backup og meta

ใส่ถุงยางท้องไหม ทำอย่างไรถึงจะไม่ตั้งท้อง

ใส่ถุงยางท้องไหม ทำอย่างไรถึงจะไม่ตั้งท้อง

หากถามว่า ใส่ถุงยางท้องไหม? คำตอบคือมีโอกาสตั้งท้องแต่ค่อนข้างน้อย เพราะถุงยางอนามัยมีประสิทธิภาพคุมกำเนิดประมาณ 95-98 เปอร์เซ็นต์ แต่หากใช้ถุงยางอนามัยแบบไม่ถูกวิธีอาจมีโอกาสตั้งครรภ์ถึง 15% ปัจจัยเสี่ยงทำให้ท้องแม้สวมถุงยาง อนามัย ได้แก่ การใช้ถุงยางอนามัยผิดวิธี หรือการใช้ถุงยางอนามัยที่เสื่อมคุณภาพ เนื่องจากอาจทำให้ถุงยางแตกหรือขาดขณะมีเพศสัมพันธ์ได้ง่าย

[embed-health-tool-ovulation]

ใส่ถุงยางท้องไหม สาเหตุเกิดจากอะไร

ถุงยางอนามัยเป็นอุปกรณ์ป้องกันการตั้งครรภ์และป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ แบ่งเป็น ถุงยางอนามัยแบบสวมองคชาต และถุงยางอนามัยแบบสอดช่องคลอด

หากใช้อย่างถูกวิธี ถุงยางอนามัยสามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้ราว 95-98 เปอร์เซ็นต์

อย่างไรก็ตาม หากใช้ไม่ถูกวิธี หรือใช้ถุงยางอนามัยที่เสื่อมคุณภาพ หมดอายุ มีรอยรั่ว ฉีกหรือขาด จะเสี่ยงต่อการปริหรือแตกระหว่างมีเพศสัมพันธ์ และทำให้ประสิทธิภาพคุมกำเนิดลดลง จนอาจทำให้ฝ่ายหญิงตั้งครรภ์ได้

การใช้ถุงยางที่ถูกวิธีเป็นอย่างไร

ใส่ถุงยางท้องไหม เมื่อใส่ถุงยาง โอกาสท้องค่อนข้างต่ำ หากต้องการใช้ถุงยางอนามัยเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพคุมกำเนิดมากที่สุด ควรใช้ถุงยางอนามัยตามคำแนะนำต่อไปนี้

  • ใช้ถุงยางอนามัยให้ถูกขนาด เพราะการใช้ถุงยางอนามัยที่เล็กกว่าองคชาต จะเสี่ยงต่อการปริหรือแตกระหว่างมีเพศสัมพันธ์ ทั้งนี้ ผู้ชายสามารถวัดเส้นรอบวงขององคชาตตัวเองขณะแข็งตัวเพื่อนำไปเลือกซื้อถุงยางที่มีขนาดเหมาะสม ในขณะที่ถุงยางอนามัยแบบสอดสำหรับผู้หญิง มีขายเพียงขนาดเดียวเท่านั้น
  • ไม่ใช้ถุงยางอนามัยหมดอายุแล้ว เพราะถุงยางที่หมดอายุแล้วจะฉีกขาดง่ายกว่าถุงยางที่ยังไม่อายุ ทั้งนี้ วันหมดอายุของถุงยางอนามัยจะระบุอยู่บนบรรจุภัณฑ์ของถุงยาง
  • ใช้ถุงยางอนามัยสภาพปกติ แม้จะยังไม่หมดอายุ แต่ถุงยางอนามัยที่เสียหาย รั่ว แตก เป็นรู หรือเหนียวเหนอะนั้นไม่ควรใช้ หากพบ ควรทิ้งแล้วเปลี่ยนใหม่
  • สวมถุงยางอนามัยให้ถูกด้าน เมื่อสวมถุงยางอนามัยถูกด้าน ถุงยางอนามัยจะรูดลงมาคลุมถึงโคนองคชาตได้โดยง่าย หากสวมผิดด้าน ถุงยางอนามัยจะรูดลงมาได้ลำบากหรือต้องใช้แรงช่วยมากกว่าปกติ ทั้งนี้ หากพบว่ากำลังใช้ถุงยางอนามัยผิดด้านอยู่ ควรถอดถุงยางทิ้ง แล้วเปลี่ยนใหม่
  • สวมถุงยางอนามัยเพียงชั้นเดียว เพราะการสวมซ้อน 2 ชั้นจะทำให้ถุงยางอนามัยเสียดสีกันและเสี่ยงฉีกหรือขาดได้ง่ายขึ้น
  • ใช้เจลหล่อลื่นที่ทำจากซิลิโคนหรือมีน้ำเป็นส่วนประกอบหลัก เพราะเจลหล่อลื่นกลุ่มนี้ไม่ส่งผลเสียต่อประสิทธิภาพของถุงยางอนามัย ในขณะที่เจลหล่อลื่นที่ผสมน้ำมัน โลชั่น หรือวาสลีน อาจทำให้ถุงยางที่ผลิตจากยางพาราเสียหายหรือฉีกขาดได้ง่าย
  • ใช้ถุงยางอนามัยใหม่ทุกครั้งหลังถึงจุดสุดยอด เมื่อถึงจุดสุดยอดแล้วต้องการมีเพศสัมพันธ์อีกครั้ง ควรใช้ถุงยางอนามัยใหม่ เพื่อสุขอนามัยและประสิทธิภาพของถุงยางอนามัยในการป้องกันการตั้งครรภ์
  • เปลี่ยนถุงยางอนามัยทันทีเมื่อถุงปริหรือแตก แม้จะใช้ถุงยางอนามัยอย่างถูกวิธี แต่ถุงยางอนามัยอาจเสี่ยงปริหรือแตกระหว่างใช้งานได้ และเมื่อพบรอยปริหรือแตก ควรเปลี่ยนใช้ถุงยางอนามัยใหม่ทันที นอกจากนั้น เพื่อลดความเสี่ยงตั้งครรภ์ ฝ่ายหญิงควรรับประทานยาคุมกำเนิดควบคู่ไปด้วย
  • เก็บถุงยางอนามัยในที่ที่อุณหภูมิต่ำ อย่างลิ้นชักหรือตู้เก็บของ หากเก็บไว้ในกระเป๋าสตางค์ กระเป๋ากางเกง หรือรถยนต์ อาจทำให้ถุงยางอนามัยเสียหายจากความร้อนหรือการเสียดสีได้

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Can you get pregnant with a condom?. https://www.plannedparenthood.org/learn/ask-experts/can-you-get-pregnant-with-a-condom#:~:text=When%20you%20use%20condoms%20correctly,100%25%20effective%20at%20preventing%20pregnancy. Accessed November 25, 2022

What are the chances of getting pregnant with a condom?. https://www.plannedparenthood.org/learn/ask-experts/what-are-the-chances-of-getting-pregnant-with-a-condom. Accessed November 25, 2022

Condoms. https://www.nhs.uk/conditions/contraception/male-condoms/. Accessed November 25, 2022

Female condoms. https://www.nhs.uk/conditions/contraception/female-condoms/. Accessed November 25, 2022

It’s your future. You can protect it. https://www.cdc.gov/teenpregnancy/pdf/teen-condom-fact_sheet-english-march-2016.pdf. Accessed November 25, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

17/03/2023

เขียนโดย ธนชาติ จึงแย้มปิ่น

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงอรกนิษฐา อรุณาทิตย์

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

การใช้ถุงยางอนามัย ให้ถูกต้อง ไม่รั่ว ไม่หลุด และมีข้อควรระวังอะไรบ้าง

ถุงยางผู้หญิง ข้อดี ข้อเสีย และวิธีการใช้


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงอรกนิษฐา อรุณาทิตย์

สูตินรีเวชวิทยา · โรงพยาบาลสุขุมวิท


เขียนโดย ธนชาติ จึงแย้มปิ่น · แก้ไขล่าสุด 17/03/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา