สุขภาพตา

คุณรู้หรือเปล่าว่า ดวงตา คือหนึ่งในอวัยวะรับสัมผัส ที่พัฒนามากที่สุดในร่างกายของมนุษย์ เราจำเป็นต้องพึ่งการมองเห็นในการใช้ชีวิตประจำวันอย่างเป็นปกติ ดังนั้น การดูแลรักษา สุขภาพดวงตา ให้ดี จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ เรียนรู้เกี่ยวกับ สุขภาพตา และการดูแลรักษาสุขภาพดวงตาของคุณ ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพตา

ตาบอดสีรู้ได้อย่างไร ทดสอบตาบอดสี มีอะไรบ้าง

ตาบอดสี เป็นภาวะบกพร่องของประสาทสัมผัสการรับรู้สึก อาจเกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม ทำให้มีการมองเห็นสีที่ผิดปกติตั้งแต่กำเนิด แต่ก็อาจเกิดได้จากสาเหตุอื่น การ ทดสอบตาบอดสี ทำได้ด้วยการทำแบบทดสอบแยกสีในแผ่นกระดาษ ในหน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือการใช้เครื่องมือแยกสี โดยส่วนใหญ่แล้ว อาการตาบอดสีไม่สามารถรักษาให้หายได้ ยกเว้นภาวะที่เกิดจากการใช้ยาหรือเกิดจากปัญหาของดวงตาที่เพิ่งมีขึ้นในภายหลัง คุณหมออาจวางแผนการรักษาให้การมองเห็นสีดีขึ้น [embed-health-tool-bmi] ตาบอดสี คืออะไร ภาวะตาบอดสี (Color Blindness) คือ ความผิดปกติของดวงตาในการตอบสนองต่อความยาวคลื่นแสงต่าง ๆ โดยทั่วไป แสงที่มีความยาวคลื่นของทุกสีจะเดินทางเข้าสู่ดวงตาทางกระจกตาผ่านทางเลนส์ตาและวุ้นตาเข้าไปยังเซลล์รูปกรวยในดวงตาที่อยู่บริเวณจุดรับภาพของจอประสาทตาหรือเรตินา (Retina) เซลล์รูปกรวยจะมีความไวต่อแสงความยาวคลื่นสั้น (สีน้ำเงิน) ปานกลาง (สีเขียว) หรือยาว (สีแดง) ที่ทำให้สามารถรับรู้สีได้ตามปกติ แต่หากเซลล์รูปกรวยขาดสารเคมีที่ไวต่อความยาวคลื่นอย่างน้อย 1 ชนิด ก็จะส่งผลให้การรับรู้สีแตกต่างไปจากคนทั่วไป ตาบอดสี เกิดจากอะไร ตาบอดสี เป็นความผิดปกติที่สืบทอดทางพันธุกรรม ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นตาบอดสีมักจะมีโอกาสเป็นตาบอดสีได้มากกว่าคนทั่วไป และมักมีภาวะนี้ตั้งแต่กำเนิดและส่งผลต่อดวงตาทั้ง 2 ข้าง ตามปกติแล้วความรุนแรงจะไม่เพิ่มขึ้นตามอายุที่มากขึ้นและพบได้ในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง สำหรับผู้ที่มีภาวะนี้ในภายหลังอาจเกิดได้เมื่อสมองหรือดวงตาได้รับความเสียหาย ซึ่งทำให้การมองเห็นสีเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ตาบอดสีมักทำให้สับสนในการแยกแยะสีในชีวิตประจำวันและมองเห็นสีบางสีที่ไม่สดใสเท่าผู้ที่มีสายตาปกติ คนส่วนใหญ่ที่ตาบอดสีไม่สามารถแยกความแตกต่างระหว่างสีแดงและสีเขียวบางเฉดได้ ในบางกรณีซึ่งพบได้ไม่บ่อย คนตาบอดสีจะไม่สามารถแยกความแตกต่างระหว่างเฉดสีฟ้าและสีเหลืองได้ ทั้งนี้ ผู้ที่ตาบอดสีไม่ได้มีความเสี่ยงในการสูญเสียการมองเห็นหรือตาบอด ประเภทของตาบอดสี ตาบอดสี อาจแบ่งได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้ ตาบอดสีแดง-เขียว เป็นลักษณะที่พบได้บ่อยที่สุด โดยผู้ที่ตาบอดสีจะแยกความแตกต่างระหว่างสีแดงและสีเขียวได้ยากกว่าปกติ […]

หมวดหมู่ สุขภาพตา เพิ่มเติม

สำรวจ สุขภาพตา

ปัญหาตาแบบอื่น

บำรุง ขอบตาดำ ให้กลับมาไบรท์ ด้วยสูตรนมเปรี้ยวผสมขมิ้น

เคยไหม ? ขอบตาดำ จนทำให้รู้สึกเหมือนเป็นพี่น้องกับหมีแพนด้า เนื่องจากหลายๆ ปัจจัยที่ทำให้ดวงตาของเรานั้นทำงานหนัก ส่งผลให้เกิดความอ่อนล้า เกิดเป็นรอยหมองคล้ำบริเวณรอบๆ ไม่สดใสเหมือนเดิม วันนี้ Hello คุณหมอ มีสูตรบำรุงขอบตาให้กับมาดูสดใสไม่หมองคล้ำ ดูมีชีวิตชีวายิ่งขึ้นด้วยส่วนผสมจากธรรมชาติอย่าง นมเปรี้ยวและขมิ้น ขอบตาดำ เกิดขึ้นได้อย่างไร ? การเปลี่ยนแปลงของหลอดเลือดที่พองตัวขึ้นบริเวณรอบดวงตา เปลือกตา และใต้ตาทำให้มีสีที่เข้มขึ้น ทั้งนี้ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่เป็นสาเหตุทำให้คุณมีขอบตาดำคล้ำ หม่นหมองอีกด้วย นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ อดนอน โรคภูมิแพ้ รอยดำซึ่งเกิดจากร่างกายผลิตเมลานินมากเกินไป ผิวใต้ตาบอบบาง โรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก ได้รับแสงแดดมากเกินไป สูบบุหรี่ พันธุกรรมที่สืบทอดมา ร่างกายขาดน้ำ อายุที่มากขึ้น การเสื่อมสภาพของร่างกาย ประโยชน์ด้านความงามของนมเปรี้ยวและขมิ้น ก่อนจะไปพบกับสูตรบำรุงขอบตานั้นมาทำความรู้จักกับประโยชน์ด้านความงามของนมเปรี้ยวและขมิ้นกันก่อนดีกว่าว่ามีข้อดีอะไรกันบ้าง นมเปรี้ยว มีส่วนประกอบของกรดแลคติค (Lactic) เป็นกรดธรรมชาติซึ่งอยู่ในนมเป็นส่วนใหญ่ นอกจากที่นำมาดื่มเพื่อสุขภาพร่างกายแล้ว ยังสามารถใช้ในการบำรุงผิวพรรณ ผลัดเซลล์ผิวเก่าออกทำให้ผิวนุ่มชุ่มชื้น จุดด่างดำจางลง และรอยเหี่ยวย่นดูตื้นขึ้นตามลำดับ เช่นเดียวกันกับการที่นำนมเปรี้ยวมาพอกบริเวณขอบตาที่มีความหมองคล้ำ กรดแลคติคในนมเปรี้ยวจะลดความดำและร่องรอยเหี่ยวย่นต่างๆ ที่เกิดจากการเหนื่อยล้าของรอบดวงตาได้ในระดับดี ขมิ้น เป็นสมุนไพรพื้นบ้านที่รู้จักกันดีในบรรดากลุ่มสาวๆ และถูกกล่าวถึงอย่างมากในเรื่องของการบำรุงผิวพรรณให้ผ่องใส เนื่องจากขมิ้นมีสาร เคอร์คูมิน (Curcumin) เป็นสารจำพวกเดียวกับที่อยู่ในขิง มีคุณสมบัติต้านการอักเสบ ป้องกันแบคทีเรียปรสิต และสารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) ช่วยชะลอความเสื่อมสภาพของเซลล์ต่างๆ นอกจากบำรุงผิวกายที่คุณคุ้นเคยกันดีแล้ว ยังสามารถนำมาบำรุงขอบตาที่ดำคล้ำเพื่อให้สารเคอร์คูมิน (Curcumin) และสารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) ที่อยู่ในขมิ้นลดอาการอักเสบบวมของหลอดเลือดที่พองขึ้นทำให้ระบบไหลเวียนเลือดกลับมาสมดุลและดวงตาค่อยๆ กลับมาสว่างอีกครั้ง สูตรบำรุง ขอบตาดำ ให้กลับมาไบร์ท […]


โรคตา

Computer Vision Syndrome สาเหุต อาการ และการรักษา

Computer Vision Syndrome (คอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม) หรือ CVS คือ กลุ่มอาการที่เกี่ยวข้องกับดวงตา ส่งผลให้การมองเห็นเปลี่ยนแปลงหลังจากจ้องมองหน้าจอคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ดิจิทัลเป็นเวลานาน เช่น โทรศัพท์มือถือ หากไม่พักสายตา หรือละลายสายตาออกมาจากหน้าจอบ้าง ก็อาจทำให้ตาพร่า ระคายเคืองตา แสบตา และตาแห้งได้ คำจำกัดความComputer vision syndrome คืออะไร Computer Vision Syndrome (คอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม) หรือ CVS คือภาวะเกี่ยวข้องกับดวงตา เกิดจากการใช้สายตาจดจ่ออยู่กับหน้าจอคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต หรือแม้แต่การอ่านหนังสือ เป็นเวลานาน โดยไม่พักสายตา ซึ่งพบได้บ่อยในเด็ก และผู้ใหญ่ หากไม่ปรับปรุงพฤติกรรมเช่นนี้ก็อาจทำให้การโฟกัสในตาเสื่อมสภาพลง มองเห็นสิ่งรอบตัวเป็นภาพเบลอภาพซ้อน มีอาการตาล้า ตาแห้ง  และอาจเสี่ยงเผชิญกับปัญหาทางสายตาต่าง ๆ เมื่ออายุมากขึ้น เช่น สายตายาว อาการอากาของComputer vision syndrome อาการComputer vision syndrome สามารถสังเกตได้จากสัญญาณเตือน ดังนี้ ปวดตา ตาแห้ง ตาแดง ระคายเคืองตา โฟกัสวัตถุยาก มองเห็นเป็นภาพซ้อน ภาพเบลอ ปวดศีรษะจากอาการปวดตา ปวดคอ และปวดไหล่จากการนั่งอยู่ที่เดิมเป็นเวลานาน สาเหตุสาเหตุComputer vision […]


สุขภาพตา

กระจกตาอักเสบ สาเหตุ อาการ และการรักษา

กระจกตาอักเสบ (Keratitis) เป็นภาวะที่เกิดขึ้นกับกระจกตาชั้นนอกที่มีลักษณะโปร่งใส่ ซึ่งอยู่ด้านหน้าของตา กระจกตานั้นมีหน้าที่ในการช่วยให้มองเห็นวัตถุได้ชัดเจน เมื่อเกิดอาการกระจกตาอักเสบ อาจทำให้เกิดอาการเจ็บปวด ส่งผลต่อการมองเห็น และทำให้ดวงตาไวต่อแสงมากขึ้น ซึ่งการที่กระจกตาอักเสบนั้นมีด้วยกันหลายสาเหตุด้วยกัน สาเหตุของกระจกตาอักเสบ กระจกตาอักเสบนั้นสามารถเกิดจากหลายสาเหตุด้วยกัน โดยสาเหตุต่างๆ ที่ทำให้เกิดอาการกระจกตาอักเสบ มีดังนี้ ความเสียหายของกระจกตา : หากกระจกตามีรอยขีดข่วน จนเกิดการบาดเจ็บ อาจทำให้เชื้อจุลินทรีย์สามารถเข้าสู่กระจกตาที่เสียหาย จนเกิดอาการติดเชื้อและกลายเป็นกระจกตาอักเสบได้ คอนแทคเลนส์สกปรก : บนผิวของคอนแทคเลนส์อาจจะมีแบคทีเรีย เชื้อรา หรือปรสิตอาศัยอยู่ นอกจากนั้นในที่เก็บคอนแทคเลนส์ก็อาจจะมีสิ่งเหล่านี้อาศัยอยู่เช่นกัน เมื่อใส่คอนแทคเลนส์เข้าไปในดวงตา จึงทำให้แบคทีเรีย เชื้อรา หรือเชื้อปรสิตที่ปนเปื้อนอยู่สัมผัสกับกระจกตา จนทำให้เกิดอาการกระจกตาอักเสบ นอกจากนั้นแล้วพฤติกรรมการใส่คอนแทคเลนส์ก็มีผลเช่นกัน อาทิ การใส่คอนแทคเลนส์นานเกินไป การใส่คอนแทคเลนส์ตอนนอน ก็อาจทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคกระจกตาอักเสบ ไวรัส : ไวรัสเริมอาจทำให้เกิดอาการกระจกตาอักเสบ แบคทีเรีย : แบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคหนองในก็สามารถทำให้กระจกตาอักเสบได้เช่นกัน น้ำที่ปนเปื้อน : แบคทีเรีย เชื้อรา หรือปรสิต ที่อยู่ในมหาสมุทร ทะเลสาบ รวมถึงอ่างน้ำร้อน สามารถเข้าสู่ตาได้เมื่อว่ายน้ำและอาจทำให้กระจกตาอักเสบ อย่างไรก็ตามหากกระจกตามีสุขภาพที่ดี ก็อาจจะไม่ติดเชื้อ แต่เมื่อใดที่กระจกตาเกิดความเสียหาย อาจจะส่งผลให้เกิดการติดเชื้อจนส่งผลให้กระจกตาอักเสบ ภูมิคุ้มกันลดลง : หากระบบภูมิคุ้มกันถูกบุกรุกด้วยโรคหรือยา ก็อาจมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคกระจกตาอักเสบ การใช้ยาหยอดตา : ยาหยอดตาคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids) […]


ปัญหาตาแบบอื่น

ตาแดง เพียงแค่สบตา ก็ติดต่อกันได้จริงเหรอ

เราอาจจะเคยได้ยินผู้เฒ่าผู้แก่หลาย ๆ คนบอกไม่ให้เราสบตากับคนที่เป็น ตาแดง หรือให้แลบลิ้นใส่คนที่เป็นตาแดงเพื่อแก้เคล็ดไม่ให้โรคติดต่อกัน แต่โรคนี้สามารถติดต่อสู่คนอื่นได้จากการสบตาจริง ๆ หรือไม่อย่างไร สาเหตุเกิดจากอะไร และป้องกันโรคได้อย่างไรบ้าง [embed-health-tool-bmi] ตาแดง เกิดจากอะไร ตาแดง (Conjunctivitis or Pink eye) เป็นอาการอักเสบของเยื่อบุลูกตา ซึ่งคือส่วนที่เป็นสีขาวของดวงตาและภายในเปลือกตา ตาแดงนั้นสามารถเกิดได้ทั้งจากการติดเชื้อและไม่ใช่การติดเชื้อ แต่โดยส่วนใหญ่นั้นมักจะเกิดจากการติดเชื้อ และสามารถแพร่กระจายไปสู่ผู้อื่นได้ โดยปกติแล้ว ตาแดง มักจะพบได้มากในเด็ก แต่ก็สามารถเกิดขึ้นกับวัยรุ่นหรือผู้ใหญ่ได้เช่นกัน ตาแดง จากการติดเชื้อได้ทั้งเชื้อไวรัสและเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งมักจะเป็นเชื้อประเภทเดียวกันกับเชื้อที่ทำให้เกิดโรคหวัดและการติดเชื้ออื่น ๆ เช่น การติดเชื้อที่หู การติดเชื้อที่ไซนัส หรืออาการเจ็บคอจากการติดเชื้อ ยิ่งไปกว่านั้น เชื้อแบคทีเรียนั้นยังอาจจะเป็นเชื้อประเภทเดียวกันกับเชื้อที่ทำให้เกิดโรคหนองในได้เช่นกัน หากได้สัมผัสกับบริเวณอวัยวะเพศของผู้ที่ติดเชื้อหนองใน แล้วมาขยี้ตาโดยไม่ได้ล้างมือ ความแตกต่างของ โรคตาแดง จากเชื้อไวรัสและเชื้อแบคทีเรีย ตาแดง จากเชื้อไวรัส โรคตาแดงจากเชื้อไวรัสนั้นอาจเกิดขึ้นได้จากเชื้อไวรัสที่แพร่กระจายมาจากบริเวณจมูก หรือเกิดจากเชื้อไวรัสที่ได้รับเมื่อมีคนมาไอหรือจามใส่ ตาแดง จากเชื้อแบคทีเรีย โรคตาแดงจากเชื้อแบคทีเรียนั้นมักจะมาจากเชื้อแบคทีเรียที่มาจากระบบทางเดินหายใจหรือแบคทีเรียบนผิวหนัง นอกจากนี้ อาจมีโอกาสที่จะติดเชื้อแบคทีเรียจากการสัมผัสกับมือที่สกปรก ใช้เครื่องสำอางที่ปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรีย หรือแบ่งปันของใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้ที่ติดโรคตาแดงอยู่ได้เช่นกัน ตาแดง จากการติดเชื้อทั้ง 2 ประเภทนั้น มักจะมีอาการที่คล้ายกัน คือ มีอาการตาแดงในบริเวณลูกตาขาว มีน้ำตาไหล […]


การดูแลสุขภาพตา

เลสิก การรักษาสายตายอดฮิตในหมู่วัยรุ่น

ในชีวิตประจำวันเราใช้ดวงตาในการมองสิ่งต่าง ๆ รอบตัว หากเกิดอะไรขึ้นกับดวงตาของเรา การทำกิจกรรมในแต่ละวันของเราคงยากลำบาก การทำเลสิกจึงเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกในการรักษาค่าสายตาให้กลับเข้าสู่ภาวะปกติ ที่ปัจจุบันได้รับความนิยมมากขึ้น โดยเฉพาะในหมู่วัยรุ่น เนื่องจากประหยัดเวลา มีความรวดเร็ว ไม่ต้องทนใส่แว่นสายตา และผลออกมาแม่นยำเป็นที่น่าพอใจ วันนี้ Hello คุณหมอ เลยอยากชวนคุณมาทำความรู้จักการทำ เลสิก ว่าดีอย่างไร ทำไมถึงฮิตในหมู่วัยรุ่นนัก เลสิก (Lasik) คืออะไร เลสิก คือ การผ่าตัดแก้ไขผู้มีปัญหาทางสายตา เช่น สายตายาว สายตาสั้น สายตาเอียง เป็นการผ่าตัดโดยการเปิดกระจกตาและยิงเลเซอร์เข้าที่กระจกตาเพื่อปรับความโค้ง ให้ได้ตามค่าสายตาที่ต้องการ จากนั้นจึงค่อยปิดกระจกตาลง การทำเลสิกเป็นการผ่าตัดแบบไม่มีแผลเย็บ และมีขนาดแผลเล็ก จึงทำให้ไม่รู้สึกเจ็บปวดมาก การตรวจสายตานั้นสำคัญอย่างไร ? ดวงตาเป็นอวัยวะส่วนหนึ่งในร่ายกายที่เราไม่ควรละเลย เพราะสามารถบ่งบอกถึงโรคอื่น ๆ ตามมาได้ ไม่ว่าจะเป็น โรคเบาหวาน ความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ นอกจากโรคเหล่านี้แล้ว หากคุณละเลยการตรวจสายตา ก็อาจทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนต่าง ๆ เหล่านี้ได้ด้วย ต้อหิน (Glaucoma) หากใครที่กำลังเป็นต้อหิน ควรรู้ไว้ว่าต้อหินสามารถทำลายเส้นประสาทและระบบประสาทของคุณได้ ยิ่งหากคุณไม่เคยเข้ารับการหรือรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ ก็อาจทำให้คุณกลายเป็นคนตาบอดได้เลย ต้อกระจก (Cataract) มักพบในวัยผู้สูงอายุ แต่ไม่ใช่ว่าช่วงวัยรุ่นหรือวัยอื่น ๆ […]


สุขภาพตา

กลุ่มอาการเอดี สาเหตุ อาการ และการรักษา

กลุ่มอาการเอดี (Adie syndrome หรือ Holmes-Adie syndrome) คือ ความผิดปกติของระบบประสาทที่หายาก ส่งผลให้รูม่านตาขยายออกมากกว่าปกติ ซึ่งอาจเกิดจากการบาดเจ็บที่ดวงตา การติดเชื้อ การผ่าตัด โรคนี้ไม่จำเป็นต้องทำการรักษา แต่อาจต้องใช้ยาหยอดตาและสวมแว่นตาเพื่อช่วยบรรเทาอาการ และทำให้สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ คำจำกัดความกลุ่มอาการเอดี คืออะไร กลุ่มอาการเอดี คือ ความผิดปกติของระบบประสาทที่พบได้ยาก มีผลกระทบที่รูม่านตาในตา ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีรูม่านตาที่ขยายใหญ่กว่าปกติ ร่วมกับปฏิกิริยาตอบสนองของเอ็นกล้ามเนื้อ (Deep tendon reflexes) น้อยกว่าปกติหรือไม่มีปฏิกิริยาเลย ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดกลุ่มอาการเอดีที่แน่ชัด แต่การผ่าตัด การติดเชื้อ ภาวะบาดเจ็บ (Trauma) หรือการขาดเลือดเฉพาะที่ก็สามารถส่งผลให้เกิดกลุ่มอาการเอดีได้เช่นกัน ในกรณีหายาก อาจพบภาวะการขัดขวางหรือรบกวนการหลั่งเหงื่อเฉพาะที่ร่วมด้วย กลุ่มอาการเอดีพบได้บ่อยแค่ไหน กลุ่มอาการเอดีส่งผลกระทบต่อผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โดยปกติแล้วจะเกิดในผู้ใหญ่อายุระหว่าง 25-45 ปี นอกจากจะเป็นที่รู้จักในชื่อ “กลุ่มอาการเอดี” แล้ว ยังรู้จักกันในชื่อต่อไปนี้ด้วย รูม่านตาเอดิอี กลุ่มอาการเอดิอี เอดิอี โทนิค ซินโดรม กลุ่มอาการ โฮล์ม-เอดิอี พาพิโลโทนิค ซุยโดเทมส์ โทนิล พิวเพิล ซินโดรม อาการทั่วไปของกลุ่มอาการเอดิอี โปรดปรึกษาคุณหมอสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการอาการของกลุ่มอาการเอดี โดยปกติแล้ว รูม่านตาของคนเราจะหดตัวเล็กลง เมื่อต้องโฟกัสแสงจ้าหรือเมื่อโฟกัสไปบนวัตถุใกล้ และรูม่านตาจะเบิกกว้าง เมื่ออยู่ในแสงสลัว ในที่มืด ต้องโฟกัสวัตถุที่ไกลออกไป หรือเมื่อบุคคลนั้นรู้สึกตื่นเต้น ผู้ป่วยกลุ่มอาการเอดีส่วนใหญ่ รูม่านตาจะเบิกกว้างกว่าปกติตลอดเวลา ไม่ค่อยหดตัวหรือไม่ตอบสนองต่อแสงที่ผ่านเข้าตา เมื่อต้องโฟกัสวัตถุที่อยู่ใกลๆ้ รูม่านตาของผู้ป่วยกลุ่มอาการเอดีนี้จะค่อยๆ […]


สุขภาพตา

เล่นมือถือในที่มืดอันตรายต่อดวงตาอย่างไร

เล่นโทรศัพท์ในที่มืด อาจสร้างอันตรายร้ายแรงให้กับดวงตา เนื่องจากแสงสีฟ้าที่มาจากหน้าจอโทรศัพท์มือถืออาจทำให้เกิดอาการระคายเคืองตา แสบตา และตาแห้ง นอกจากนี้อาจทำให้เกิดโรคศูนย์กลางจอประสาทตาเสื่อม จนสูญเสียการมองเห็นได้ นอกจากนี้การเล่นโทรศัพท์ในที่มืดอาจเพิ่มความเข้มของแสงสีฟ้ามากขึ้นและยับยังการหลั่งเมลาโทนิน ซึ่งรบกวนจังหวะการเต้นของหัวใจและการนอนหลับ การดูแลดวงตาให้ปลอดภัยจากแสงสีฟ้าจึงอาจช่วยถนอมสายตาและสุขภาพโดยรวมได้ อาการเมื่อเล่นโทรศัพท์ในที่มืด งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยมาดริด ประเทศสเปน ได้ทำการศึกษาวิจัยโดยให้กลุ่มตัวอย่างที่มีสายตาปกติ และไม่มีปัญหาเกี่ยวกับดวงตาที่เกิดจากการใช้คอมพิวเตอร์ โดยให้กลุ่มตัวอย่างอ่านข้อความจากโทรศัพท์มือถือและอ่านจากกระดาษ ในสภาพแสงสว่างและความมืด ผลการวิจัยพบว่า การเล่นโทรศัพท์ในที่มืดเป็นเวลานานทำให้มีอาการ ดังนี้ สายตาพร่ามัวในขณะที่อ่านข้อความ และเมื่อมองระยะไกล ไม่สามารถปรับโฟกัสภาพ จากระยะหนึ่งไปอีกระยะหนึ่งได้ดีเท่าที่ควร ระคายเคืองตา หรือแสบตา ตาแห้ง ไวต่อแสงจ้า เมื่อยล้าดวงตา และรู้สึกไม่สบายตา นอกจากนี้ งานวิจัยยังพบอีกว่า การเล่นโทรศัพท์ในที่มืด อาจทำให้อาการระคายเคืองตา แสบตา และตาแห้ง มีอากรที่แย่ลงได้ เมื่อเทียบกับการอ่านจากกระดาษ อันตรายของแสงสีฟ้าจากการเล่นโทรศัพท์ในที่มืด งานวิจัยที่เผยแพร่ในวารสารวิชาการ Scientific Reports ได้เผยแพร่ข้อมูลว่า การจองมองแสงสีฟ้าที่มาจากหน้าจอโทรศัพท์มือถือและคอมพิวเตอร์ที่มากเกินไป สามารถสร้างความเสียหายให้เซลล์เรตินา (retinal cells) และแสงสีฟ้าอาจทำให้เกิดโรคศูนย์กลางจอประสาทตาเสื่อม (Macular Degeneration) รวมถึงโรคเกี่ยวกับดวงตาอื่น ๆ  จนอาจนำไปสู่การสูญเสียการมองเห็นในที่สุด อย่างไรก็ตาม การหลีกเลี่ยงจากแสงสีฟ้าอาจเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก เพราะนอกจากจะมีในโทรศัพท์และคอมพิวเตอร์แล้ว แสงสีฟ้าอาจมาจากแสงอาทิตย์ได้เช่นกัน ดังนั้นนักวิจัยจึงแนะนำว่า ควรระวังการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หรือเล่นโทรศัพท์ในที่มืด เพราะการดูหน้าจอในที่มืดนั้นสามารถทำให้สายตาต้องจ้องกับแสงสีฟ้าโดยตรง จนอาจส่งผลกระทบต่อดวงตาได้ วิธีใช้โทรศัพท์เพื่อถนอมสายตา ควรอยู่ห่างจากหน้าจอประมาณ […]


ปัญหาตาแบบอื่น

เตรียมพร้อมรับมือกับ ภาวะสายตายาวตามวัย ในวัยใกล้ 40

หากคุณมีอายุเกิน 40 ปี และต้องเหยียดแขนถือหนังสือ เพื่อที่จะได้มองเห็นตัวหนังสือไกลมากกว่าปกติแล้วล่ะก็ คุณอาจมีโอกาสที่คุณกำลังมี ภาวะสายตายาวตามวัย แล้วล่ะ วันนี้ Hello คุณหมอ จะพาไปอ่านกันว่าภาวะนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร ภาวะสายตายาวตามวัยคืออะไร ภาวะสายตายาวตามวัย (Presbyopia) คือภาวะที่เกิดในกลุ่มคนอายุเกิน 40 ปี ซึ่งมีปัญหาทางด้านการมองเห็นในระยะใกล้ คำว่า Presbyopia มีรากศัพท์มาจากภาษากรีกซึ่งแปลว่า ดวงตาที่แก่ตัวลง ซึ่งคนจำนวนมากจะรับรู้ถึงความเปลี่ยนแปลงด้านสายตาเมื่อมีอายุ 40 ปีขึ้นไป แม้ชื่อจะฟังแล้วไม่ค่อยเป็นที่ถูกใจสักเท่าไหร่ แต่มันไม่ใช่โรคร้าย เป็นเพียงภาวะปกติที่เกิดขึ้นได้เมื่อคนเราอายุมากขึ้นเท่านั้นเอง ตอนที่เราอายุยังน้อย เลนส์ดวงตาเรายังมีควาอ่อนตัวและยืดหยุ่นสูง สามารถรับการมองเห็นรูปภาพและสิ่งของได้ในระยะที่ทั้งใกล้และไกล แต่เมื่อมีอายุถึง 40 ปี เลนส์ดวงตาจะแข็งตัวและไม่สามารถทำงานได้ดีเหมือนอย่างเคย ความยืดหยุ่นของดวงตาที่ลดลงอย่างต่อเนื่องตามวัยนี่เองที่ทำให้เกิดภาวะสายตายาวตามวัย โดยเป็นเรื่องยากที่จะมองเห็นภาพชัดในระยะใกล้ๆ แต่การมองเห็นในระยะไกลยังคงเป็นปกติดี ภาวะสายตายาวตามวัยกับปัญหาสายตาชนิดอื่นๆ ปกติแล้ว มักเกิดความสับสนระหว่างภาวะสายตายาวสูงอายุกับอาการสายตายาวทั่วไป เนื่องจากทั้งสองภาวะนี้มีอาการที่คล้ายคลึงกันมาก แต่สิ่งที่ไม่เหมือนกันก็คือสาเหตุของปัญหา โดยภาวะสายตายาวตามวัย จะเกิดขึ้นเมื่อเลนส์ตาของเรานั้นมีความยืดหยุ่นน้อยลง เมื่ออายุมากขึ้น ในขณะที่ สายตายาวทั่วไป เกิดจากรูปทรงของดวงตาผิดปกติ ซึ่งทำให้การหักเหของแสงเข้าสู่ดวงตาเพื่อสร้างภาพไม่ถูกต้อง ส่งผลให้เวลามองภาพที่อยู่ในระยะใกล้ ภาพจะพร่ามัวและไม่ชัดเจน ทุกคนสามารถเกิดภาวะสายตายาวตามวัยได้เมื่ออายุมากขึ้น สำหรับผู้ที่มีภาวะสายตายาว สายตาสั้น หรือสายตาเอียงอยู่แล้ว ก็สามารถเกิดอาการสายตายาวตามวัยร่วมด้วยได้เช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น ผู้ที่มีสายตาสั้นจะพบว่า การมองภาพระยะใกล้มีความพร่ามัว แม้จะใส่คอนแท็คเลนส์หรือแว่นสายตาที่เคยใส่แล้วก็ตาม อาการของภาวะสายตายาวตามวัย ผู้ที่มีภาวะสายตายาวตามวัยจะไม่สามารถอ่านหนังสือได้ เนื่องจากสายตาพร่ามัว […]


ปัญหาตาแบบอื่น

สายตายาวตามวัย (Presbyopia)

สายตายาวตามวัย (Presbyopia) คือ ภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อดวงตาสูญเสียความสามารถในการมองเห็นสิ่งของระยะใกล้ นี่คือสิ่งที่น่าหงุดหงิดสำหรับการมีอายุที่มากขึ้น คำจำกัดความสายตายาวตามวัย คืออะไร สายตายาวตามวัย (Presbyopia) คือ ภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อดวงตาสูญเสียความสามารถในการมองเห็นสิ่งของระยะใกล้ นี่คือสิ่งที่น่าหงุดหงิดสำหรับการมีอายุที่มากขึ้น ภาวะสายตายาวตามวัยโดยทั่วไปมักเกิดขึ้นในช่วงต้นอายุ 40 และการมองเห็นจะแย่ลงอย่างต่อเนื่องจนถึงอายุ 65 ปี หลายท่านอาจทราบถึงการมีภาวะสายตายาวตามวัย เมื่อต้องเริ่มถือหนังสือหรืออ่านหนังสือพิมพ์ในระยะสุดปลายแขน การตรวจสอบดวงตาขั้นพื้นฐานสามารถยืนยันถึงการมีภาวะสายตายาวตามวัยได้ คุณสามารถรักษาภาวะนี้ได้ด้วยการสวมใส่แว่นตาหรือคอนแท็คเลนส์ รวมถึงอาจพิจารณาการผ่าตัดได้เช่นกัน สายตายาวตามวัย พบได้บ่อยเพียงใด ผู้ที่มีอายุเกิน 35 ปีมีความเสี่ยงที่จะพัฒนาสู่ภาวะสายตายาวตามวัย และเมื่อถึงจุดหนึ่งแล้ว ทุกคนก็จะเลี่ยงไม่ได้ที่จะเกิดภาวะนี้ แต่อย่างไรก็ตาม ภาวะนี้สามารถจัดการได้โดยลดความเสี่ยง โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการอาการของสายตายาวตามวัย ภาวะสายตายาวตามวัยไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นอย่างปัจจุบันทันด่วน คุณอาจสัมผัสอาการเหล่านี้ได้เป็นครั้งแรก หลังจากอายุ 40 ปีขึ้นไป ต้องอ่านหนังสือในระยะไกลกว่าปกติถึงจะมองเห็นตัวอักษรได้ชัด มองเห็นไม่ชัดเจนในระยะอ่านหนังสือปกติ ปวดตาหรือปวดศีรษะหลังอ่านหนังสือหรือทำงานที่ต้องใช้สายตา อาการเหล่านี้อาจแย่ลงเมื่อมีอาการเหนื่อยล้า ดื่มแอลกอฮอล์ หรืออยู่ในที่ที่มีแสงสว่างไม่เพียงพอ ควรไปพบหมอเมื่อใด ควรไปพบหมอถ้าสายตาเป็นอุปสรรคต่อการอ่านหนังสือ ส่งผลต่อการทำงานที่ต้องใช้สายตา และกระทบต่อกิจกรรมอื่นๆ ในชีวิต คุณหมอสามารถตรวจได้ว่าผู้เกิดอาการมีภาวะสายตายาวสูงอายุหรือไม่ และจะแนะนำทางเลือก รวมถึงค้นหาวิธีการรักษาโดยทันที ถ้าผู้เข้ารับการตรวจมีอาการดังต่อไปนี้ สูญเสียการมองเห็นในดวงตาข้างหนึ่งอย่างกะทันหัน เกิดอาการสายตาพร่ามัวอย่างกะทันหัน เห็นแสงสว่างวาบ เห็นจุดดำ หรือเห็นรัศมีรอบแสงไฟ สาเหตุสาเหตุของสายตายาวตามวัย กระบวนการรับภาพของคนเรานั้น ดวงตาต้องอาศัยกระจกตา ซึ่งมีรูปทรงคล้ายโดมใสที่อยู่บนพื้นผิวด้านหน้าของดวงตา และเลนส์ดวงตา ซึ่งมีลักษณะใส ทำหน้าที่รับแสงที่สะท้อนมาจากวัตถุต่างๆ ทั้งสองส่วนนี้จะช่วยหักเหแสงที่เข้ามาผ่านดวงตาไปยังเรตินา ซึ่งตั้งอยู่บนผนังด้านหลังดวงตาของเรา และทำให้เราเห็นเป็นภาพต่างๆ เลนส์ดวงตานั้นไม่เหมือนกับกระจกตา เลนส์ดวงตามีความยืดหยุ่นและสามารถเปลี่ยนรูปทรงได้ โดยอาศัยกล้ามเนื้อวงแหวนที่อยู่บริเวณโดยรอบ เมื่อคนเรามองวัตถุในระยะไกล กล้ามเนื้อวงแหวนส่วนนี้จะคลายตัว ในทางกลับกัน เมื่อคนเรามองวัตถุที่อยู่ในระยะใกล้ […]


ต้อกระจก

ต้อกระจกในผู้สูงอายุ โรคตายอดฮิตที่มาเยือนยามแก่

คุณอาจทราบกันดีอยู่แล้วว่าเมื่อคนเราแก่ตัวลง ก็มีโอกาสที่จะเจ็บป่วยได้มากขึ้น และ ต้อกระจก คือ ความเจ็บป่วยอย่างหนึ่งที่สามารถพบได้ทั่วไปในกลุ่มผู้สูงอายุ และเป็นสาเหตุของสูญเสียการมองเห็นในที่สุด โดยอาจเป็นได้ในดวงตาข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้ง 2 ข้าง  Hello คุณหมอ จึงชวนคุณมาทำความเข้าใจกับข้อมูลพื้นฐานว่า ต้อกระจกในผู้สูงอายุ เกิดขึ้นได้อย่างไร และจะรักษาให้ดีขึ้นได้อย่างไรหลังถูกวินิจฉัยว่าเป็นต้อกระจก ต้อกระจกคืออะไร ต้อกระจก คืออาการที่เลนส์ดวงตาเกิดความขุ่นมัว โดยเลนส์ดวงตาจะตั้งอยู่บริเวณหลังม่านตาและตาดำ ในดวงตาที่ปกตินั้น แสงจะผ่านเลนส์ที่มีลักษณะโปร่งใสมายังจอตา เมื่อแสงกระทบกับจอตา แสงจะเปลี่ยนเป็นสัญญาณและถูกส่งไปยังสมอง เลนส์ดวงตาที่ดีจึงควรมีความชัดเจนเพื่อให้จอตารับภาพได้อย่างคมชัด ถ้าเลนส์ดวงตาขุ่นมัวเพราะต้อกระจก ภาพที่ผู้ป่วยเห็นก็จะพร่ามัวตามไปด้วย ผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป มักมีความเสี่ยงที่จะเป็นต้อกระจก และที่น่ากังวลก็คือ ต้อกระจก คือ สาเหตุอันดับต้นๆ ที่นำไปสู่อาการตาบอดของคนทั่วโลก สาเหตุของ ต้อกระจกในผู้สูงอายุ เลนส์ดวงตานั้นถูกสร้างขึ้นจากน้ำและโปรตีน โปรตีนจะถูกเก็บรักษาไว้เพื่อช่วยคงสภาพให้เลนส์ดวงตามีความชัดเจน และช่วยให้แสงผ่านทะลุไปได้ เมื่อคนเราแก่ตัวลง โปรตีนอาจจะจับตัวเป็นกลุ่มก้อน ทำให้บางส่วนของเลนส์ดวงตามีความขุ่นมัว และนี่คือที่มาของต้อกระจกนั่นเอง เมื่อเวลาผ่านไป ต้อกระจกจะมีขนาดที่ใหญ่ขึ้นและทำให้เลนส์ดวงตามีความขุ่นมัวมากขึ้น ส่งผลให้ผู้ป่วยมีปัญหาในการมองเห็นเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ สาเหตุหลักของการเกิดต้อกระจก มีดังนี้ ได้รับรังสีอัลตราไวโอเลตจากแสงอาทิตย์หรือจากแหล่งอื่นๆ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคอ้วน สูบบุหรี่ มีสมาชิกในครอบครัวเคยเป็นมาก่อน ใช้ยาประเภทคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids) เป็นเวลานาน ดวงตาเคยเกิดการบาดเจ็บหรือมีอาการอักเสบ เคยเข้ารับการผ่าตัดดวงตา เข้ารับการบำบัดด้วยฮอร์โมนทดแทน (Hormone replacement therapy) ดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก การเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากออกซิเดชั่นในเลนส์ดวงตา สัญญาณและอาการของต้อกระจก มองเห็นภาพขุ่นมัว มองเห็นสีสันได้ไม่สดใสอย่างที่เคยเป็น มองเห็ แสงไฟ โคมไฟ หรือแสงแดด มีความสว่างจ้ามากกว่าปกติ หรืออาจเห็นรัศมีรอบแสงไฟด้วย ไม่สามารถมองเห็น หรือ มองเห็นได้ยากในเวลากลางคืน เห็นภาพซ้อนในดวงตาข้างใดข้างหนึ่ง […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน