให้เกิดปัญหาฟันสึกกร่อนได้ แม้ว่าน้ำลายที่อยู่ภายในปากจะช่วยเคลือบป้องกันฟัน และปรับสมดุลความเป็นกรดภายในปากได้ ทำให้กรดเหล่านี้ไม่สามารถทำลายชั้นเคลือบฟันได้ แต่ผู้ที่เป็นโรคกรดไหลย้อนนั้นมักจะมีปัญหาปากแห้ง ผลิตน้ำลายไม่เพียงพอ จึงทำให้ฟันขาดเกราะชั้นนอกที่จะช่วยป้องกันไม่ให้กรดมาสัมผัสกับฟันโดยตรง ระดับความรุนแรงของอาการฟันสึกกร่อนที่เกิดจากโรคกรดไหลย้อนนั้นจะขึ้นอยู่กับ ระยะเวลาการเกิดโรคกรดไหลย้อน ความถี่ในการเกิดอาการ […]


ปัญหาสุขภาพช่องปากแบบอื่น

โรคบูลิเมีย ทำลายสุขภาพฟัน มากกว่าที่คุณคิด

โรคบูลิเมีย (Bulimia) หรือโรคล้วงคอ เป็นความผิดปกในการรับประทานอาหาร ซึ่งเกิดจากการที่รับประทานอาหารเข้าไปเป็นปริมาณที่มาก และพยายามที่จะกำจัดอาหารที่รับประทานเหล่านั้นออกไป เช่น การล้วงคออาเจียน การใช้ยาระบาย หรือการพยายามออกกำลังกายมากๆ เพื่อพยายามให้แคลอรี่ที่ได้รับออกไปได้มากที่สุด ซึ่งการทำเช่นนี้ สามารถส่งผลเสียต่อหัวใจ ไต และอวัยวะอื่นๆ ในร่างกายได้ นอกจากนี้ โรคบูลิเมีย ทำลายสุขภาพฟัน เป็นอย่างมากอีกด้วย วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับอาการนี้มาฝากกันค่ะ โรคบูลิเมีย ทำลายสุขภาพฟัน อย่างไรบ้าง การอาเจียนบ่อยๆ นั้นส่งผลเสียอย่างรุนแรงต่อสุขภาพฟัน การอาเจียนนั้นมีฤทธิ์เป็นกรด เพราะการอาเจียนนั้นจะมีน้ำย่อยในกระเพาะอาหารออกมาด้วย โดยปกติแล้วน้ำย่อยเหล่านี้จะมีหน้าที่ในการย่อยอาหารในกระเพาะอาหาร เมื่อน้ำย่อยเหล่านี้สัมผัสกับฟันบ่อยๆ ก็สามารถทำลายสุขภาพฟันได้อีกมากมาย ดังนี้ ฟันผุ การที่อาเจียนบ่อยๆ นั้น ทำให้กรดจากน้ำย่อยนั้นทำลายสารเคลือบฟัน ซึ่งเมื่อสารเคลือบฟันเหล่านั้นถูกทำลายฟันก็จะเป็นโพรง ยิ่งหากเรามีการรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลเป็นจำนวนมากก็จะยิ่งทำให้ฟันผุ ซึ่งอาการฟันผุสามารถสังเกตได้ง่ายๆ จากการแปรงฟัน หากมีเลือดออกที่เหงือกหลังจากแปรงฟันคุณอาจกำลังมีฟันผุอยู่ ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้อาจทำให้เป็นหนองและเน่าได้ ฟันเหลืองและเปราะบาง หลังจากที่ฟันผุ ฟันกร่อนจากการที่โดนกรดเหล่านั้นทำลายมากๆ จนทำให้ฟันเหลือง คือการที่ฟันเปลี่ยนไปเป็นสีเหลือง และสุขภาพฟันก็จะแย่ลง ฟันจะอ่อนแอและมีความเปราะบางมากกว่าปกติ บางครั้งฟันอาจเปราะบางจนสามารถเปลี่ยนรูปได้เลยทีเดียว ต่อมน้ำลายบวม กรดที่ออกมาพร้อมกับการอาเจียนนั้น สามารถทำให้ต่อมน้ำลายบริเวณแก้มทั้งสองข้างเกิดความระคายเคืองได้ ซึ่งต่อมน้ำลายทำหน้าที่ในการผลิตน้ำลาย ซึ่งมีส่วนช่วยในการป้องกันฟันผุ หากต่อมน้ำลายบวม บริเวณกรามก็จะมีอาการบวม เป็นแผลในปาก กรดจากการอาเจียนนอกจากทำลายผิวเคลือบฟันแล้ว ยังไปทำลายผิวหนังบริเวณกระพุ้งแก้ม เพดาน และลำคอ ซึ่งอาจทำให้เกิดการระคายเคืองและเกิดแผลขึ้นมาได้ บางครั้งอาจมีอาการบวมร่วมด้วย […]


ปัญหาสุขภาพช่องปากแบบอื่น

น้ำลาย ผู้ช่วยสำคัญ ในการป้องกันฟันผุ

น้ำลายนั้นเป็นส่วนประกอบหนึ่งภายในช่องปาก ที่ช่วยทำให้ปากเกิดความชุ่มชื้น และช่วยย่อยอาหาร หลายคนอาจจะไม่ชอบน้ำลาย เพราะคิดว่าเป็นสิ่งที่สกปรก และเต็มไปด้วยเชื้อโรค แต่จริงๆ แล้ว น้ำลาย นั้นมีประโยชน์ต่อร่างกาย โดยเฉพาะสุขภาพช่องปาก มากกว่าที่เราคิด น้ำลาย คืออะไร น้ำลาย (Saliva) หมายถึงของเหลวใสๆ ที่ผลิตขึ้นจากต่อมน้ำลายภายในช่องปาก โดยน้ำลายนั้นจะมีอยู่ 2 ประเภท คือน้ำลายที่มีลักษณะเหนียว และน้ำลายที่มีลักษณะใส ส่วนประกอบของน้ำลายมนุษย์ ได้แก่ น้ำ มากกว่า 99.5 เปอร์เซ็นต์ และส่วนประกอบย่อยที่เหลือคือ เยื่อบุผิว อิเล็กโทรไลท์ (Electrolytes) ต่างๆ เช่น โซเดียม โพแทสเซียม และฟอสเฟส แป้ง โปรตีนชนิดต่างๆ สารต้านเชื้อแบคทีเรีย และเอนไซม์ที่ช่วยย่อยอาหารจำพวกแป้งและไขมัน นอกจากนี้ น้ำลายยังมีส่วนประกอบของน้ำเหลืองที่มาจากเหงือกอีกด้วย โดยเฉลี่ยแล้ว ตามปกติร่างกายของเราจะหลั่งน้ำลายในปริมาณ 0.75 – 1.5 สิตรต่อวัน และจะมีการหลั่งน้ำลายน้อยลงในช่วงระหว่างที่เรากำลังนอนหลับ ดังนั้นจึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เรามักจะมีกลิ่นปากในตอนเช้า เนื่องจากการขาดสารฆ่าเชื้อแบคทีเรียภายในน้ำลาย ทำให้เกิดการสะสมของเชื้อแบคทีเรียภายในช่องปาก น้ำลายทำหน้าที่อะไรบ้าง ทำให้ช่องปากชุ่มชื้น น้ำลายจะช่วยสร้างความชุ่มชื้นให้แก่ช่องปาก เช่นป้องกันไม่ให้ปากแห้ง และป้องกันไม่ให้เนื้อเยื่อภายในช่องปาก เช่น กระพุ้งแก้ม […]


ปัญหาสุขภาพช่องปากแบบอื่น

สายดื่มควรรู้ แอลกอฮอล์ส่งผลต่อสุขภาพช่องปาก อย่างไรบ้าง

การดื่มสุรานั้น เป็นเหตุที่ก่อให้เกิดการสูญเสียมากมาย ทั้งเสียสุขภาพ และอาจรุนแรงไปถึงขั้นเสียชีวิตได้ เนื่องจากขณะที่มึนเมานั้นร่างกายขาดทั้งสติและสัมปชัญญะในการควบคุมตนเอง ยิ่งไปกว่านั้น อีกหนึ่งข้อเสียคือ แอลกอฮอล์ส่งผลต่อสุขภาพช่องปาก ทำให้สุขภาพฟันและเหงือกมีปัญหา ส่วนแอลกอฮอล์จะส่งผลเสียต่อช่องปากของเราอย่างไรนั้น มาหาคำตอบกันได้ที่บทความนี้เลยค่ะ แอลกอฮอล์กับร่างกาย การดื่มแอลกอฮอล์ หรือของมึนเมาชนิดต่าง ๆ นั้น แทบไม่ปรากฏว่าเป็นการดื่มเพื่อสุขภาพ หรือทำให้ผู้ที่ดื่มมีสุขภาพดีและแข็งแรง แต่กลับส่งผลเสียต่อสุขภาพมากกว่า ทั้งในระยะสั้น และระยะยาว คนที่ดื่มแอลกอฮอล์ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ๆ อาจเสี่ยงต่อการเป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง โรคตับ โรคหัวใจ มีผลต่อสมอง ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เป็นต้น นอกจากนี้ การดื่มแอลกอฮอล์อย่างหนัก ยังอาจเสี่ยงต่อการเสียชีวิตหากมีการเมาแล้วขับ เพราะอาจมีอาการหลับใน เมาจนควบคุมสติไม่อยู่ นำไปสู่การประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ ทำให้พิการหรือเสียชีวิตได้ในที่สุด แอลกอฮอล์ส่งผลต่อสุขภาพช่องปาก อย่างไรบ้าง นอกจากจะมีผลต่อสุขภาพอื่น ๆ แล้ว รู้หรือไม่ว่า การดื่มแอลกอฮอล์มีผลต่อสุขภาพของช่องปากด้วยเช่นกัน ทันตแพทย์หลายคนกล่าวว่า โดยมากแล้วผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำมักจะมีคราบหินปูนสูง ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาในช่องปากตามมาในภายหลังได้ อย่างไรก็ตาม คำกล่าวนี้ยังไม่ได้มีการยืนยันอย่างเป็นทางการ เป็นเพียงการพบเห็นสถานการณ์เช่นนี้บ่อยครั้งเท่านั้น นอกจากเรื่องความเสี่ยงของการเกิดคราบหินปูนแล้ว ยังมีความเสี่ยงอื่น ๆ ดังต่อไปนี้ การปนเปื้อน สีของแอลกอฮอล์นั้น โดยมากมาจากสีที่มีการสังเคราะห์ หรือสารให้สีที่เรียกว่า โครโมเจน (Chromogens) เมื่อดื่มแอลกอฮอล์เป็นระยะเวลานาน ๆ […]


ปัญหาสุขภาพช่องปากแบบอื่น

ลิ้นส้ม แบบนี้ เป็นสัญญาณอันตรายของสุขภาพหรือเปล่า

ปกติแล้วลิ้นของคนเรานั้นมีสีชมพู จะเปลี่ยนไปบ้างบางครั้งเวลาที่รับประทานอาหารที่มีสี เช่น ลูกอมบางยี่ห้อ หรือเครื่องดื่มที่มีสีต่าง ๆ ที่เป็นสีสังเคราะห์ แต่ถ้าลิ้นของคุณเปลี่ยนสีโดยที่ไม่ได้มาจากการรับประทานของเหล่านี้ หรือถ้าคุณมีอาการ ลิ้นส้ม จะเป็นสัญญาณว่าร่างกายของคุณกำลังเผชิญกับโรคร้ายอยู่หรือไม่ มาหาคำตอบพร้อมกันกับ Hello คุณหมอ  สาเหตุของการเกิดลิ้นส้ม สาเหตุของอาการลิ้นส้มนั้นเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัยที่แตกต่างกัน ดังนี้ 1.ปัญหาสุขภาพช่องปาก โดยปกติแล้ว เซลล์ที่อยู่บนผิวลิ้นของคนเรานั้นจะมีการเจริญเติบโตและหลุดออกไปทุกครั้ง แต่เมื่อใดก็ตามที่เซลล์เหล่านั้นไม่หลุดออกไปจากลิ้น ก็จะสร้างตัวและอาศัยอยู่ในลิ้นของเรา เมื่อรับประทานอาหารเข้าไป อาหารก็จะไปติดกับเซลล์เหล่านี้ จนกระทั่งเกิดเป็นคราบสีขาวที่ลิ้น และในบางครั้งก็เปลี่ยนเป็นสีต่าง ๆ สาเหตุของปัญหาเหล่านี้ มาจากการดื่มชาหรือกาแฟ การสูบบุหรี่ หรือมีอาการปากแห้ง ควรหมั่นดูแลสุขภาพช่องปากให้สะอาด แปรงฟันและแปรงลิ้นอย่างสม่ำเสมอ ระวังไม่ให้มีฟันผุ หรือปัญหาสุขภาพปากอื่น ๆ และควรหาเวลาไปตรวจสุขภาพช่องปากกับผู้เชี่ยวชาญ 2.การเจริญเติบโตของแบคทีเรียและยีสต์ บริเวณผิวลิ้นของคนเรานั้น มีแบคทีเรียและยีสต์อาศัยอยู่ เมื่อแบคทีเรียและยีสต์เหล่านี้ก่อตัวมากขึ้นหรือเร็วจนเกินไป แบคทีเรียและยีสต์พวกนี้ก็จะเริ่มปล่อยสารออกมาทำให้ลิ้นของเราเปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือสีส้ม 3.เชื้อราในช่องปาก เชื้อราในช่องปากที่ว่านี้ คือเชื้อราที่มีอยู่ในช่องปากและในระบบทางเดินอาหาร รวมถึงช่องคลอด ชื่อว่า แคนดิดา อัลบิแคนส์ (Candida Albicans) ซึ่งเชื้อราเหล่านี้มักจะทำให้ลิ้นและกระพุ้งแก้มของเรามีคราบสีขาว และถ้าหากมีแผลหรือเลือดออกในปาก ลิ้นก็จะเปลี่ยนเป็นสีส้ม 4.ยาปฏิชีวนะ การใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อรักษาโรคและสภาวะอาการต่าง ๆ ก็เป็นผลที่ทำให้เกิดลิ้นส้มได้ด้วยเหมือนกัน เนื่องจากตัวยาบางชนิดเข้าไปรบกวนการทำงานของแบคทีเรียที่อยู่ในลิ้นและช่องปาก ทำให้ลิ้นเปลี่ยนเป็นสีส้ม 5.กรดไหลย้อน อาการลิ้นส้มไม่ได้ทำให้เป็นกรดไหลย้อน แต่การเป็นกรดไหลย้อนมีส่วนที่ทำให้ลิ้นเปลี่ยนสี ทั้งนี้อาการกรดไหลย้อนนั้นเกิดจากการที่กรดในช่องท้องมีการตีกลับขึ้นมาที่หลอดอาหาร โดยอาการนี้จะเกิดขึ้นเมื่อกล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหารส่วนล่างมีการหย่อน หรือคลาย ทำให้กรดในกระเพาะอาหารสามารถวกกลับขึ้นมายังหลอดอาหารได้อีก […]


ปัญหาสุขภาพช่องปากแบบอื่น

นอนกัดฟัน เกิดจากอะไร และส่งผลต่อสุขภาพช่องปากได้อย่างไรบ้าง

การนอนกัดฟัน (Bruxism) มักเป็นอาการที่เกี่ยวข้องกับความเครียดหรือความกังวล และโดยปกติจะไม่ถือเป็นปัญหาสุขภาพร้ายแรง แต่สำหรับบางคน นอนกัดฟัน อาจทำให้มีอาการปวดบริเวณใบหน้าและปวดหัว นอนกัดฟันเกิดจากสาเหตุใด ส่งผลต่อสุขภาพช่องปากอย่างไรบ้าง และเมื่อไหร่ที่ต้องไปพบคุณหมอ นอนกัดฟัน คืออะไร นอนกัดฟัน (Teeth grinding or Bruxism) มักจะเกิดขึ้นขณะหลับ หรือขณะที่กำลังใช้ความคิด รวมถึงช่วงที่กำลังเครียด โดยผู้ที่นอนกัดฟันมักจะไม่รู้ตัวว่ากำลังกัดฟันอยู่ และโดยปกติแล้วไม่เป็นอันตราย แต่ถ้าเกิดขึ้นทุกวัน เป็นเวลานาน อาจทำให้ฟันเสียหายได้ และจะมีปัญหาสุขภาพช่องปากอื่นๆ ตามมา เกิดจากสาเหตุใด สาเหตุของอาการนอนกัดฟันยังไม่ชัดเจน แต่มักจะเชื่อมโยงกับปัจจัยอื่นๆ เช่น ความเครียด ความกังวล และปัญหาการนอนหลับ ความเครียดและความกังวล นอนกัดฟันมักจะเกิดจากความเครียดหรือความกังวล และหลายคนไม่รู้ตัวว่ากำลังเครียดอยู่ ซึ่งอาการนอนกัดฟันจะเกิดขึ้นในช่วงที่นอนหลับ ยาบางชนิด นอนกัดฟันอาจเป็นผลข้างเคียงจากการกินยาบางชนิด เช่น ยารักษาอาการซึมเศร้า (Antidepressants) โดยเฉพาะยากลุ่ม selective serotonin reuptake inhibitors (SSRIs) การนอนหลับผิดปกติ ถ้าคุณนอนกรน หรือมีการนอนหลับที่ผิดปกติ เช่น ภาวะหยุดหายใจขณะหลับชนิดอุดกั้น (Obstructive sleep apnea) ก็มีแนวโน้มที่จะนอนกัดฟันขณะหลับ เนื่องจากภาวะหยุดหายใจขณะหลับชนิดอุดกั้น อาจรบกวนการหายใจในช่วงขณะหลับ นอกจากนี้คุณมีแนวโน้มที่จะนอนกัดฟัน ในกรณีดังนี้ พูด หรือพึมพำขณะหลับ แสดงพฤติกรรมรุนแรงขณะหลัง เช่น เตะหรือต่อย มีอาการ […]


ปัญหาสุขภาพช่องปากแบบอื่น

เคล็ดลับการกินอาหารสำหรับผู้ที่มี อาการผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร

หากคุณมี อาการผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร (Temporomandibular Joint) ซึ่งเป็นอาการที่อาจส่งผลกระทบต่อขากรรไกรและปาก จนทำให้เกิดอาการต่าง ๆ เช่น การกัดฟัน ปวดกราม ปวดศีรษะ การเปิดหรือปิดปากได้ไม่ถนัด เกิดเสียงดังขณะเคี้ยวหรือเสียงก้องในหู หากคุณมีความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร สิ่งที่ต้องระวังระวังเป็นอย่างมากก็คือ อาหารที่รับประทาน การรับประทานอาหารนิ่ม ๆ หรือการหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ จะช่วยลดแรงกดบนข้อต่อ ซึ่งทำหน้าที่ในการเปิด-ปิดขากรรไกร อีกทั้งยังช่วยให้ข้อต่อได้ฟื้นฟู วันนี้ Hello คุณหมอ มีอาหารที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่มีอาการผิดปกติของข้อต่อขากรรไกรมาฝากกันค่ะ ว่าแต่อาหารที่ควรรับประทาน และควรหลีกเลี่ยง เพื่อลดอาการผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร จะมีอะไรบ้าง เราไปดูกันเลย อาหารสำหรับผู้ที่มี อาการผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร อาหารที่มีลักษณะนิ่มเหล่านี้ อาจช่วยให้คุณไม่ต้องเปิดปากกว้าง เพื่อลงแรงกดบนข้อต่อทุก ๆ ครั้งที่คุณรับประทาน ชีสชนิดที่มีลักษณะนิ่มต่าง ๆ โยเกิร์ตธรรมชาติ ผักนึ่ง น้ำผลไม้คั้นสด หรือน้ำผลไม้ปั่น ผลไม้นิ่ม เช่น เบอร์รี กล้วย สตรอเบอร์รี เชอร์รี เรดเคอร์แรนท์ ถั่ว ซุป ไข่คน มันบด อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงในผู้ป่วยที่มี อาการผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร อาหารที่ผู้ป่วยที่มีอาการผิดปกติของข้อต่อขากรรไกรต้องหลีกเลื่ยงคือ อาหารที่ต้องมีการบดเคี้ยวนาน ๆ หรืออาหารที่จะเพิ่มแรงกดให้กับข้อต่อ เช่น ขนมปังแข็งกรอบ ซีเรียลกรอบ เนื้อเหนียว เช่น สเต็ก อาหารที่มีความเหนียวหรือหนืด เช่น แอปเปิ้ลเคลือบคาราเมล หมากฝรั่ง อาหารกรอบและแข็ง เช่น […]


ปัญหาสุขภาพช่องปากแบบอื่น

ปวดในช่องปาก..อาจเป็นสัญญาณบอกเหตุของ ความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร

ความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร (Temporomandibular Joint หรือ TMJ) เกิดขึ้นบริเวณขากรรไกรและกล้ามเนื้อใบหน้า ที่ควบคุมขากรรไกร เพื่อทำความรู้จักกับอาการผิดปกตินี้ ลองอ่านข้อมูลที่นำเสนอต่อไปนี้ [embed-health-tool-bmr] สาเหตุของความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร นักวิทยาศาสตร์ยังไม่แน่ใจถึงสาเหตุของความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร ข้อสันนิษฐานที่ดีที่สุดก็คือ อาการอาจเกิดขึ้นจากขากรรไกรและกล้ามเนื้อโดยรอบ อาการบาดเจ็บที่ขากรรไกรและบริเวณที่เกี่ยวข้อง อาจเป็นสาเหตุของความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกรได้เช่นกัน สาเหตุอื่นๆ ยังมีปัญหาข้ออักเสบ การกัดฟัน ความเครียด และการเลื่อนของกระดูกบริเวณข้อต่อ หรือหมอนรองกระดูก เราจะรู้ได้อย่างไรว่ามีความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร หากคุณมีความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร คุณอาจรู้สึกปวดและไม่สบายในช่องปาก บางรายอาจมีอาการปวดเรื้อรัง ขณะที่บางรายอาการอาจเกิดเพียงชั่วคราว ความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกรมาพร้อมกับอาการปวดบริเวณใบหน้า และขากรรไกร รวมถึงคอและไหล่ อาจลามไปถึงหูเมื่อคุณเคี้ยว พูด หรือเปิดปากกว้าง คุณอาจรู้สึกเหมือนขากรรไกรล็อค และอาจเกิดเสียงแปลกๆ ขณะที่ขากรรไกรเคลื่อนไหว คุณอาจพบปัญหาทางการเคี้ยวหรือกัด นอกจากนี้ แก้มอาจบวมข้างเดียว อาการอื่นๆ ได้แก่ ปวดฟัน ปวดศีรษะ มึนศีรษะ ปวดคอ ปวดหู ปัญหาทางการได้ยิน ปวดไหล่ช่วงบนและมีเสียงอื้อในหู (tinnitus) วิธีการปฏิบัติเมื่อเกิดความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร -พักการใช้ขากรรไกร ทานอาหารนิ่มๆ เช่น โยเกิร์ต มันบด ชีส และซุป หั่นอาหารให้เป็นชิ้นเล็กๆ เพื่อที่คุณจะได้ไม่ต้องเคี้ยวมาก หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารแข็ง กรอบ […]


ปัญหาสุขภาพช่องปากแบบอื่น

สารพัด ปัญหาสุขภาพช่องปาก ที่มาจากการสูบบุหรี่

เป็นที่ทราบกันดีว่า การสูบบุหรี่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และการสูบบุหรี่ยังส่งผลต่อให้เกิด ปัญหาสุขภาพช่องปาก เป็นอย่างมาก การสูบบุหรี่เป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดโรคเกี่ยวกับฟันและก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพเหงือกได้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลเกี่ยวกับ ปัญหาสุขภาพช่องปากจากการสูบบุหรี่ ที่ไม่ควรพลาดมาฝากทุกท่านค่ะ ปัญหาสุขภาพช่องปาก ที่เกิดจากการสูบบุหรี่ กลิ่นปาก คราบที่ฟัน และฟันเปลี่ยนสี โรคและการอักเสบที่ต่อมน้ำลาย การสะสมของคราบหินปูน กระดูกขากรรไกรเสื่อม หรือใช้การไม่ได้ ความเสี่ยงของการเกิดฝ้าขาวในปาก ความเสี่ยงของการเป็นโรคเหงือก และสูญเสียฟันเพิ่มขึ้น ความเร็วในการเยียวยาตนเองลดลง ลดอัตราความสำเร็จในการทำรากฟันเทียม ความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งปากเพิ่มขึ้น การสูบบุหรี่กับโรคเหงือก บุหรี่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่า เป็นตัวการทำให้กระดูกและเนื้อเยื่อที่เชื่อมกับฟันหลวม และขัดขวางการทำงานของเนื้อเยื่อเหงือก ทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย เมื่อเนื้อเยื่อเหงือกถูกทำลาย ประสิทธิภาพในการไหลเวียนของเลือดสู่เหงือกก็จะลดน้อยลง ทำให้การฟื้นฟูใช้เวลานานขึ้น ไปป์และซิการ์อันตรายหรือไม่ ไปป์และซิการ์ มีอันตรายไม่น้อยไปกว่าบุหรี่ การศึกษาเผยว่า ผู้ที่สูบซิการ์สูญเสียฟันและกระดูกเบ้าฟัน มากเท่ากับผู้ที่สูบบุหรี่ แม้ว่าการสูบไปป์และซิการ์ จะไม่ได้สูดเอาควันเข้าไป แต่ยังคงสร้างความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพช่องปากอยู่เช่นเดิม เช่น กลิ่นปาก และฟันเปลี่ยนสี ยาสูบไร้ควันปลอดภัยหรือไม่ ยาสูบชนิดต่างๆ เช่น ยานัตถุ์ และยาเส้นชนิดเคี้ยว มีสารก่อมะเร็งทั้งมะเร็งในช่องปาก มะเร็งลำคอ และมะเร็งหลอดอาหาร สูงถึง 28 ชนิด ยาเส้นชนิดเคี้ยวมีปริมาณนิโคตินสูงกว่าในบุหรี่ และทำให้เกิดอาการเสพติดได้มากกว่า อีกทั้งยังมีการวิจัยพบว่ายานัตถุ์ 1 กล่อง มีปริมาณนิโคตินมากกว่าบุหรี่ 60 มวน ยาสูบชนิดที่ไม่ต้องสูบ (ชนิดเคี้ยว หรือแปะที่เหงือก) หรือยาสูบไร้ควัน อาจทำให้เกิดการระคายเคืองที่เหงือก และเหงือกร่น ซึ่งทำให้เกิดช่องว่างลงไปสู่รากฟัน […]


ปัญหาสุขภาพช่องปากแบบอื่น

แผลร้อนใน (Canker Sores)

แผลร้อนใน คือแผลที่เกิดภายในปาก มีสีขาว เหลืองหรือแดงโดยรอบ เกิดขึ้นที่บริเวณเนื้อเยื่ออ่อนภายในปาก หรือที่ฐานของเหงือก ไม่เกิดที่ริมฝีปาก และไม่เป็นโรคติดต่อ คำจำกัดความแผลร้อนใน คืออะไร แผลร้อนใน (Canker Sores) คืออาการที่เกิดแผลภายในปาก หรือรอยแผลที่มีขนาดเล็ก มีสีขาว เหลือง หรือแดงโดยรอบ เกิดขึ้นที่บริเวณเนื้อเยื่ออ่อนภายในปาก หรือที่ฐานของเหงือก แผลร้อนในนี้จะไม่เกิดที่บริเวณพื้นผิวของริมฝีปาก และไม่เป็นโรคติดต่อ แตกต่างจากโรคเริม (cold sores) แผลร้อนในพบได้บ่อยได้แค่ไหน แผลร้อนในนั้นพบได้บ่อยมาก สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกช่วงอายุ โรคนี้สามารถจัดการได้ด้วยการลดปัจจัยเสี่ยง โปรดสอบถามแพทย์สำหรับข้อมูเพิ่มเติม อาการอาการของแผลร้อนในเป็นอย่างไร อาการทั่วไปมีดังนี้ มีแผลขนาดเล็กรูปวงรี สีขาวหรือสีเหลือง มีบริเวณแดงๆ ที่ปวดภายในปาก รู้สึกเป็นเหน็บภายในปาก สำหรับผู้ป่วยบางราย อาจมีอาการอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น หากมีข้อสงสัยใดๆ โปรดปรึกษาแพทย์ ควรไปพบหมอเมื่อไร คุณควรติดต่อแพทย์หากมีอาการดังต่อไปนี้ มีแผลขนาดใหญ่ มีการแพร่กระจายของแผล เจ็บปวดอย่างรุนแรง เป็นไข้สูง ท้องร่วง ผดผื่น ปวดหัว สาเหตุสาเหตุของแผลร้อนใน มีการบาดเจ็บเล็กน้อยในปาก เช่น การแปรงฟันที่รุนแรง อุบัติเหตุระหว่างเล่นกีฬา การเผลอกัด ปฏิกิริยาไวต่ออาหาร โดยเฉพาะต่อช็อกโกแลต กาแฟ สตรอว์เบอร์รี ไข่ ถั่ว ชีส และอาการเผ็ดหรือมีฤทธิ์เป็นกรด มีภาวะขาดวิตามินบี12 ขาดธาตุสังกะสี ธาตุโฟเลต (กรดโฟลิค) หรือธาตุเหล็ก อาการตอบสนองต่ออาการแพ้แบคทีเรียบางชนิดในปาก เชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร (Helicobacter pylori) ซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรียตัวเดียวกันกับที่ทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร ฮอร์โมนเปลี่ยนแปลงในช่วงการมีประจำเดือน ความเครียด ปัจจัยเสี่ยงปัจจัยเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดแผลร้อนใน ปัจจัยเสี่ยงของ แผลร้อนใน ปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นแผลร้อนใน มีดังนี้ ปัจจัยเสี่ยงของแผลร้อนในมีดังต่อไปนี้ ประวัติทางการแพทย์ภายในครอบครัว อยู่ในวัยรุ่นและวัยหนุ่มสาว เป็นเพศหญิง การวินิจฉัยและการรักษาโรคข้อมูลที่นำเสนอไม่สามารถใช้แทนข้อแนะนำทางการแพทย์ได้ โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม การวินิจฉัยโรคแผลร้อนใน แพทย์หรือทันตแพทย์จะทำการระบุโดยการตรวจด้วยการมองภายนอก เนื่องจากไม่จำเป็นต้องใช้การทดสอบในการวินิจฉัยโรคแผลร้อนใน ในกรณีที่รุนแรงอาจต้องมีการตรวจบางอย่าง เช่น […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน