backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

ตาขาวอักเสบ จนตาแดง และเจ็บปวด ควรรักษาอย่างไร

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 03/04/2021

ตาขาวอักเสบ จนตาแดง และเจ็บปวด ควรรักษาอย่างไร

ถึงแม้ว่าปัญหา ตาขาวอักเสบ  จะไม่ได้เกิดบริเวณตาดำโดยตรง แต่คุณรู้หรือไม่ว่าการที่ ตาขาวอักเสบ ก็สามารถส่งผลกระทบต่อการมองเห็นได้เช่นกัน แต่จะมีสาเหตุใดบ้างนั้น ที่ทำให้บริเวณตาขาวคุณรู้สึกเจ็บปวด ติดตามได้ใน บทความของ Hello คุณหมอ วันนี้ที่นำความรู้เบื้องต้น มาฝากให้ทุกคนได้ทราบกันค่ะ

คำจำกัดความ

ตาขาวอักเสบ (Scleritis) คืออะไร

ตาขาวอักเสบ (Scleritis) คือ อาการผิดปกติบริเวณตาขาวที่ก่อให้เกิดการอักเสบอย่างรุนแรง โดยเป็นผลมาจากการทำงานของภูมิต้านทานในร่างกายเปลี่ยนแปลงไป สามารถแบ่งออกได้หลายประเภทด้วยกัน ได้แก่

  • ตาขาวอักเสบบริเวณด้านหน้าดวงตา
  • ตาขาวอักเสบเป็นก้อนกลมด้านหน้าดวงตา
  • ตาขาวอักเสบชนิดรุนแรง
  • ตาขาวอักเสบบริเวณด้านหลัง

ตาขาวอักเสบพบได้บ่อยแค่ไหน

ภาวะตาขาวอักเสบ สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะในผู้หญิงที่มีความเป็นไปได้ว่าจะเป็นบ่อยได้มากกว่าผู้ชาย

อาการ

อาการของตาขาวอักเสบ

อาการตาขาวอักเสบ มักแตกต่างกันออกไปตามแต่ละประเภท และสภาวะทางสุขภาพร่างกายของแต่ละบุคคล โดยส่วนใหญ่ อาการหลัก ๆ ที่คุณสามารถสังเกตได้นั้น มีดังนี้

  • ดวงตาไวต่อแสง
  • ประสิทธิภาพการมองเห็นลดลง หรือมองเห็นไม่ชัด
  • มีน้ำตาไหลออกมาเป็นบางครั้ง
  • อาการเจ็บปวดขณะเคลื่อนไหวลูกตา
  • ระคายเคืองดวงตา
  • บริเวณตาขาวมีอาการบวม และมีสีแดง
  • ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด

    เมื่อคุณมีอาการเจ็บดวงตาไม่ว่าจะอยู่ในระดับรุนแรง หรือไม่รุนแรง แน่นอนว่าไม่ควรปล่อยทิ้งไว้เป็นระยะเวลานาน โปรดรีบเร่งเข้ารับการตรวจอย่างละเอียด พร้อมระบุอาการเบื้องต้นให้แพทย์ทราบในทันที เพราะอาการตาขาวอักเสบบางประเภท อาจทำให้คุณสูญเสียการมองเห็นได้โดยที่คุณไม่ทันตั้งตัว

    สาเหตุ

    สาเหตุที่ทำให้ตาขาวอักเสบ

    ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของ อาการตาขาวอักเสบ แต่สาเหตุเบื้องต้นอาจมาจากการที่ระบบภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติ และมีการติดเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อไวรัส จนทำให้เกิดอาการปวด รวมไปถึงปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อบริเวณตาขาว จนทำให้เกิดการอักเสบ

    หากคุณมีข้อสงสัยใด ๆ เพิ่มเติม หรือหากคุณรู้สึกถึงอาการเจ็บปวดดวงตา คุณอาจจำเป็นต้องเข้ารับการตรวจอย่างละเอียดจากผู้เชี่ยวชาญด้านจักษุแพทย์

    ปัจจัยเสี่ยง

    ปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิด อาการตาขาวอักเสบ

    โรคเรื้อรังบางโรค อาจส่งผลข้างเคียง และเพิ่มความเสี่ยงให้คุณมีอาการผิดปกติทางดวงตา จนลุกลามก่อให้เกิดตาขาวอักเสบได้ โรคเหล่านั้นได้แก่

  • โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid Arthritis)
  • โรคลำไส้อักเสบ (Inflammatory bowel disease)
  • โรคลูปัส (Lupus)
  • การติดเชื้อในดวงตา (Eye infections)
  • โรคผิวหนังแข็ง (Scleroderma)
  • โรคหลอดเลือดอักเสบ (Granulomatosis)
  • กลุ่มอาการโจเกรน (Sjogren’s Syndrome)
  • การวินิจฉัยและการรักษาโรค

    ข้อมูลที่นำเสนอไม่สามารถใช้แทนข้อแนะนำทางการแพทย์ได้ โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

    การวินิจฉัย อาการตาขาวอักเสบ

    ขั้นตอนแรก แพทย์อาจสอบถามประวัติที่เกี่ยวข้องกับภาวะทางสุขภาพ รวมถึงยาและอาหารเสริมที่คุณกำลังรับประทาน ก่อนวินิจฉัยโรคด้วยเทคนิคต่าง ๆ เหล่านี้

    • การนำชิ้นเนื้อเยื่อในตาขาวมาตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์
    • การตรวจเลือด เพื่อหาการติดเชื้อ และการทำงานของระบภูมิคุ้มกัน
    • การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Ultrasonography) ในการสังเกตความผิดปกติรอบ ๆ ตาขาว

    การรักษา อาการตาขาวอักเสบ โดยแพทย์

    ในการรักษาอาการตาขาวอักเสบ แพทย์มักมุ่งเน้นไปยังการต้านการอักเสบที่เกิดขึ้นกับบริเวณตาขาวของคุณ ด้วยยารักษาต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับอาการที่คุณเผชิญ ดังนี้

    • ยาต้านอักเสบไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) มักใช้ช่วยลดการอักเสบ และบรรเทาอาการปวด
    • ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ เช่น เพรดนิโซโลน (Prednisolone) ในกรณีที่ยา NSAIDs ไม่สามารถช่วยลดอาการอักเสบได้
    • ยากระตุ้นภูมิคุ้มกัน ที่มีกลูโคคอร์ติคอยด์(Glucocorticoids) อาจจำเป็นต้องใช้ในที่คุณมีอาการรุนแรง
    • ยาต้านเชื้อราที่เกิดจากกลุ่มอาการโจเกรน (Sjogren’s Syndrome)

    หากแพทย์วินิจฉัยแล้วว่าคุณอยู่ในเกณฑ์ของอาการรุนแรง หรือมีการฉีกขาดส่วนเนื้อเยื่อภายในอาจต้องได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัดเข้ามาเสริม เพื่อเร่งซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่เสียหาย และบำรุงกล้ามเนื้อ ก่อนสูญเสียการมองเห็นไปได้อย่างถาวร

    ปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเอง

    การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเองที่ช่วยรับมือกับอาการตาขาวอักเสบ

    ตาขาวอักเสบถือเป็นโรคที่ค่อนข้างส่งผลเสียต่อด้านการมองเห็น ทำให้คุณอาจต้องเข้ารับการตรวจจากจักษุแพทย์อีกครั้ง หลังจากอาการหายไปเพื่อความมั่นใจ และรับคำปรึกษาเกี่ยวกับวิธีการป้องกันที่ถูกต้องเหมาะสม เนื่องจากภาวะสุขภาพของแต่ละบุคคลนั้นมีแตกต่างกัน จึงจำเป็นอย่างมากที่ต้องได้รับการประเมินจากแพทย์อย่างละเอียดเสียก่อน

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 03/04/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา