สุขภาพตา

คุณรู้หรือเปล่าว่า ดวงตา คือหนึ่งในอวัยวะรับสัมผัส ที่พัฒนามากที่สุดในร่างกายของมนุษย์ เราจำเป็นต้องพึ่งการมองเห็นในการใช้ชีวิตประจำวันอย่างเป็นปกติ ดังนั้น การดูแลรักษา สุขภาพดวงตา ให้ดี จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ เรียนรู้เกี่ยวกับ สุขภาพตา และการดูแลรักษาสุขภาพดวงตาของคุณ ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพตา

ตาบอดสีรู้ได้อย่างไร ทดสอบตาบอดสี มีอะไรบ้าง

ตาบอดสี เป็นภาวะบกพร่องของประสาทสัมผัสการรับรู้สึก อาจเกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม ทำให้มีการมองเห็นสีที่ผิดปกติตั้งแต่กำเนิด แต่ก็อาจเกิดได้จากสาเหตุอื่น การ ทดสอบตาบอดสี ทำได้ด้วยการทำแบบทดสอบแยกสีในแผ่นกระดาษ ในหน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือการใช้เครื่องมือแยกสี โดยส่วนใหญ่แล้ว อาการตาบอดสีไม่สามารถรักษาให้หายได้ ยกเว้นภาวะที่เกิดจากการใช้ยาหรือเกิดจากปัญหาของดวงตาที่เพิ่งมีขึ้นในภายหลัง คุณหมออาจวางแผนการรักษาให้การมองเห็นสีดีขึ้น [embed-health-tool-bmi] ตาบอดสี คืออะไร ภาวะตาบอดสี (Color Blindness) คือ ความผิดปกติของดวงตาในการตอบสนองต่อความยาวคลื่นแสงต่าง ๆ โดยทั่วไป แสงที่มีความยาวคลื่นของทุกสีจะเดินทางเข้าสู่ดวงตาทางกระจกตาผ่านทางเลนส์ตาและวุ้นตาเข้าไปยังเซลล์รูปกรวยในดวงตาที่อยู่บริเวณจุดรับภาพของจอประสาทตาหรือเรตินา (Retina) เซลล์รูปกรวยจะมีความไวต่อแสงความยาวคลื่นสั้น (สีน้ำเงิน) ปานกลาง (สีเขียว) หรือยาว (สีแดง) ที่ทำให้สามารถรับรู้สีได้ตามปกติ แต่หากเซลล์รูปกรวยขาดสารเคมีที่ไวต่อความยาวคลื่นอย่างน้อย 1 ชนิด ก็จะส่งผลให้การรับรู้สีแตกต่างไปจากคนทั่วไป ตาบอดสี เกิดจากอะไร ตาบอดสี เป็นความผิดปกติที่สืบทอดทางพันธุกรรม ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นตาบอดสีมักจะมีโอกาสเป็นตาบอดสีได้มากกว่าคนทั่วไป และมักมีภาวะนี้ตั้งแต่กำเนิดและส่งผลต่อดวงตาทั้ง 2 ข้าง ตามปกติแล้วความรุนแรงจะไม่เพิ่มขึ้นตามอายุที่มากขึ้นและพบได้ในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง สำหรับผู้ที่มีภาวะนี้ในภายหลังอาจเกิดได้เมื่อสมองหรือดวงตาได้รับความเสียหาย ซึ่งทำให้การมองเห็นสีเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ตาบอดสีมักทำให้สับสนในการแยกแยะสีในชีวิตประจำวันและมองเห็นสีบางสีที่ไม่สดใสเท่าผู้ที่มีสายตาปกติ คนส่วนใหญ่ที่ตาบอดสีไม่สามารถแยกความแตกต่างระหว่างสีแดงและสีเขียวบางเฉดได้ ในบางกรณีซึ่งพบได้ไม่บ่อย คนตาบอดสีจะไม่สามารถแยกความแตกต่างระหว่างเฉดสีฟ้าและสีเหลืองได้ ทั้งนี้ ผู้ที่ตาบอดสีไม่ได้มีความเสี่ยงในการสูญเสียการมองเห็นหรือตาบอด ประเภทของตาบอดสี ตาบอดสี อาจแบ่งได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้ ตาบอดสีแดง-เขียว เป็นลักษณะที่พบได้บ่อยที่สุด โดยผู้ที่ตาบอดสีจะแยกความแตกต่างระหว่างสีแดงและสีเขียวได้ยากกว่าปกติ […]

หมวดหมู่ สุขภาพตา เพิ่มเติม

สำรวจ สุขภาพตา

โรคตา

ตาบอดกลางคืน สาเหตุ อาการ และการรักษา

ตาบอดกลางคืน เป็นภาวะที่ทำให้มองเห็นสิ่งรอบตัวช่วงเวลากลางคืน หรือในพื้นที่ที่มีแสงน้อยได้ไม่ดี ซึ่งเกิดจากความผิดปกติของเรตินา และปัญหาเกี่ยวกับดวงตา เช่น สายตาสั้น สายตายาว หากสังเกตว่าตัวเองเริ่มมีการมองเห็นเปลี่ยนแปลงเป็นภาพเบลอไม่คมชัดโดยเฉพาะในช่วงเวลากลางคืน ควรเข้ารับการตรวจสายตาเพื่อหาสาเหตุ และรับการแก้ไข เพื่อปรับให้การมองเห็นมีประสิทธิภาพมากขึ้น คำจำกัดความตาบอดกลางคืน คืออะไร ตาบอดกลางคืน คือ ความผิดปกติทางการมองเห็นประเภทหนึ่ง ทำให้ความสามารถในการมองเห็นแย่ลงโดยเฉพาะในช่วงเวลากลางคืน รวมถึงมองเห็นไม่ชัดในสถานที่ที่มีแสงน้อย เช่น โรงภาพยนตร์ บางคนอาจมีภาวะตาบอดตอนกลางคืนมาแต่กำเนิด ซึ่งเกิดจากความผิดปกติของเรตินา ที่อาจส่งผลให้ตาบอดอย่างสมบูรณ์ หรือยังคงมองเห็นสิ่งรอบตัวในภาพเบลอช่วงเวลากลางคืน อาการอาการตาบอดกลางคืน อาการตาบอดกลางคืน สามารถสังเกตได้จากสัญญาณเตือน ดังต่อไปนี้ ขยี้ตาบ่อยช่วงเวลากลางคืน มองเห็นสิ่งรอบตัวยากลำบากในสถานที่ทีมีแสงน้อย เช่น โรงภาพยนตร์ บ้าน มองเห็นไม่ชัดขณะขับรถตอนกลางคืน   สาเหตุสาเหตุตาบอดกลางคืน สาเหตุที่ส่งผลให้ตาบอกกลางคืน คือ สายตาสั้น สายตายาว ต้อหิน ต้อกระจก การขาดวิตามินเอ เบาหวานขึ้นตา ผลข้างเคียงจากยาบางชนิด ตาบอดกลางคืนแต่กำเนิด โรคโรคอาร์พี (Retinitis pigmentosa : RP) หรือโรคจอตามีสารสี ปัจจัยเสี่ยงปัจจัยเสี่ยงตาบอดกลางคืน นอกจากปัญหาเกี่ยวกับสายตาที่อาจส่งผลให้การมองเห็นช่วงเวลาการคืนแย่ลง ภาวะร่างกายขาดวิตามินเอก็อาจเป็นอีกปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้การมองเห็นแย่ลงได้ เพราะวิตามินเ เป็นสารอาหารสำคัญที่อาจช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการมองเห็น และลดความเสี่ยงการเกิดโรคตา อีกทั้งยังอาจช่วยป้องกันภาวะตาแห้ง (Xerophthalmia) และ กระจกตาเป็นแผล (Keratomalacia)ได้ การวินิจฉัยและการรักษาโรคข้อมูลที่นำเสนอในที่นี้ ไม่สามารถใช้แทนข้อแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาคุณหมอสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม การวินิจฉัยตาบอดกลางคืน หากสังเกตว่ามีการมองเห็นไม่ชัดเจน ภาพเบลอ โดยเฉพาะช่วงเวลากลางคืน ควรเขารับการวินิจฉัยหาสาเหตุจากคุณหมอในทันที ซึ่งคุณหมออาจนำการทดสอบ ดังต่อไปนี้ มาร่วมใช้ ทดสอบการมองเห็นสี การสะท้อนแสงของดวงตา การหักเหของแสง ตรวจจอประสาทตา ตรวจการมองเห็นวัตถุด้านข้างตาโดยไม่หันลูกตาตาม การรักษาตาบอดกลางคืน การรักษาตาบอดกลางคืนขึ้นอยู่กับสาเหตุที่คุณหมอวินิจฉัยเจอ หรือตามอาการและโรคตาที่ผู้ป่วยเป็น ยกตัวอย่าง หากมีภาวะสายตาสั้น สายตายาว […]


โรคตา

โรคตาขี้เกียจ (Lazy Eyes/Amblyopia)

โรคตาขี้เกียจ (Lazy Eyes หรือ Amblyopia) เป็นภาวะที่ดวงตาและสมองไม่ทำหน้าที่สอดประสานกันอย่างที่ควรจะเป็น เด็กที่ต้องเผชิญกับโรคนี้ มักมีดวงตาที่มองเห็นได้ดีเพียงข้างเดียว ขณะที่อีกข้างมีการมองเห็นแย่กว่า [embed-health-tool-heart-rate] คำจำกัดความ โรคตาขี้เกียจ (Lazy Eyes/Amblyopia) คืออะไร โรคตาขี้เกียจ (Lazy Eyes หรือ Amblyopia) เป็นภาวะที่ดวงตาและสมองไม่ทำหน้าที่สอดประสานกันอย่างที่ควรจะเป็น เด็กที่ต้องเผชิญกับโรคนี้ มักมีดวงตาที่มองเห็นได้ดีเพียงข้างเดียว ขณะที่อีกข้างมีการมองเห็นแย่กว่า หากได้รับการวินิฉัยและรักษาตั้งแต่เริ่มต้น สามารถป้องกันปัญหาการมองเห็นของเด็กได้ในระยะยาว สายตาขี้เกียจนั้นไม่ใช่อาการรุนแรงและสามารถแก้ไขได้ด้วยการสวมแว่นตาหรือคอนแทคเลนส์ หรือผ้าปิดตา แต่ในบางกรณีอาจต้องได้รับการผ่าตัด หากไม่ได้รับการรักษาอาการที่เหมาะสมทันท่วงที สมองของเด็กอาจจะไม่ยอมรับรู้ภาพเห็นจากดวงตาข้างที่มีปัญหา ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อการมองเห็นของดวงตาข้างนั้นได้อย่างถาวร โรคตาขี้เกียจ (Lazy Eyes/Amblyopia) พบได้บ่อยเพียงใด โรคตาขี้เกียจ พบได้บ่อยมาก ส่วนใหญ่มักส่งผลกระทบในเด็กตั้งแต่แรกเกิดจนกระทั่งราวอายุ 8 ขวบ โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำปรึกษาและข้อมูลในการรักษาเพิ่มเติม อาการ อาการของ โรคตาขี้เกียจ (Lazy Eyes/Amblyopia) โดยทั่วอาการของ โรคตาขี้เกียจ ได้แก่ ตาข้างหนึ่งมักหลบใน หรือเหล่ออกด้านนอก ดวงตาทั้งสองข้างทำงานไม่สอดประสานกัน การรับรู้ความลึกแย่หรือบกพร่อง ตาเหล่ หรือตาปิดไปข้างหนึ่ง คอเอียงด้านใดด้านหนึ่ง ผลการตรวจตาผิดปกติ ซุ่มซ่ามเดินชนสิ่งของ  มองเห็นภาพซ้อน นอกจากนี้ หากมีอาการที่ไม่ได้ระบุข้างต้น หรือมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการดังกล่าว โปรดปรึกษาแพทย์ทำการตรวจวินิจฉัยต่อไป เมื่อไหร่ควรไปพบคุณหมอ […]


ความบกพร่องทางการมองเห็นและตาบอด

ตาบอดสี สาเหตุ อาการ และการรักษา

ตาบอดสี (Color Blindness) อาจทำให้เกิดความยากลำบากในการมองเห็น หรือไม่สามารถจำแนกสี ได้ เช่น ไม่สามารถแยกแยะความต่างระหว่างสีแดง และสีเขียวได้ หากคุณมีอาการตาบอดสี ควรปรึกษาแพทย์ [embed-health-tool-bmi] คำกำจัดความ ตาบอดสีคืออะไร โรคตาบอดสีนั้นพบได้ทั่วไป ผู้ที่ตาบอดสีจะมีความยากลำบาก หรือไม่มีความสามารถในการจำแนกสีต่างๆ ได้ และผู้ที่ตาบอดสีส่วนใหญ่ มักไม่สามารถแยกแยะความต่างระหว่างสีแดงและสีเขียวได้ อย่างไรก็ตาม ในบางกรณีซึ่งพบได้น้อยมาก ผู้ที่ตาบอดสีนั้นไม่สามารถแยกแยะสีเหลืองและสีฟ้าได้ พบได้ทั้งกรณีที่ไม่รุนแรงมากนักไปจนถึงขั้นรุนแรงมาก กรณีอาการไม่รุนแรง นั้นพบได้ทั่วไป โดยผู้ที่ตาบอดสีนั้นสามารถมองเห็นสีเหลือง สีเทา สีเบจ สีฟ้า ได้ค่อนข้างดีกว่าสีแดง สีเขียว และสีเขียวหัวเป็ด กรณีรุนแรงมาก นั้นพบได้ยาก ในกรณีนี้ ผู้ที่ตาบอดสีนั้นแทบจะมองไม่เห็นสีใดๆ เลย (achromatopsia) โดยสามารถมองเห็นได้เพียงสีเทา สีดำ และสีขาวเท่านั้น อาการตาบอดสีแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ ตาบอดสีแต่กำเนิด (Inherited color blindness) พบได้บ่อยมากกว่าในผู้ที่มีอาการตาบอดสีเกิดขึ้นภายหลัง (acquired color blindness) สาเหตุเกิดจากพันธุกรรมที่ผิดปกติ ผู้ที่มีสมาชิกในครอบครัวเคยมีอาการตาบอดสีมาก่อนจะมีปัจจัยเสี่ยงสูงที่จะมีอาการตาบอดสี ตาบอดสีที่เกิดขึ้นภายหลัง (acquired color blindness) […]


ปัญหาตาแบบอื่น

อาการตาบอดสี กับข้อเท็จจริง 5 ประการที่ควรต้องรู้ไว้

ดวงตา ถือเป็นอวัยวะสำคัญที่มีบทบาทต่อการใช้ชีวิตเป็นอย่างมาก มีข้อมูลระบุว่า การรับรู้และการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ของคนเราเกิดจากการมองเห็นประมาณร้อยละ 70-80 เลยทีเดียว หากมีความผิดปกติเกิดขึ้นกับดวงตา ย่อมส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของเราอย่างมากทีเดียว หนึ่งในความผิดปกติของดวงตาที่เราเจอกันบ่อยคือ อาการตาบอดสี เราจึงขอนำคุณมาทำความรู้จักความจริง 5 ประการเกี่ยวกับอาการ ตาบอดสี ปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อการมองเห็น รู้หรือไม่ คนเรานั้นมองเห็นสีไม่เหมือนกัน เมื่อมีคนถามว่า ใบผักโขมมีสีอะไร คำตอบของคุณอาจเป็น สีเขียว อย่างไรก็ตาม สีเขียว ที่แต่ละคนมองเห็นอาจไม่ใช่สีเขียวแบบเดียวกัน คุณและเพื่อนของคุณอาจจะมองเห็นสีเขียวไม่เหมือนกันก็ได้ คุณมองเห็นสีสันของวัตถุต่าง ๆ เพราะว่าแสงนั้นส่องมายังวัตถุและสะท้อนมายังเลนส์ตาและกระจกตาของคุณ โดยมารวมกันที่จุดรับภาพของจอประสาทตา สีของแสงนั้นระบุได้ด้วยความยาวคลื่น หมายความว่า สีเขียว มีความยาวคลื่นที่คุณเห็นคือสีเขียว ใบผักโขมเป็นสีเขียวเพราะผิวของมันสะท้อนความยาวคลื่นสีเขียวและซึมซับความยาวคลื่นของสีอื่น ๆ ไว้ มนุษย์แต่ละคนมองเห็นสีของวัตถุแตกต่างกันออกไปเล็กน้อย เพราะตาและสมองทำหน้าที่ร่วมกันเพื่อระบุความแตกต่างของระดับความเข้มของแสงแตกต่างกัน สาเหตุของ อาการตาบอดสี คืออะไร ตาบอดสีอาจเกิดจากความผิดปกติของเซลล์ ดวงตา สมอง หรืออาจเกิดจากอายุที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ยังสามารถเกิดได้จากการที่เซลล์รูปกรวยทำหน้าที่บกพร่อง หรือไม่มีเซลล์รูปกรวยในดวงตาซึ่งอาจเป็นผลจากความบกพร่องของยีนส์บางตัวที่มีหน้าที่เฉพาะในกระบวนการสร้างเซลล์เหล่านี้ เซลล์รูปกรวย (Cone cells) ทำหน้าที่จำแนกสีต่าง ๆ สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ซึ่งจะทำหน้าที่รับรู้สีหลัก ๆ 3 สี […]


ปัญหาตาแบบอื่น

สาเหตุที่เป็นไปได้สำหรับ อาการเจ็บตา ของคุณ

อาการเจ็บตา เป็นอาการที่พบได้บ่อยในชีวิตประจำวัน หลายๆ คนก็คงเคยมีอาการเจ็บตา แต่สาเหตุของอาการเจ็บตาอาจจะแตกต่างกันออกไป อาการเจ็บตาเป็นอาการที่พบได้บ่อย บางครั้งอาจเกิดจากรอยขีดข่วนหรือความรู้สึกคัน ระคายเคืองจากสิ่งแปลกปลอม เกิดการติดเชื้อหรือได้รับบาดเจ็บ บางครั้งอาการไม่รุนแรงเพียงใช้ยาหยอดตาหรือพักผ่อนอาการก็จะดีขึ้น แต่หากพักผ่อนแล้วอาการเจ็บตายังไม่ดีขึ้นควรต้องไปพบหมอเพื่อตรวจรักษาในเชิงลึก เราจึงได้รวบรวมสาเหตุของอาการเจ็บตามาให้ได้อ่านกันค่ะ สาเหตุของอาการเจ็บตา ตากุ้งยิง ตากุ้งยิงเป็นอาการอักเสบของต่อมไขมัน โดยบริเวณตาจะเกิดสีแดงนุ่มคล้ายกับสิวขึ้นด้านนอกหรือด้านในของเปลือกตา เป็นผลมาจากต่อมน้ำมันหรือเปลือกตาติดเชื้อ นอกจากความเจ็บปวดแล้วตากุ้งยิงอาจทำให้เกิดการฉีกขาดและบวมของเปลือกตาอีกด้วย กระจกตาถลอก กระจกตาถลอกเป็นอาการที่เกิดรอยถลอก รอยขีดข่วนที่พื้นผิวของกระจกตา บางครั้งเกิดจากการเสียหายของกระจกตาหรือการบาดเจ็บซึ่งเกิดจากคอนแทคเลนส์ การฉีกขาดหรือมีสิ่งแปลกปลอมเข้าไป บางครั้งอาการอาจรุนแรงมากจนไม่สามารถอ่านหนังสือ ขับรถไปทำงานหรือนอนหลับได้ นอกจากความเจ็บปวดแล้วยังส่งผลให้สายตามีความไวต่อแสงอีกด้วย อาการตาแห้ง กระจกตาเต็มไปด้วยเส้นประสาทที่ทำให้ดวงตาและสมองมีการตอบสนอง ดังนั้นเมื่อพื้นผิวของดวงตาแห้ง ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากการฉีกขาด หรือการระเหยของน้ำตาเพิ่มขึ้น ซึ่งจะทำให้เกิดอาการระคายเคือง นอกจากความไม่สบายดวงตาแล้ว ผู้ที่มีอาการตาแห้งอาจทำให้ตาแดงและมีความไวต่อแสงด้วย เยื่อบุตาอักเสบหรือว่าตาแดง เยื่อบุตาอักเสบเป็นการระคายเคืองหรือการอักเสบของเยื่อบุตาซึ่งเป็นเยื่อบางๆ ที่อยู่ด้านนอกของลูกตาและด้านในของเปลือกตา ซึ่งสาเหตุของการเกิดเยื่อบุตาอักเสบที่พบได้บ่อยมักเกิดจากอาการแพ้ ติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย นอกจากอาการปวดแสบปวดร้อนหรือแสบร้อนในดวงตาแล้ว เยื่อบุตาอักเสบที่เกิดจากไวรัสหรืออาการแพ้มักจะมีน้ำหรือน้ำเหนียวๆ ออกมา เยื่อบุตาอักเสบจากภูมิแพ้ยังทำให้เกิดอาการคันตาและเปลือกตาบวมอีกด้วย อาการปวดจากไซนัส อาการปวดหัวไซนัสเป็นผลมาจากการที่ไซนัสติดเชื้อหรืออักเสบ ซึ่งสามารถเกิดได้กับไซนัสทุกๆ ตำแหน่งไม่ว่าจะเป็น ไซนัสหน้าผาก (frontal)ไซนัสข้างหัวตา (ethmoid) ไซนัสโหนกแก้ม (maxillary) และ ไซนัสฐานสมอง (sphenoid) เมื่ออาการไซนัสอักเสบก็ส่งผลให้เกิดความเจ็บตา มีอาการอับเสบรอบกระบอกตา ต้อหินมุมปิดเฉียบพลัน โรคต้อหินมุมปิดเฉียบพลัน เป็นโรคที่ฉุกเฉิน ต้องได้รับการักษาทันที่เพราะเมื่อเกิดจะมีอาการความดันลูกตาขึ้นสูงอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดอาการปวดตาและบวมอย่างรุนแรงและฉับพลัน นอกจากความเจ็บปวดแล้ว อาจจะมีตาแดงและมักจะเห็นแสงและสายรุ้งรอบแสงไฟเนื่องจากอาการบวม […]


ปัญหาตาแบบอื่น

สิ่งที่คุณควรรู้เกี่ยวกับ ภาวะความดันลูกตาสูง

ภาวะความดันลูกตาสูง (Ocular Hypertension) เป็นภาวะที่มีความดันตา (intraocular pressure) สูงกว่าระดับปกติ  ความดันลูกตามีหน่วยเป็น มิลลิเมตรปรอท (mmHg)โดยระดับความดันตาปกติจะอยู่ที่ 10-21 มิลลิเมตรปรอท ภาวะความดันลูกตาสูงเกิดขึ้นเมื่อความดันตาสูงกว่า 21 มิลลิเมตรปรอท การวัดความดันตามีหลายวิธี โดยทั่วไปในคลินิกหรือโรงพยาบาล จะใช้การเครื่องมือที่เรียกว่า Noncontact tonometer ซึ่งเป็นการวัดความดันตา โดยการเป่าลมไปที่กระจกตาของผู้ป่วย เป็นการ screening เเละไม่มีส่วนของเครื่องมือมาสัมผัสตา ซึ่งลดโอกาสติดเชื้อ อย่างไรก็ตาม การวัดความดันตาที่เป็นวิธีมาตรฐาน เรียกว่า Goldmann applanation จะวัดโดยจักษุเพทย์ บทความดังต่อไปนี้ได้อธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับภาวะนี้ สาเหตุของภาวะความดันลูกตาสูง       ภาวะสมดุลของความดันตา เกิดจากการที่ลูกตาสร้างของเหลวใส (aqueous humor)ในช่องหน้าลูกตา สมดุลกับการไหลเวียนออกนอกตา ในภาวะความดันลูกตาสูง เกิดจากการความผิดปกติของการไหลเวียนออกของน้ำในลูกตา ทำให้ความดันลูกตาสูงขึ้น นอกจากนี้อาจเกิดจากอุบัติเหตุ โรคตาบางประเภท หรือการใช้ยาบางอย่าง เช่น สเตียรอยด์ ถ้าความดันตาสูงกว่าภาวะปกติมาก หรือคงอยู่นาน จะส่งผลให้มีความผิดปกติของเส้นประสาทตา เเละกลายเป็นโรคต้อหินได้ อาการของภาวะความดันลูกตาสูง ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่มีภาวะความดันลูกตาสูง อาจไม่เกิดอาการใดๆ จึงเป็นสาเหตุที่ต้องเข้ารับการตรวจตาจากจักษุแพทย์ ซึ่งถือเป็นหัวใจหลักในการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงของเส้นประสาทจากความดันสูง เหนือสิ่งอื่นใด การตรวจตาเป็นสิ่งที่สำคัญเร่งด่วนสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น ผู้สูงอายุและคนผิวสี สำหรับผู้ที่ไม่มีอาการและอายุต่ำกว่า 40 ปี […]


ปัญหาตาแบบอื่น

อาการตาแห้ง บรรเทาอย่างไรให้ได้ผล

อาการตาแห้ง เป็นอาการที่พบได้บ่อยในสังคมปัจจุบัน ส่วนมากจะมีอาการ ระคายเคืองตา เเสบตา ไม่สบายตา ฝืดตา รวมถึงมีภาวะระคายเคืองที่ผิวตาจนกระทั่งมีน้ำตาไหลผิดปกติ อาการเหล่านี้ถึงเเม้ไม่ได้ส่งผลให้สูญเสียการมองเห็น เเต่ก่อให้เกิดความรำคาญเเละรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ที่มีอาการอย่างมาก อาการตาเเห้งนั้น เเท้จริงเเล้วเกิดจากผิวตาอักเสบ เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การสร้างน้ำตาน้อยลง อายุที่มากขึ้น เพศหญิงจะตาเเห้งมากกว่าเพศชาย การใช้สายตาที่มากขึ้น เช่น การใช้คอมพิวเตอร์ เเละหน้าจอดิจิตอลหลายชั่วโมงต่อวัน ภาวะที่มี ควัน ฝุ่น ลม มากขึ้น เเละความชื้นต่ำในอากาศ รวมถึงยาบางประเภทเช่น ยาเเก้เเพ้ ยานอนหลับ การใส่คอนเทคเลนส์ เป็นต้น ในปัจจุบันมีหลากหลายวิธี ในการรักษาเเละบรรเทาอาการตาแห้งช่วยให้อาการดีขึ้น ปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อม จากปัจจัยดังกล่าวข้างต้น สภาพแวดล้อมเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการตาแห้ง โดยสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ที่ก่อให้เกิดอาการตาแห้ง เช่น ลดการใช้สายตาหน้าคอมพิวเตอร์ หรือพักสายตาเป็นระยะๆ  หลีกเลี่ยงควันบุหรี่ ควันธูป ควรใส่เเว่นกันเเดด กันลม ป้องกันดวงตาขณะเล่นกีฬา เช่น การขี่มอเตอร์ไซค์ ขี่จักรยาน เล่นสกี เพิ่มกรดไขมันในอาหาร กรดไขมันโอเมก้า 3 ได้รับการพิสูจน์ว่า สามารถช่วยลดอาการตาแห้งโดยการลดการอักเสบในร่างกาย โดยเฉพาะการอักเสบที่ตา ควรรับประทานอาหารที่มีสารอาหาร ที่ช่วยบรรเทาอาการตาแห้ง ใช้ยารักษา ใช้น้ำตาเทียมหยอดตาเป็นวิธีการที่ใช้ในการรักษาตาแห้งที่แพร่หลายมากที่สุด ผู้ป่วยสามารถหาซื้อยาตามร้านขายยาทั่วไป ยาเหล่านี้ช่วยบรรเทาอาการได้ […]


ปัญหาตาแบบอื่น

ความเชื่อผิดๆ และข้อเท็จจริงสามประการเกี่ยวกับ สายตา

สายตา เป็นการรับรู้ที่สำคัญมากที่สุดของมนุษย์ ถึงแม้คนทั่วไปจะใส่ใจในการดูแลสายตาเป็นอย่างดี แต่ก็ยังมีความเข้าใจผิด เกี่ยวกับการดูแลสายตาในหลายประการ บทความนี้นำเสนอความเชื่อผิดๆ และข้อเท็จจริงสามประการ เกี่ยวกับสายตาของเรา ความเชื่อผิดๆ เรื่องสายตา ความเชื่อผิดๆ 1: สายตาเสียได้เมื่อนั่งใกล้โทรทัศน์มากเกินไป เมื่อยังเป็นเด็ก คุณอาจถูกเตือนว่าการนั่งใกล้โทรทัศน์มากเกินไปทำลายสายตา แต่ความเชื่อนี้เป็นความเชื่อที่ผิด แท้จริงแล้ว การนั่งดูโทรทัศน์ใกล้ๆ ไม่ได้ทำร้ายดวงตา แต่ดวงตาอาจเกิดความล้า เมื่อดูโทรทัศน์เป็นเวลานานเกินไป หรืออาจทำให้คุณรู้สึกปวดหัวได้ การใช้คอมพิวเตอร์ และการดูภาพยนต์สามมิติ ก็ส่งผลต่อดวงตาได้ในลักษณะเดียวกัน หากคุณไม่สามารถหลีกเลี่ยง การใช้เวลาหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ ได้ ควรพักสายตาเป็นบางช่วงขณะทำงาน ความเชื่อผิดๆ 2: การอ่านหนังสือในที่มืดทำให้สายตาเสีย พ่อแม่หลายคนห้ามไม่ให้ลูกอ่านหนังสือในที่มีแสงสลัว เนื่องจากกลัวว่าจะส่ผลเสียต่อสายตา แต่แท้จริงแล้ว การอ่านหนังสือในที่มีแสงสลัวนั้นไม่ได้ส่งผลเสียต่อดวงตา เพียงแค่ทำให้อ่านได้ยากมากขึ้น คนในอดีตใช้แสงเทียนและแสงตะเกียง ในการอ่านหนังสือและทำงานมานับร้อยปี ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้ให้ความสว่างน้อยกว่าไฟฟ้าในปัจจุบัน แต่สายตาของพวกเขาก็ไม่เสีย อย่างไรก็ตาม แสงสว่างที่ดีช่วยป้องกันความอ่อนล้าของดวงตา และทำให้อ่านหนังสือได้ง่ายขึ้น ความเชื่อผิดๆ 3: การใส่แว่นตาทำให้ต้องใส่ไปตลอด แว่นตาช่วยปรับสายตาที่มองเห็นไม่ชัดเจนได้ การสวมแว่นตาช่วยให้มองเห็นได้ชัดเจนขึ้น แต่ไม่ได้ทำให้ดวงตาของคุณต้องพึ่งพาแว่นตาไปตลอด เพราะแว่นตาไม่ได้ปรับเปลี่ยนส่วนใดของดวงตา แท้จริงแล้วเป็นที่ผู้สวมใส่เอง ที่เคยชินกับการมองเห็นที่ชัดเจนเมื่อสวมแว่น เช่นเดียวกันการสวมแว่นตาที่ไม่เหมาะสมต่อสภาพสายตา ก็ไม่ได้ทำลายสายตา คุณแค่จะไม่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน หากสวมแว่นตาที่ไม่เหมาะสม ข้อเท็จจริงเรื่องสายตา ข้อเท็จจริง 1: สารให้ความหวานเพิ่มอาการไวต่อแสงของดวงตา การบริโภคสารให้ความหวาน เช่น ไซคลาเมท สามารถทำให้ดวงตาไวต่อแสงมากขึ้นได้ […]


ต้อหิน

ต้อหิน (Glaucoma)

ต้อหิน เกิดขึ้นเมื่อเส้นประสาทดวงตาเสียหาย ซึ่งทำให้เกิดการสูญเสียการมองเห็นและอาการตาบอดได้ ต้อหินมักเกิดขึ้นจากแรงดันสูงในดวงตา คำจำกัดความ ต้อหินคืออะไร ต้อหิน (Glaucoma) เป็นภาวะเกี่ยวกับดวงตาประเภทหนึ่งที่เกิดขึ้นเมื่อเส้นประสาทดวงตาเสียหาย ซึ่งทำให้เกิดการสูญเสียการมองเห็นและอาการตาบอดได้ ต้อหินมักเกิดขึ้นจากแรงดันสูงในดวงตา เส้นประสาทการมองเห็นเป็นกลุ่มก้อนของเส้นใยประสาทที่เชื่อมจอตากับสมอง เมื่อเส้นประสาทการมองเห็นเสียหาย สัญญาณที่แจ้งให้สมองทราบถึงสิ่งที่กำลังมองเห็นถูกรบกวน ภาวะนี้ค่อยๆ ทำให้เกิดการสูญเสียการมองเห็น ต้อหินมีประเภทที่แตกต่างกันสองสามอย่าง ได้แก่ ต้อหินมุมเปิด (open-angle glaucoma) ต้อหินมุมปิด (angle closure glaucoma) ต้อหินที่มีความดันลูกตาปกติ (normal tension glaucoma) ต้อหินที่เกิดจากเม็ดสีของดวงตา (pigmentary glaucoma) ต้อหินแต่กำเนิด (congenital glaucom) และต้อหินทุติยภูมิ (secondary glaucoma) ต้อหินประเภทที่พบได้มากที่สุดคือต้อหินมุมเปิด พบได้บ่อยเพียงใด ต้อหินเป็นภาวะเกี่ยวกับดวงตาที่พบได้ทั่วไป สามารถเกิดขึ้นได้ในทุกช่วงอายุแต่มักพบได้มากที่สุดในผู้ใหญ่ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี ต้อหินเป็นสาเหตุสำคัญประการหนึ่งของอาการตาบอด สามารถลดโอกาสในการเกิดต้อหินได้โดยการลดความเสี่ยง โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการ อาการของต้อหิน สัญญาณเตือนและอาการต่างๆ ขึ้นอยู่กับประเภทของต้อหินที่คุณเป็น ต่อไปนี้เป็นสัญญาณเตือและอาการต่างๆ ที่คุณอาจมี ต้อหินมุมเปิด: เริ่มแรกมักไม่มีอาการ หากอาการเกิดขึ้น คุณอาจมีจุดบอด (blind spots) เป็นหย่อมๆ ในการมองเห็นตรงกลางหรือด้านข้าง ต้อหินมุมปิด: อาการต่างๆ อาจได้แก่ ปวดศีรษะรุนแรง ปวดตา คลื่นไส้และอาเจียน […]


ต้อกระจก

ผ่าตัดต้อกระจก

ต้อกระจก คือ ภาวะที่เลนส์แก้วตาเสื่อมสภาพ จากเหลืองใสกลายเป็นขุ่นมัวและแข็งขึ้น ทำให้มองเห็นภาพไม่ชัด โรคนี้ไม่มียารักษา ต้องรักษาด้วยการ ผ่าตัดต้อกระจก วิธีนี้จะช่วยให้มองเห็นได้ดีขึ้น จึงใช้ชีวิตประจำวันได้สะดวกยิ่งขึ้น ทั้งยังอาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดปัญหาสุขภาพตาอื่น ๆ ได้ด้วย ต้อกระจก คืออะไร ต้อกระจก (Cataract) คือ ภาวะที่เลนส์แก้วตาเสื่อมสภาพ จากเหลืองใสกลายเป็นขุ่นมัวและแข็งขึ้น หรือที่เรียกว่า ภาวะเลนส์ตาขุ่น หากอยู่ในระยะเริ่มต้นอาจสังเกตได้ยาก แต่เมื่อเวลาผ่านไป อาจทำให้เกิดอาการต่าง ๆ เช่น มองเห็นภาพไม่ชัด ตาแพ้แสง หรือในบางกรณี ต้อกระจกอาจลดความสามารถในการมองเห็นในระยะใกล้ ภาวะนี้จัดเป็นความเสื่อมตามวัย พบมากในผู้ที่อายุ 50 ปีขึ้นไป ความจำเป็นในการผ่าตัดต้อกระจก โรคต้อกระจกไม่สามารถรักษาได้ด้วยยา ต้องรักษาด้วยการผ่าตัดต้อกระจกออก หรือที่เรียกว่า การลอกต้อกระจก ซึ่งเป็นการผ่าตัดเอาเลนส์แก้วตาที่เสื่อมสภาพออก แล้วใส่เลนส์แก้วตาเทียมเข้าไปแทน หลังผ่าตัดและพักฟื้นแล้ว ผู้ป่วยจะสามารถกลับมามองเห็นได้ดีขึ้น โดยปกติแล้ว คุณหมอจะแนะนำให้ผ่าตัดต้อกระจก หากต้อกระจกส่งผลกระทบดังต่อไปนี้ ต้อกระจกส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น มองเห็นไม่ชัดจนทำงานได้ลำบาก ขับรถไม่ได้ อ่านหนังสือไม่ได้ มองเห็นหน้าคนรอบข้างไม่ชัดแม้จะยืนอยู่ใกล้มาก ตาแพ้แสงจนมองอะไรก็มัว ต้อกระจกส่งผลให้เกิดโรคต้อหิน หรือสูญเสียการมองเห็น ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้หากปล่อยให้เป็นต้อกระจกนาน ไม่รีบรักษา การผ่าตัดต้อกระจก การเตรียมตัวก่อนการผ่าตัดต้อกระจก คุณหมอจะประเมินสุขภาพโดยรวมเพื่อดูว่าสามารถเข้ารับการผ่าตัดต่อกระจกได้หรือไม่ พร้อมทั้งตรวจสุขภาพตาและวัดสายตา เพื่อประเมินว่าควรใช้เลนส์แก้วตาเทียมชนิดใดจึงจะเหมาะสมที่สุด เช่น เลนส์ชัดระยะเดียว […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน