ปัญหาตาแบบอื่น

นอกจากการเป็นต้อหิน ต้อกระจกแล้ว ยังมี ปัญหาตาแบบอื่น ที่คุณจะได้ศึกษาถึงสาเหตุ รวมถึงวิธีการป้องกันดวงตาให้กับตัวเอง รวมถึงคนในครอบครัว ซึ่งคุณสามารถอ่านข้อมูลทั้งหมดได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

ปัญหาตาแบบอื่น

เปลือกตาอักเสบ (Blepharitis)

ปัญหาของสุขภาพตาที่คนส่วนใหญ่มักเผชิญไม่ได้มีเพียงแค่ ต้อหิน ต้อกระจก สายตาสั้น สายตายาว เสมอไป ยังมีภาวะอื่นที่อาจส่งผลกระทบต่อการมองเห็น อย่าง เปลือกตาอักเสบ ด้วยเช่นกัน แต่จะภาวะนี้เกิดจากสาเหตุ หรือปัจจัยใดบ้างนั้น ติดตามได้ในบทความของ Hello คุณหมอ ที่นำมาฝากทุกคนกันได้เลยค่ะ [embed-health-tool-bmr] คำจำกัดความ เปลือกตาอักเสบ คืออะไร เปลือกตาอักเสบ (Blepharitis) คืออาการอักเสบบริเวณรอยพับของผิวหนังที่ปกคลุมดวงตา หรือเรียกง่าย ๆ ว่า เปลือกตา เกิดจากการที่ต่อมน้ำมันโคนขนตาอุดตันเนื่องจากสิ่งสกปรก ส่งผลให้เกิดอาการระคายเคือง จนเปลือกตาอักเสบ และมีอาการบวม ภาวะนี้สามารถเกิดขึ้นกับเปลือกตาข้างใดก็ได้ และสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทหลัก คือ อาการอักเสบบริเวณเปลือกตาด้านนอก เป็นการอักเสบของเปลือกตาด้านนอกส่วนที่ใกล้กับขนตา อาการอักเสบบริเวณเปลือกตาด้านใน เป็นการอักเสบของเปลือกตาด้านในส่วนที่ใกล้กับดวงตามากที่สุด เปลือกตาอักเสบพบได้บ่อยแค่ไหน ภาวะเปลือกตาอักเสบ สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย เมื่อต่อมน้ำมันมีการอุดตัน ดังนั้นทางที่ดีที่สุด คุณสามารถเข้ารับการตรวจอย่างละเอียดจากจักษุแพทย์ได้ เพื่อขอคำแนะนำการรักษาได้อย่างเหมาะสม อาการ อาการของเปลือกตาอักเสบ สัญญาณเตือนของภาวะ เปลือกตาอักเสบ มักสังเกตได้ง่าย จากอาการต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ อาการคันบริเวณเปลือกตา เปลือกตาบวมแดง รู้สึกแสบร้อนภายในดวงตา ตาแดง น้ำตาไหลตลอดเวลา ดวงตาไวต่อแสง ขี้ตาเกรอะ ดวงตาพร่ามัว เปลือกตามันเยิ้ม ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด หากคุณรู้สึกมีอาการปวดที่ดวงตา […]

สำรวจ ปัญหาตาแบบอื่น

ปัญหาตาแบบอื่น

โรควาร์เดนเบิร์ก ภาวะพันธุกรรมหายาก ที่อาจทำให้สูญเสียการได้ยิน

โรควาร์เดนเบิร์ก ถือได้ว่าเป็นโรคทางพันธุกรรมอีกหนึ่งโรค ที่อาจเกิดขึ้นได้ตั้งแต่แรกเกิด จนถึงช่วงเยาว์วัย ซึ่งบุคคลรอบข้างสามารถสังเกตได้ง่าย แต่โรคนี้จะมีสัญญาณเตือนอย่างไรเผยออกมาให้คุณพบเห็นบ้างนั้น ติดตามได้ในบทความของ Hello คุณหมอ ที่นำมาฝากทุกคนกันค่ะ โรควาร์เดนเบิร์ก คืออะไร วาร์เดนเบิร์ก หรือ กลุ่มอาการวาร์เดนเบิร์ก (Waardenburg syndrome) ได้ถูกระบุสภาพของโรคเป็นครั้งแรกในช่วงปี พ.ศ. 2494 โดยเป็นการตั้งชื่อตามจักษุแพทย์ชาวดัตช์ท่านหนึ่งนามว่า DJ Waardenburg ที่ได้ทำการค้นพบลักษณะภาวะทางพันธุกรรมที่หายากนี้ อีกทั้งโรควาร์เดนเบิร์กยังสามารถแบ่งย่อยออกเป็น 4 ประเภท ด้วยกัน คือ ประเภทที่ 1 ผู้ที่ประสบกับโรควาร์เดนเบิร์กประเภทแรก มักมีดวงตาที่เบิกกว้าง หรือดวงตาเกิดการเปลี่ยนสีเป็นสีฟ้าซีด และอาจมีภาวะการสูญเสียการได้ยินร่วมด้วย ประเภทที่ 2 ผู้ป่วยที่ประสบกับโรควาร์เดนเบิร์กประเภทที่ 2 ค่อนข้างมีอาการคล้ายคลึงกับประเภทที่ 1 อย่างมาก แต่อาจมีข้อแตกต่างเล็กน้อยตรงที่ดวงตาของผู้ป่วยโรควาร์เบิร์กประเภทนี้จะไม่มีดวงตาที่เบิกกว้างจนเกินไป ประเภทที่ 3 อาจทำให้ผู้ป่วยมีการเคลื่อนไหวของข้อต่อ แขน และไหล่ที่อ่อนแรง พร้อมทั้งอาจมีความผิดปกติของทางด้านระบบประสาท หรือสติปัญญา แต่ถึงอย่างไรก็ยังคงมีอาการบางอย่างที่คล้ายกับประเภทที่ 1 และประเภทที่ 2 ร่วมด้วย เช่น สูญเสียการได้ยิน ดวงตาเปลี่ยนสี เป็นต้น ประเภทที่ 4 ประเภทที่ […]


ปัญหาตาแบบอื่น

นอนหลับตาปิดไม่สนิท เกิดจากอะไร อันตรายหรือเปล่า

คุณผู้อ่านเคยสังเกตตัวเอง หรือมีคนใกล้ตัวบอกบ้างหรือเปล่าว่า เวลาที่นอนหลับคุณผู้อ่านมี อาการนอนตาปิดไม่สนิท ซึ่งปัญหานี้ เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นได้กับหลาย ๆ คน แม้แต่คนใกล้ตัวของเราก็อาจจะประสบกับปัญหานี้อยู่ก็เป็นได้ แต่อาการนอนหลับตาปิดไม่สนิทเกิดจากอะไร และมีวิธีรับมือหรือไม่ Hello คุณหมอ มีข้อมูลที่น่าสนใจของอาการ นอนหลับตาปิดไม่สนิท มาฝากค่ะ [embed-health-tool-heart-rate] นอนหลับตาปิดไม่สนิท คืออะไร เมื่อพูดถึงอาการนอนหลับแต่ตาปิดไม่สนิท หลายคนอาจจะเข้าใจว่าเป็นการนอนแบบตาไม่หลับ นอนแล้วแต่ตายังลืมอยู่ ซึ่งในความเป็นจริงก็คือ เวลานอนจะมีการหลับตาตามปกติ เพียงแต่เปลือกตาไม่สามารถปิดได้สนิทเท่านั้นเอง โดยอาการนอนลืมตาเช่นนี้ไม่ควรวางใจ เพราะถึงแม้จะไม่ก่อให้เกิดอันตรายที่ร้ายแรง แต่ อาการนอนตาปิดไม่สนิท สามารถก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพดวงตา เช่น อาการตาแห้ง เสี่ยงที่ฝุ่นละอองจะเข้าตา เกิดอาการระคายเคืองที่ดวงตา เสี่ยงต่อการติดเชื้อที่ดวงตา อาจเกิดการขีดข่วนที่กระจกตา หรือเป็นแผลที่กระจกตาได้ อาการของนอนหลับตาปิดไม่สนิทมีอะไรบ้าง โดยมากแล้วผู้ที่มี อาการนอนตาปิดไม่สนิท มักจะไม่รู้ตัวเอง จนกระทั่งมีคนใกล้ตัวทักหรือบอก อย่างไรก็ตาม อาการต่าง ๆ หลังการตื่นนอนดังต่อไปนี้ อาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าคุณมีอาการนอนหลับตาปิดไม่สนิท ตาแห้ง ตาแดง ตาเบลอ แสบตา ระคายเคืองตา รู้สึกเหมือนมีอะไรอยู่ในตา คันที่ดวงตา นอนหลับไม่เพียงพอ สาเหตุของอาการ นอนหลับตาปิดไม่สนิท อาการนอนตาปิดไม่สนิท เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ดังนี้ มีปัญหาเปลือกตาปิดไม่สนิทตั้งแต่กำเนิด […]


ปัญหาตาแบบอื่น

คันตา สาเหตุ วิธีบรรเทาอาการ และการป้องกัน

คันตา เป็นอาการที่สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาจากสารระคายเคืองที่เข้าสู่ดวงตา เช่น ฝุ่นควัน สารเคมี รวมไปถึงปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับดวงตาอย่างภาวะตาแห้ง หากเมื่อใดที่รู้สึกคันตา ควรหลีกเลี่ยงการขยี้ตา หรือนำมือไปสัมผัสกับดวงตา เพราะอาจทำให้กระจกตาเป็นแผล นำไปสู่การติดเชื้อได้ สาเหตุที่ทำให้คันตา สาเหตุที่อาจส่งผลให้คันตา หรือระคายเคืองดวงตา มีดังนี้ โรคภูมิแพ้ เป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดอาการคันตา แสบตา น้ำตาไหล ตาบวมแดง ที่พบบ่อยที่สุดจากสารก่อภูมิแพ้ต่าง ๆ เช่น ละอองเกสรดอกไม้ ต้นไม้ ไรฝุ่น เชื้อรา ขนสัตว์เลี้ยง ควันบุหรี่ ละอองน้ำหอม สารเคมี ควันเสียจากยานพาหนะ การติดเชื้อ การติดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส อาจส่งผลให้เยื่อบุตาอักเสบ นำไปสู่อาการตาแดง บวม และอาจมีหนองขึ้นบนเปลือกตา บางกรณีอาจทำให้ตาแดง พร้อมกับน้ำมูกไหลที่เป็นสัญญาณบ่งบอกถึงการติดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส เกล็ดกระดี่ เป็นการอักเสบของเปลือกตา ที่อาจเกิดขึ้นต่อเมื่อต่อมน้ำมันบริเวณโคนขนตาอุดตัน ส่งผลให้ตาแดง ระคายเคือง แต่อาจไม่ก่อให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับสายตา หรือการมองเห็นใด ๆ ภาวะตาแห้ง ปกติดวงตาของจะมีน้ำตาคอยหล่อเลี้ยงทำให้ตาชุ่มชื้น และช่วยขจัดสิ่งแปลกปลอมที่ติดอยู่บนดวงตา แต่หากร่างกายของผลิตน้ำตาน้อยเกินไป โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ จึงอาจส่งผลให้ตาแห้ง และคันตา การใส่คอนแทคเลนส์ การใส่คอนแทคเลนส์นานเกินไป อาจทำให้ดวงตาระคายเคือง […]


ปัญหาตาแบบอื่น

ป้องกันปัญหา หนังตาตก ได้ง่าย ๆ ด้วยเทคนิคการ บริหารเปลือกตา

หนังตา (Eyelid) นั้นมีความสำคัญกับดวงตาเป็นอย่างมาก เพราะเป็นเกราะป้องกันดวงตาจากสิ่งสกปรก ตาล้า และป้องกันไม่ให้ดวงตาแห้ง แต่สภาวะหนังตาตกที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน โดยเฉพาะผู้สูงอายุ อาจจะกลายเป็นตัวการสำคัญ ที่ส่งผลกระทบต่อการมองเห็นของเราได้ วันนี้ Hello คุณหมอ เลยจะมาแนะนำวิธีการ บริหารเปลือกตา เทคนิคง่าย ๆ ที่จะช่วยให้เปลือกตาของเราแข็งแรง ป้องกันหนังตาตกกันค่ะ ทำไมหนังตาถึงตก ปัญหาหนังตาตก เปลือกตาหย่อนคล้อย และถุงใต้ตาบวมนั้นเป็นเป็นสภาวะที่สามารถพบได้บ่อย โดยเฉพาะกับผู้สูงอายุ ทางการแพทย์จะเรียกภาวะนี้ว่า ภาวะหนังตาตก (Ptosis) ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น อายุที่เพิ่มขึ้น ผู้สูงอายุมักจะมีปัญหาหนังตาตกค่อนข้างมาก เนื่องจากประสิทธิภาพการควบคุมกล้ามเนื้อเปลือกตา และความยืดหยุ่นของผิวหนัง จะลดลงตามอายุที่เพิ่มขึ้น ทำให้หนังตาบนหย่อนคล้อยลง และเปลือกตาล่างเกิดการเหี่ยวย่น กลายเป็นถุงใต้ตา ยา การใช้ยาบางชนิด เช่น ยาหยอดตาที่ใช้เพื่อรักษาโรคต้อหิน อาจทำให้เกิดการสูญเสียไขมันบริเวณดวงตา และส่งผลให้หนังตาตกได้ โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง สภาวะนี้จะส่งผลกระทบต่อการควบคุมกล้ามเนื้อ ทำให้ไม่สามารถควบคุมกล้ามเนื้อในบริเวณหนังตาได้ สภาวะเกี่ยวกับระบบประสาทต่าง ๆ การบาดเจ็บที่ดวงตา การฉีดโบท็อกซ์อย่างไม่ถูกต้อง โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดสมอง เทคนิคการ บริหารเปลือกตา แบบง่าย ๆ หากคุณสังเกตพบว่า เปลือกตาของคุณมีเริ่มมีลักษณะหย่อนคล้อย ไม่เท่ากับดวงตาอีกข้าง หรือหากคุณเป็นกังวลว่าอาจจะปัญหาหนังตาตก คุณสามารถป้องกันและบรรเทาอาการหนังตาตกได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้ เตรียมเปลือกตา ก่อนจะเริ่มการบริหารเปลือกตา คุณควรจะเตรียมเปลือกตาของคุณให้พร้อมเสียก่อน เริ่มต้นจากการทำความสะอาดบริเวณรอบดวงตาให้สะอาดหมดจด โดยใช้สำลีหรือผ้าสะอาด ชุบน้ำอุ่นค่อนไปทางร้อน ปิดบริเวณดวงตา […]


ปัญหาตาแบบอื่น

ภาวะตาสองสี ลักษณะทางพันธุกรรมซับซ้อน ที่อาจค้นพบได้ในมนุษย์

ถือว่าเป็นเรื่องที่น่าทึ่ง และชวนอึ้งอย่างมากในมนุษย์เรา เพราะเนื่องจากเป็นการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมที่ค่อนข้างค้นพบได้ยากเกี่ยวกับ ภาวะตาสองสี แต่นอกจากจะเป็นดวงตาที่สวยงามชวนมองแล้ว บางกรณีนั้นก็อาจมีอันตรายแอบแฝงร่วมอยู่ด้วยได้อีกด้วยที่ วันนี้ Hello คุณหมอ จะขอพาทุกคนไปรู้จักกับภาวะของดวงตาดังกล่าวให้มากขึ้นกันค่ะ ภาวะตาสองสี คืออะไร ภาวะตาสองสี (Heterochromia) เป็นภาวะที่สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในมนุษย์ และพบได้ทั่วไปในสัตว์ชนิดต่าง ๆ ซึ่งมีจุดสังเกตอย่างง่ายดายจากสีของดวงตาข้างใดข้างหนึ่งที่มีสีเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม โดยอาจได้รับมาจากพันธุกรรมส่งต่อมาทางครอบครัว และเป็นพันธุกรรมซับซ้อนที่เชื่อมโยงกับยีนในร่างกายของเรา ก่อให้เกิดการกำหนดความเข้มข้นของเม็ดสีเมลานินในม่านตา ที่นำพาไปสู่การเกิดสีต่างๆ บนม่านตาได้ เช่น สีฟ้า สีน้ำตาล สีดำ สีเขียว สีเทา เป็นต้น แต่ในบางกรณีนอกเหนือจากการได้รับมาจากพันธุกรรมแล้ว การที่ดวงตาของคุณมีสีที่เปลี่ยนไปอาจมาจากสาเหตุของการเกิดโรคต่าง ๆ ได้อีกด้วย เช่น โรคต้อหิน โรคเบาหวาน กลุ่มอาการกระจายตัวของเม็ดสี เนื้องอกในม่านตา อุบัติเหตุบริเวณม่านตา หรือแม้แต่ใช้ยารักษาดวงตาบางชนิด เป็นต้น ซึ่งถ้าหากคุณมีปัญหาทางสุขภาพเหล่านี้ร่วมอยู่ และพบว่าดวงตาของคุณนั้นมีสีที่เปลี่ยนแปลงไปกระทันหันไม่ได้เป็นมาตั้งแต่กำเนิด คุณควรรีบเร่งเข้าขอรับการรักษา หรือการตรวจอย่างละเอียดจากจักษุแพทย์อีกครั้ง ก่อนนำพามาสู่ความสูญเสียด้านการมองเห็น ประเภท ของภาวะตาสองสี มีอะไรบ้าง สีของม่านตาที่เปลี่ยนไปนั้น อาจมีลักษณะเบื้องต้นที่แตกต่างกันออกไป ตามแต่ละการพัฒนาทางพันธุกรรม ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วภาวะตาสองสีที่พบเจอ อาจสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้ สีของม่านตาแบบสมบูรณ์ (Complete heterochromia) […]


ปัญหาตาแบบอื่น

ตาสองสี (Heterochromia)

หากลองสังเกตตนเองแล้วพบว่าสีตาเริ่มเปลี่ยนไป ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบดวงตาข้างใดข้างหนึ่งเปลี่ยนสี หรือครึ่งซีกของม่านตาเปลี่ยนสีไป โปรดเข้ารับการวินิจฉัยโดยจักษุแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ เพราะอาจเป็นสัญญาณของการเกิดภาวะ ตาสองสี (Heterochromia) ได้ [embed-health-tool-bmi] คำจำกัดความ ตาสองสี (Heterochromia) คืออะไร ภาวะตาสองสี (Heterochromia) เป็นภาวะของม่านตาที่มาจากการเปลี่ยนแปลงพันธุกรรม หรือถูกถ่ายทอดส่งต่อกันมาจากพันธุกรรมในครอบครัว ซึ่งเป็นภาวะที่สีของดวงตาข้างใดข้างหนึ่งมีสีแตกต่างไปจากเดิม เช่น สีเทา สีฟ้า สีน้ำตาล เป็นต้น ตามความเข้มข้นของระดับเม็ดสีเมลานินในแต่ละบุคคล โดยแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้ Complete heterochromia เป็นประเภทที่มีสีของดวงตาข้างใดข้างหนึ่งเปลี่ยนไปแบบสมบูรณ์ หรือเต็มดวง เช่น ตาข้างหนึ่งสีน้ำตาล อีกข้างหนึ่งสีฟ้า Segmental heterochromia คือ สีของดวงตาเปลี่ยนไปแบบแบ่งส่วน โดยดวงตาข้างนั้นจะมีการแบ่งสีของม่านตาเป็น 2 ส่วน และจะมีสีที่แตกต่างกัน เช่น ตาข้างซ้ายสีน้ำตาล ตาข้างขวาสีฟ้า และแบ่งครึ่งอีกซีกด้านในเป็นสีเขียวอีกครึ่งหนึ่ง Central heterochromia เป็นอีกประเภทของภาวะดวงตาเปลี่ยนสี ที่จะมีการเปลี่ยนสีเพียงแค่รอบนอกของม่านตา เช่น ตรงกลางภายในดวงตาเป็นสีดำสนิทแต่รอบนอกนั้นเป็นสีเทา หรือสีอื่น ๆ ภาวะ ตาสองสี สามารถพบบ่อยได้เพียงใด จริง ๆ แล้วภาวะดังกล่าวนี้ […]


ปัญหาตาแบบอื่น

ตาสีม่วงตามธรรมชาติมีอยู่จริงหรือ

มีความเป็นไปได้น้อยมากที่จะพบคนตาสีม่วงตามธรรมชาติ แต่ลักษณะสีของดวงตาดังกล่าวนั้น มีอยู่จริง  ซึ่งสาเหตุที่ก่อให้เกิดภาวะตาสีม่วงนั้นมีหลายประการด้วยกันส่วนใหญ่มักเป็นแต่กำเนิด หากใครเกิดภาวะตาสีม่วงฉับพลันหรือตาเพิ่งเปลี่ยนสีควรต้องรีบไปปรึกษาแพทย์ [embed-health-tool-heart-rate] ตำนานเรื่องของตาสีม่วงที่เคยปรากฎ เมื่อปีพ.ศ. 2548 ได้มีตำนานดังของบุคคลหนึ่งที่ชื่อว่า อเล็กซานเดรีย (Alexandria) ซึ่งเป็นมนุษย์ที่ได้รับการค้นพบว่าดวงตานั้นเกิดการเปลี่ยนสีเป็นสีม่วงตั้งแต่ในช่วงวัยทารก อีกทั้งยังมีสีผิวซีด และร่างกายที่ไม่ได้สัดส่วน แต่กลับมีช่วงอายุในการใช้ชีวิตอย่างยาวนานกว่า 100 ปี มีการตรวจสอบข้อเท็จจริงและพบว่าอาจเป็นการกลายพันธุ์ทางพันธุกรรม ซึ่งพบได้น้อยมาก เพราะบุคคลส่วนใหญ่มักเกิดมาพร้อมกับดวงตาสีดำ สีน้ำตาล สีเทา สีฟ้า อีกทั้งดวงตาสีทั่วไปเหล่านี้ขึ้นอยู่กับเซลล์สร้างเม็ดเลือด และเม็ดสีเมลานินจากทางพันธุกรรมของครอบครัว ตาสีม่วง เกิดขึ้นจากอะไรได้บ้าง นอกจากสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมแล้ว ยังมีอีกหลายสาเหตุที่ทำให้สีของดวงตาเปลี่ยนได้ด้วย  ได้แก่ · โรคเฮเทอโรโครเมีย (Heterochromia) สำหรับผู้ที่ประสบกับโรคเฮเทอโรโครเมียจะสังเกตได้ว่าสีตาข้างใดข้างหนึ่งนั้นแตกต่างออกไปจากสีตาเดิม เช่น ตาข้างซ้ายสีฟ้า และตาข้างขวาสีน้ำตาล ซึ่งโรคนี้มักเป็นตั้งแต่กำเนิด และอาจพบไม่มากนักเช่นเดียวกับบุคคลตาสีม่วง · โรคต้อหินชนิดเม็ดสี เป็นกลุ่มอาการที่เกี่ยวข้องกับดวงตา ซึ่งเกิดจากความเสียหายของเส้นประสาทตาจนทำให้เม็ดสีในม่านตาหลุดออกมาเป็นบางส่วน จึงส่งผลให้สีตามีการเปลี่ยนสีไปบ้างเล็กน้อย หากยังปล่อยให้โรคต้อหินชนิดเม็ดสีดังกล่าวไว้เป็นเวลานานโดยไม่รับการรักษาก็อาจทำให้เกิดภาวะสูญเสียทางด้านการมองเห็นได้ · เนื้องอกในม่านตา อาการเนื้องอกในม่านตาส่วนใหญ่ในระยะแรกมักไม่แสดงอาการใด ๆ แต่สำหรับบางคนอาจสังเกตได้จากสีของดวงตาที่เริ่มมีการเปลี่ยนแปลง และจุดเม็ดสีที่มีชื่อเรียกว่า Nerve มีขนาดใหญ่ขึ้น หากสงสัยว่ามีอาการเนื้องอกในม่านตาควรรีบเข้ารับการรักษา โดยอาจเป็นการเลเซอร์ หรือการผ่าตัดร่วม ตามอาการของเนื้องอกของแต่ละบุคคล · ยารักษาบางประเภท ยาบางชนิดที่ใช้รักษาเกี่ยวกับปัญหาของดวงตา เช่น Prostaglandin analogs อาจมีผลทำให้ดวงตานั้นมีสีที่เปลี่ยนไป เนื่องจากเป็นยาที่ใช้รักษาต้อหิน และระบายของเหลว ลดความดันในดวงตา จึงอาจส่งผลข้างเคียงได้เล็กน้อยต่อสีของดวงตา เมื่อใดที่ควรไปปรึกษาแพทย์ หากสังเกตว่าสีของดวงตาปลี่ยนแปลงไปจากเดิมกะทันหัน […]


ปัญหาตาแบบอื่น

วิธีป้องกันอาการตาล้าจากสื่อดิจิทัล (Digital Eye Strain) ที่คนยุคดิจิทัลอย่างเราๆ ควรรู้

ปัญหาหนึ่งของผู้ที่ใช้งานอุปกรณ์ดิจิทัลทั้งคอมพิวเตอร์และสมาร์ทโฟนเป็นเวลานานหรือตลอดทั้งวัน นั่นก็คืออาจส่งผลให้เกิด  อาการตาล้าจากสื่อดิจิทัล แต่อาการตาล้าประเภทนี้เป็นอย่างไร และจะมี วิธีป้องกันอาการตาล้าจากสื่อดิจิทัล ได้อย่างไรบ้าง มาติดตามเคล็ดลับสุขภาพดีๆ กันได้ กับบทความนี้จาก Hello คุณหมอ อาการตาล้าโดยทั่วไปกับอาการตาล้าจากสื่อดิจิทัล แตกต่างกันอย่างไร อาการตาล้า และ อาการตาล้าจากสื่อดิจิทัล นั้น มีความเหมือนกันในเรื่องของลักษณะอาการ ทั้งความรู้สึกเมื่อยล้าที่ดวงตา มองเห็นภาพเบลอหรือภาพซ้อน มีอาการตาแห้ง ไปจนถึงอาการปวดศีรษะ เป็นต้น แต่จะมีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อยตรงที่สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการตาล้านั้นเกิดจากปัจจัยที่แตกต่างกัน อาการตาล้าโดยทั่วไป สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็น การจ้องอยู่ที่หน้าจอคอมพิวเตอร์และสื่อดิจิทัลเป็นเวลานานๆ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดอาการตาล้า และ อาการตาล้าจากสื่อดิจิทัล การอ่านหนังสือโดยที่ไม่มีการหยุดพักสายตา การเพ่งใช้สายตากับสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากจนเกินไป การขับรถในระยะทางที่ไกลและมีระยะเวลาที่ยาวนาน เนื่องจากต้องเพ่งสายตาไปที่ข้างหน้าตลอดการขับรถ ดวงตาสัมผัสกับแสงสว่างที่มากจนเกินไป การอ่านหนังสือ หรือมองจอคอมพิวเตอร์และสื่อดิจิทัลในที่มืดหรือที่มีแสงสว่างน้อย มีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพดวงตาอยู่แต่เดิมแล้ว เช่น ปัญหาตาแห้ง การที่ดวงตาสัมผัสกับลักษณะอากาศแห้ง ทั้งที่มาจากพัดลมหรือเครื่องปรับอากาศ เกิดความเครียด เกิดความรู้สึกอ่อนเพลีย เมื่อยล้า แต่สำหรับ อาการตาล้าจากสื่อดิจิทัล (Digital Eye Strain) นั้น มีสาเหตุหลักเพียงอย่างเดียวนั่นก็คือ การใช้สายตาอยู่กับหน้าจอคอมพิวเตอร์และสื่อดิจิทัลเช่น สมาร์ทโฟน มากจนเกินไป หรือใช้สายตาอยู่ที่หน้าจอของอุปกรณ์ดิจิทัลเหล่านั้นเป็นระยะเวลานานๆ หรือทั้งวันโดยที่ไม่ได้หยุดพักการใช้สายตา วิธีป้องกันอาการตาล้าจากสื่อดิจิทัล มีอะไรบ้าง สวมแว่นตาที่มีคุณสมบัติป้องกันแสง ไม่ว่าคุณจะสวมใส่แว่นตามานานเท่าไหร่แล้ว หรือไม่เคยต้องสวมแว่นตาเลยเนื่องจากไม่มีปัญหาด้านสุขภาพดวงตา อย่างไรก็ตาม หากต้องทำงานอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือใช้สื่อดิจิทัลเป็นประจำหรือทั้งวัน ควรพิจารณาการสวมแว่นที่มีคุณสมบัติช่วยในการกรองแสง เพื่อลดการสะท้อนของแสงจากหน้าจอของอุปกรณ์ดิจิทัล ก็จะช่วยป้องกัน อาการตาล้าจากสื่อดิจิทัล ไม่ให้ดวงตารู้สึกเมื่อยล้า […]


ปัญหาตาแบบอื่น

ดูแลดวงตาให้แข็งแรง ด้วยวิธีแสนง่ายที่คุณเองก็ทำตามได้

ดวงตา ถือเป็นอวัยะที่สำคัญเป็นอย่างมาก เพราะฉะนั้น การ ดูแลดวงตาให้แข็งแรง จึงถือเป็นเรื่องที่ควรทำ โดยพื้นฐานในการดูแลดวงตาก็คือการกินอาหารที่มีประโยชน์ ใช้สายตาในบริเวณที่มีแสงที่เพียงพอ แต่ความจริงแล้วยังมีการดูแลดวงตาอื่นๆ ที่คุณสามารถทำได้ง่ายๆ ซึ่งทาง Hello คุณหมอ ได้หยิบยกเรื่องนี้มาฝากกัน วิธี ดูแลดวงตาให้แข็งแรง ด้วยวิธีแสนง่าย สำหรับวิธี ดูแลดวงตาให้แข็งแรง นั้นก็สามารถทำได้ง่ายๆ ดังนี้ รับวิตามินและแร่ธาตุที่สำคัญให้เพียงพอ วิตามินเอ วิตามินซี และวิตามินอี รวมถึงแร่สังกะสี มีสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยป้องกันการเสื่อมสภาพของแมคูลา (Macula) ซึ่งเป็นจุดรับภาพตรงกลางของจอประสาทตา โดยแหล่งอาหารที่สำคัญที่มีสารอาหารเหล่านี้ประกอบอยู่ ก็ได้แก่ผักและผลไม้หลากหลายชนิด เช่น แครอท พริกแดง บร็อคโคลี่ ผักโขม สตรอว์เบอร์รี่ มันเทศ มะนาว นอกจากนั้น อาหารที่อุดมด้วยกรดไขมันโอเมก้า 3 เช่น ปลาแซลมอน และเมล็ดแฟลกซ์ (Flaxseed) ก็ยังทำให้สุขภาพตาดีขึ้นด้วย อย่าลืมกินแคโรทีนอยด์ นอกจากสารอาหารต่างๆ ที่จะช่วยบำรุงสุขภาพของดวงตาแล้ว กุญแจสำคัญที่ช่วยในการปรับปรุงการมองเห็น ก็คือ ลูทีน (Lutein) และ ซีแซนทีน (Zeaxanthin) ซึ่งเป็นแคโรทีนอยด์ที่พบในเรตินา และสารดังกล่าวสามารถพบได้ในผักใบเขียว บร็อคโคลี่ บวบ และไข่ นอกจากนั้นยังสามารถหากินได้ในรูปแบบอาหารเสริมอีกด้วย แคโรทีนอยด์เหล่านี้ช่วยปกป้องแมคูลา (Macula) ซึ่งเป็นจุดรับภาพตรงกลางของจอประสาทตา ด้วยการปรับปรุงความหนาแน่นเม็ดสีในส่วนของดวงตา และดูดซับแสงอัลตร้าไวโอเลตและแสงสีน้ำเงิน ออกกำลังกาย การออกกำลังกายนอกจากจะช่วยรักษาน้ำหนัก และทำให้สุขภาพแข็งแรงแล้ว ยังสามารถช่วยทำให้ดวงตาแข็งแรงด้วย […]


ปัญหาตาแบบอื่น

เรื่องน่ารู้ ก่อนการเลือก ใช้คอนแทคเลนส์ เพื่อสุขภาพของดวงตาที่ดีกว่า

ในปัจจุบันนี้ การใช้คอนแทคเลนส์ นั้นได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เพราะนอกจากจะเป็นทางเลือกเพื่อความสะดวกสบายของผู้ที่มีปัญหาด้านสายตาแล้ว ยังสามารถใช้เพื่อความสวยความงามได้อีกด้วย แต่การใช้คอนแทคเลนส์อย่างไม่ถูกต้องนั้น อาจส่งผลให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของดวงตาได้ วันนี้ Hello คุณหมอ จะมาให้ความรู้เกี่ยวกับ การใช้คอนแทคเลนส์ อย่างถูกต้อง เพื่อสุขภาพของดวงตาที่ดียิ่งขึ้น ประโยชน์ของ การใช้คอนแทคเลนส์ ช่วยเรื่องการมองเห็น คนส่วนใหญ่จะสวมคอนแทคเลนส์เพื่อช่วยแก้ปัญหาในเรื่องของการมองเห็น คอนแทคเลนส์นั้นสามารถแก้ปัญหาเกี่ยวกับการมองเห็นส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเป็น สายตาสั้น สายตายาว หรือสายตาเอียง โดยสามารถใช้แทนแว่นตาได้เลย รู้สึกเป็นธรรมชาติ คอนแทคเลนส์นั้นจะสวมแนบสนิทไปกับดวงตาของเรา แทบจะไม่มีระยะห่างระหว่างดวงตากับเลนส์ จึงทำให้การมองเห็นเป็นไปได้อย่างเป็นธรรมชาติมากกว่าการมองผ่านแว่นตา นอกจากนี้คอนแทคเลนส์ก็มีความบาง และคนส่วนใหญ่ที่ชินกับการใส่คอนแทคเลนส์ก็จะไม่รู้สึกเหมือนว่ามีอะไรอยู่ในดวงตาของเรา สะดวกสบาย การสวมคอนแทคเลนส์นั้นให้ความสะดวกสบายกว่ามาก เมื่อเทียบกับการสวมแว่นตา เพราะการสวมแว่นตาอาจทำให้เกิดปัญหา เช่น แว่นหลวมไม่พอดีหน้า แว่นเลื่อนหลุด เล่นกีฬาไม่สะดวก หรือแว่นเปื้อนหรือเกิดฝ้า ปัญหาเหล่านี้จะไม่เกิดขึ้นหากเราสวมคอนแทคเลนส์ สวยงาม นอกจากคอนแทคเลนส์จะช่วยแก้ปัญหาสายตา และเพิ่มความสะดวกสบายแล้ว คอนแทคเลนส์นั้นยังสามารถช่วยในเรื่องของความสวยงามได้อีกด้วย เพราะการเลือกแว่นให้เข้ากับใบหน้าของเรานั้นเป็นเรื่องยาก และใช่ว่าใบหน้าของทุกคนจะเหมาะกับการใส่แว่น นอกจากนี้ยังมีคอนแทคเลนส์แบบสี ที่มีสีสันและลวดลายต่าง ๆ ที่เพิ่มความสวยงามให้กับผู้ใส่ได้อีกมาก การใช้คอนแทคเลนส์ มีความเสี่ยงอย่างไรบ้าง แม้ว่าคอนแทคเลนส์นั้นจะมีประโยชน์อยู่มาก แต่การใช้คอนแทคเลนส์ก็สามารถนำมาซึ่งความเสี่ยงได้เช่นกัน เนื่องจากดวงตานั้นเป็นจุดที่เปราะบาง ทำให้อาจเกิดความเสียหาย หรือติดเชื้อได้ง่ายกว่าบริเวณอื่น การใช้คอนแทคเลนส์ที่หมดอายุแล้ว หรือไม่พอดีกับดวงตา อาจทำให้เยื่อบุตาเกิดรอยถลอก จนกลายเป็นอาการเยื่อบุตาอักเสบ หรือที่เราเรียกกันว่าอาการตาแดงได้ นอกจากนี้การใช้ยาหยอดตาก็อาจส่งผลกระทบกับการใส่คอนแทคเลนส์ได้ เพราะยาหลอดยาส่วนใหญ่มักจะมีสารกันบูด ที่อาจซึมเข้าไปในคอนแทคเลนส์ได้ หากใช้ยาหยอดตาขณะสวมคอนแทคเลนส์ หากคุณมีอาการดังต่อไปนี้ ควรรีบถอดคอนแทคเลนส์ออก แล้วติดต่อแพทย์ในทันที ตาแดง ปวดตา ตาแพ้แสง น้ำตาไหลไม่หยุด มองเห็นไม่ชัด มีหนองในบริเวณดวงตา ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับดวงตา เช่น […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน