backup og meta

การทำใจยอมรับ เมื่อรู้ว่าติดเชื้อ HIV

การทำใจยอมรับ เมื่อรู้ว่าติดเชื้อ HIV

ผู้ป่วยที่ติดเชื้อเชื้อไวรัสเอชไอวี (Human Immunodeficiency Virus : HIV) ส่วนใหญ่มักอยู่ในสภาวะอารมณ์แปรปรวน อันมีสาเหตุมาจากความรู้สึกว่าตนเองไร้ค่า การถูกตีตราทางสังคมจนทำให้เกิดภาวะบีบคั้นทางด้านจิตใจ ดังนั้น ผู้ป่วยจึงควรเรียนรู้วิธีการทำใจยอมรับเมื่อรู้ว่าตัวเองติดเชื้อ HIV

[embed-health-tool-ovulation]

ปฏิกิริยาของผู้ป่วย ติดเชื้อ HIV

แน่นอนว่าคงไม่มีใครอยากติดเชื้อเอชไอวี และเป็นเรื่องธรรมชาติของผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวีเมื่อทราบข่าวจะมีปฏิกิริยาปฏิเสธสิ่งที่รับรู้ เช่น ไม่ยอมรับความจริง โกรธคนที่ทำให้ติดเชื้อ (อาการแสดงออกมากหรือน้อยแล้วแต่บุคคลมีอาการตอบสนองแตกต่างกัน) ดังนั้นแพทย์ ผู้ให้คำปรึกษา รวมถึงผู้ที่อยู่รอบข้างผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวีจะต้องเข้าใจโดยปฏิกิริยาเหล่านี้  คุณหมอเรียกว่า “ปฏิกิริยาของความโศกเศร้า” หรือ “Stage of grief” แบ่งออกเป็น 5 ระยะ ดังนี้

  1. ระยะปฏิเสธ (Denial) เป็นเรื่องธรรมดาที่จะปฏิเสธสิ่งที่รับรู้ ไม่เชื่อ ไม่สามารถรับความจริงกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้
  2. ระยะโกรธ (Anger) ความผิดหวังที่เกิดขึ้น ส่งผลให้ผู้ติดเชื้อรู้สึกโกรธ เช่น สิ่งที่เกิดขึ้น บุคคลที่ทำให้ติดเชื้อ รวมถึงแพทย์ที่ทำการรักษา
  3. ระยะต่อรอง (Bargaining) การร้องขอต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น ขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครอง อยากให้หายจากโรคนี้
  4. ระยะซึมเศร้า (Depression) ระยะนี้ผู้ติดเชื้อเริ่มยอมรับกับความจริงที่เกิดขึ้นได้ส่วนหนึ่ง  ต้องคอยระวังอารมณ์เพราะอาจทำให้เกิดภาวะซึมเศร้า โดยอาการความเสียใจมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมของแต่ละบุคคลด้วย
  5. ระยะยอมรับ (Acceptance) เมื่อผู้ติดเชื้อสามารถยอมรับกับสิ่งที่เกิดขึ้นได้ จะมีการปรับความคิด ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปในทิศทางบวกมากขึ้น ส่งผลให้ผู้ติดเชื้อสามารถอยู่กับเชื้อเอชไอวีไปได้อย่างไม่มีความวิตกกังวล และมองถึงอนาคตได้มากขึ้น

วิธีเยียวยาจิตใจ สำหรับคนที่ ติดเชื้อ HIV

แพทย์เป็นคนแรกที่จะทราบผลการติดเชื้อเอชไอวีคนแรก ดังนั้นในขั้นตอนแรกแพทย์หรือผู้ให้คำปรึกษาจะต้องประเมินในเรื่องของพื้นฐานชีวิตผู้ป่วย เช่น ชีวิตความเป็นอยู่ พื้นฐานครอบครัว รวมถึงสภาพแวดล้อมของผู้ป่วย สถานที่จะต้องมีความเป็นส่วนตัว สงบ หลังจากที่ชี้แจงผู้ป่วยว่าติดเชื้อเอชไอวี ผู้ป่วยอาจเกิดอาการช็อค รับไม่ได้กับสิ่งที่เกิดขึ้น

แพทย์จึงต้องสร้างสัมพันธภาพกับผู้ป่วย เอาใจเขามาใส่ใจ เช่น การให้กำลังใจ ให้ความรู้เกี่ยวกับการติดเชื้อเอชไอวี แนวทางในการรักษา พยายามทำให้ผู้ติดเชื้อมองภาพรวมในอนาคตว่าจริง ๆ แล้วเอชไอวี เป็นแค่การติดเชื้อ ไม่ใช่เป็นโรค หากผู้ป่วยเข้ากระบวนการรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสม จะสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติและไม่เข้าสู่ภาวะโรคเอดส์

ซึ่งในปัจจุบันผู้ป่วยเอชไอวีสามารถใช้ชีวิตประจำวัน อยู่ร่วมกับคนในสังคมได้อย่างปกติทั่วไป นอกจากนี้ยาที่ใช้ในการรักษาในปัจจุบัน มีผลข้างเคียงค่อนข้างน้อย เปรียบเสมือนการทานยาวิตามิน หรือยารักษาโรคเบาหวาน ความดัน

หากสมาชิกครอบครัว หรือบุคคลใกล้ตัวติดเชื้อเอชไอวี สิ่งสำคัญในการเยียวยาจิตใจผู้ป่วยในอันดับแรก คือ การให้กำลังใจ พยายามเข้าใจความรู้สึกของผู้ป่วย ใช้คำพูดที่แสดงถึงความเห็นอกเห็นใจผู้ป่วย อาจช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกดีขึ้น รวมถึงสนับสนุนและดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวีในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการใช้ชีวิตเพื่อลดการแพร่เชื้อเอชไอวีและดูแลสุขภาพให้เขามีกำลังใจ และใช้ชีวิตต่อได้อย่างมีความสุข

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

นายแพทย์วิฉกร จิตประพันธ์  แพทย์ประจำ พัลซ์ คลินิก สาขา สีลม (Pulse clinic)

How Can You Help Someone Who Has Been Newly Diagnosed with HIV?. https://www.hiv.gov/hiv-basics/overview/making-a-difference/supporting-someone-living-with-hiv#:~:text=By%20getting%20linked%20to%20HIV,infection%20from%20progressing%20to%20AIDS.. Accessed April 30, 2022.

Living with HIV and AIDS. https://www.nhs.uk/conditions/hiv-and-aids/living-with/. Accessed April 30, 2022.

HIV. https://www.cdc.gov/hiv/basics/livingwithhiv/index.html. Accessed April 30, 2022.

Living with HIV/AIDS. https://medlineplus.gov/livingwithhivaids.html. Accessed April 30, 2022.

เวอร์ชันปัจจุบัน

30/04/2022

เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

การป้องกันโรคเอดส์ สำคัญอย่างไร และทำได้อย่างไร

ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับเชื้อ เอชไอวี / เอดส์ ที่ควรทำความเข้าใจเสียใหม่


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 30/04/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา