backup og meta

คุมกำเนิด วิธีการและการเลือกคุมกำเนิดอย่างเหมาะสม

คุมกำเนิด วิธีการและการเลือกคุมกำเนิดอย่างเหมาะสม

วิธี คุมกำเนิด แบ่งเป็นประเภทหลัก ๆ ได้ 2 ประเภท ได้แก่ วิธีคุมกำเนิดแบบชั่วคราว เช่น การรับประทานยาคุมกำเนิด การฉีดยาคุมกำเนิด และวิธีคุมกำเนิดแบบถาวร อย่างการทำหมันชายและหญิง อย่างไรก็ตาม การเรียนรู้ชนิด ประโยชน์ และผลข้างเคียงของวิธีคุมกำเนิดแต่ละชนิด อาจช่วยให้เลือกวิธีคุมกำเนิดได้อย่างเหมาะสม และเกิดผลข้างเคียงน้อยที่สุด

[embed-health-tool-ovulation]

วิธี คุมกำเนิด มีอะไรบ้าง

วิธีคุมกำเนิด แบ่งเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่

1. การคุมกำเนิดชั่วคราว เช่น

  • การฝังยาคุมกำเนิด
  • การฉีดยาคุมกำเนิด
  • การใช้ห่วงอนามัย ทั้งแบบทองแดงและแบบฮอร์โมน
  • การรับประทานยาคุมฉุกเฉิน
  • การรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิด
  • การใส่วงแหวนสอดช่องคลอดคุมกำเนิด (Vaginal ring)
  • การคุมกำเนิดโดยใช้สิ่งกีดขวาง เช่น ถุงยางอนามัยสำหรับผู้ชาย ถุงยางอนามัยสำหรับผู้หญิง ไดอะแฟรมหรือแผ่นครอบปากมดลูก
  • วิธีคุมกำเนิดแบบธรรมชาติ เช่น การนับวันไข่ตก การนับประจำเดือน

2. การคุมกำเนิดถาวร ได้แก่

  • การทำหมันชาย
  • การทำหมันหญิง

การคุมกำเนิดส่วนใหญ่จะไปหยุดยั้งการตกไข่ และทำให้ของเหลวหรือมูกที่บริเวณปากมดลูกเหนียวข้นและหนาขึ้น เป็นการปิดกั้นไม่ให้อสุจิผ่านเข้าไปได้

คุมกำเนิด ควรเลือกอย่างไรให้เหมาะสม

การศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับวิธีคุมกำเนิดแต่ละวิธี ทั้งรูปแบบการทำงาน ประโยชน์ ผลข้างเคียง ประสิทธิภาพในการคุมกำเนิด ความยากง่ายในการใช้งาน ค่าใช้จ่าย เป็นต้น ให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ รวมถึงการพูดคุยตกลงกับคู่รักหรือคู่นอน และการปรึกษาคุณหมอ อาจช่วยให้สามารถเลือกวิธีคุมกำเนิดได้เหมาะสมกับปัจจัยแวดล้อม เช่น ภาวะสุขภาพ ไลฟ์สไตล์ รูปแบบความสัมพันธ์ และเหมาะสมกับความต้องการที่สุด

ยกตัวอย่าง การรับประทานยาคุมกำเนิด จะต้องรับประทานยาทุกวัน ส่วนการใช้ยาคุมกำเนิดแบบฝัง หรือการฝังยาคุมกำเนิด (Implant) อาจมีประสิทธิภาพมากกว่ายาคุมกำเนิดแบบรับประทานหรือห่วงคุมกำเนิด ทำครั้งเดียวสามารถอยู่ได้นาน 3 ปี หรือหากเป็นยาคุมกำเนิดแบบฉีด ส่วนใหญ่อาจต้องฉีดทุก 12-14 สัปดาห์ ทั้งนี้ การคุมกำเนิดอาจมีผลข้างเคียง เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ อารมณ์แปรปรวน เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตัน โรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นต้น แต่อาจขึ้นอยู่กับชนิดของยาคุมกำเนิด ชนิดของฮอร์โมนในยาคุมกำเนิด และปริมาณฮอร์โมนในยาคุมกำเนิดด้วย อีกทั้งวิธีคุมกำเนิดต่าง ๆ อาจไม่สามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้

นอกจากนี้ การคุมกำเนิดบางวิธี เช่น การคุมกำเนิดโดยใช้สิ่งกีดขวางอย่างแผ่นยางอนามัยที่ใช้คลุมอวัยวะเพศหญิงและทวารหนัก ในระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ด้วยปาก ถุงยางอนามัยทั้งสำหรับผู้ชายและผู้หญิง ที่ใช้ได้ทั้งตอนมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด ทางทวารหนัก หรือทางปาก อาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ด้วย ทั้งนี้ ควรปรึกษาคุณหมอหรือเภสัชกร เพื่อให้ทราบวิธีคุมกำเนิดแต่ละประเภทและการใช้อุปกรณ์ป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อย่างถูกวิธี

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Contraception –Choices. https://www.betterhealth.vic.gov.au/health/healthyliving/contraception-choices. Accessed November 8, 2022

Contraception Choices. https://www.contraceptionchoices.org/contraceptive-methods. Accessed November 8, 2022

Your contraception guide. https://www.nhs.uk/conditions/contraception/. Accessed November 8, 2022

Which method of contraception suits me?. https://www.nhs.uk/conditions/contraception/which-method-suits-me/. Accessed November 8, 2022

9 types of contraception you can use to prevent pregnancy (with pictures!). https://www.health.qld.gov.au/news-events/news/types-contraception-women-condoms-pill-iud-ring-implant-injection-diaphragm. Accessed November 8, 2022

Contraception – choices. https://www.betterhealth.vic.gov.au/health/healthyliving/contraception-choices. Accessed November 13, 2016. Accessed November 8, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

16/03/2023

เขียนโดย pimruethai

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

ถุงยางอนามัย มีประโยชน์อย่างไร และควรเลือกอย่างไร

วิธีกินยาคุมครั้งแรก เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ เริ่มต้นอย่างไร ?


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย pimruethai · แก้ไขล่าสุด 16/03/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา