backup og meta

เล่นมือถือในที่มืดอันตรายต่อดวงตาอย่างไร

เล่นมือถือในที่มืดอันตรายต่อดวงตาอย่างไร

เล่นโทรศัพท์ในที่มืด อาจสร้างอันตรายร้ายแรงให้กับดวงตา เนื่องจากแสงสีฟ้าที่มาจากหน้าจอโทรศัพท์มือถืออาจทำให้เกิดอาการระคายเคืองตา แสบตา และตาแห้ง นอกจากนี้อาจทำให้เกิดโรคศูนย์กลางจอประสาทตาเสื่อม จนสูญเสียการมองเห็นได้ นอกจากนี้การเล่นโทรศัพท์ในที่มืดอาจเพิ่มความเข้มของแสงสีฟ้ามากขึ้นและยับยังการหลั่งเมลาโทนิน ซึ่งรบกวนจังหวะการเต้นของหัวใจและการนอนหลับ การดูแลดวงตาให้ปลอดภัยจากแสงสีฟ้าจึงอาจช่วยถนอมสายตาและสุขภาพโดยรวมได้

อาการเมื่อเล่นโทรศัพท์ในที่มืด

งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยมาดริด ประเทศสเปน ได้ทำการศึกษาวิจัยโดยให้กลุ่มตัวอย่างที่มีสายตาปกติ และไม่มีปัญหาเกี่ยวกับดวงตาที่เกิดจากการใช้คอมพิวเตอร์ โดยให้กลุ่มตัวอย่างอ่านข้อความจากโทรศัพท์มือถือและอ่านจากกระดาษ ในสภาพแสงสว่างและความมืด

ผลการวิจัยพบว่า การเล่นโทรศัพท์ในที่มืดเป็นเวลานานทำให้มีอาการ ดังนี้

  • สายตาพร่ามัวในขณะที่อ่านข้อความ และเมื่อมองระยะไกล
  • ไม่สามารถปรับโฟกัสภาพ จากระยะหนึ่งไปอีกระยะหนึ่งได้ดีเท่าที่ควร
  • ระคายเคืองตา หรือแสบตา
  • ตาแห้ง ไวต่อแสงจ้า
  • เมื่อยล้าดวงตา และรู้สึกไม่สบายตา

นอกจากนี้ งานวิจัยยังพบอีกว่า การเล่นโทรศัพท์ในที่มืด อาจทำให้อาการระคายเคืองตา แสบตา และตาแห้ง มีอากรที่แย่ลงได้ เมื่อเทียบกับการอ่านจากกระดาษ

อันตรายของแสงสีฟ้าจากการเล่นโทรศัพท์ในที่มืด

งานวิจัยที่เผยแพร่ในวารสารวิชาการ Scientific Reports ได้เผยแพร่ข้อมูลว่า การจองมองแสงสีฟ้าที่มาจากหน้าจอโทรศัพท์มือถือและคอมพิวเตอร์ที่มากเกินไป สามารถสร้างความเสียหายให้เซลล์เรตินา (retinal cells) และแสงสีฟ้าอาจทำให้เกิดโรคศูนย์กลางจอประสาทตาเสื่อม (Macular Degeneration) รวมถึงโรคเกี่ยวกับดวงตาอื่น ๆ  จนอาจนำไปสู่การสูญเสียการมองเห็นในที่สุด

อย่างไรก็ตาม การหลีกเลี่ยงจากแสงสีฟ้าอาจเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก เพราะนอกจากจะมีในโทรศัพท์และคอมพิวเตอร์แล้ว แสงสีฟ้าอาจมาจากแสงอาทิตย์ได้เช่นกัน ดังนั้นนักวิจัยจึงแนะนำว่า ควรระวังการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หรือเล่นโทรศัพท์ในที่มืด เพราะการดูหน้าจอในที่มืดนั้นสามารถทำให้สายตาต้องจ้องกับแสงสีฟ้าโดยตรง จนอาจส่งผลกระทบต่อดวงตาได้

วิธีใช้โทรศัพท์เพื่อถนอมสายตา

  • ควรอยู่ห่างจากหน้าจอประมาณ 25 นิ้ว หรือประมาณ 1 ช่วงแขน
  • จุดศูนย์กลางของหน้าจอควรอยู่ในมุม 10-15 องศา จากระดับสายตา
  • ควรใช้ฟิล์มติดหน้าจอ ทั้งหน้าจอโทรศัพท์และคอมพิวเตอร์ เพื่อลดแสงจ้า
  • ใช้กฎ 20-20-20 คือ ทุก ๆ 20 นาทีควรมองไปที่อื่น ไกลออกไป 20 นิ้ว เป็นเวลาอย่างน้อย 20 วินาที
  • ถ้าใช้เวลาอยู่หน้าจอเป็นเวลา 2 ชั่วโมงแล้ว ควรพักสายตาระยะสั้นเป็นเวลาประมาณ 15 นาที และควรพักสายตาระยะยาวทุก ๆ 2 ชั่วโมง
  • ควรใช้น้ำตาเทียมในกรณีที่ตาแห้ง
  • ควรอยู่ในสถานที่ ที่มีแสงเพียงพอ และไม่ควรใช้โทรศัพท์หรืออยู่หน้าจอในที่ที่มีแสงน้อย
  • ถ้าใส่คอนแทคเลนส์ ควรพักสายตาด้วยการเปลี่ยนมาใส่แว่นตา
  • ควรตรวจสุขภาพดวงตาเป็นประจำ และปรึกษาคุณหมอเมื่อมีปัญหาเกี่ยวกับดวงตา เช่น ปวดตา ปวดหัว และมองเห็นไม่ชัดเจน

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Symptoms associated with reading from a smartphone in conditions of light and dark. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/29409625. Accessed 21 October 2019.

Prevent Eyestrain From Digital Devices. https://www.webmd.com/eye-health/prevent-digital-eyestrain. Accessed 21 October 2019.

Blue light has a dark side. https://www.health.harvard.edu/staying-healthy/blue-light-has-a-dark-side. Accessed September 23, 2021

What Is Blue Light And Where Does It Come From?. https://www.webmd.com/eye-health/what-is-blue-light. Accessed September 23, 2021

ผลกระทบที่เป็นอันตรายของแสงสีฟ้า. https://www.bangkokhospital.com/en/content/blue-light-harmful-to-eye. Accessed September 23, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

28/09/2021

เขียนโดย Sopista Kongchon

อัปเดตโดย: ทัตพร อิสสรโชติ


บทความที่เกี่ยวข้อง

วิตามินบำรุงสายตา กินอย่างไรให้ได้ประโยชน์

ตาพร่ามัว เกิดจากสาเหตุใดได้บ้าง และเมื่อไหร่ที่ต้องกังวล



เขียนโดย Sopista Kongchon · แก้ไขล่าสุด 28/09/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา