backup og meta

ตุ่มเอดส์ อาการเมื่อติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์

ตุ่มเอดส์ อาการเมื่อติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์

ตุ่มเอดส์ หรือตุ่ม PPE เป็นอาการทางผิวหนังที่ทำให้เกิดผื่นคันในผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี โดยเฉพาะในผู้ป่วยระยะโรคเอดส์ ตุ่มเอดส์มักเกิดขึ้นบริเวณลำตัว ใบหน้า และแขนขา อาจทำให้มีตุ่มแดงหรือตุ่มสีม่วงบนผิวหนัง มีอาการคัน เลือดคั่ง และอาจมีเยื่อเมือกบนฝ่ามือและฝ่าเท้า ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด และควรเข้ารับการรักษาอย่างถูกต้องเพื่อไม่ให้อาการลุกลามจนควบคุมได้ยาก

[embed-health-tool-ovulation]

ตุ่มเอดส์ คืออะไร

ผื่น PPE หรือตุ่ม PPE (Pruritic papular eruption หรือ PPE) หรือที่เรียกกันว่า ตุ่มเอดส์ คือ ผื่นคันที่มักเกิดจากการติดเชื้อเอชไอวี พบได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ โดยเฉพาะผู้ที่อาศัยอยู่ในเขตร้อนหรือกึ่งเขตร้อน ตุ่มเอดส์เป็นอาการเริ่มต้นของเอชไอวีระยะที่ 2 ซึ่งเป็นสัญญาณว่าระบบภูมิคุ้มกันต่ำลง และตุ่มเอดส์จะกระจายตัวมากขึ้นเป็น 3 เท่า เมื่อจำนวนเม็ดเลือดขาว CD4 ที่ทำหน้าที่ต่อสู้กับเชื้อโรค น้อยกว่า 200 เซลล์/ลบ.มม.

ปัจจุบันยังไม่สามารถระบุสาเหตุตุ่มเอดส์ได้อย่างแน่ชัด แต่คาดว่าเกิดจากการติดเชื้อเอชไอวีเฉียบพลันโดยตรงทางผิวหนัง ยารักษาภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง การติดเชื้ออื่น ๆ เช่น เชื้อไวรัสเริม ซิฟิลิส หรือโรคหูข้าวสุก การติดเชื้อจากแมลงกัดต่อย ทำให้มีตุ่มแดงหรือตุ่มสีม่วงบนผิวหนัง มีอาการคัน เลือดคั่ง ผิวแห้ง มีเม็ดสีมากเกินไปจนสีผิวบางส่วนเปลี่ยนแปลง มีเยื่อเมือกบนฝ่ามือและฝ่าเท้า โดยเฉพาะในบริเวณใบหน้า แขาขา ลำตัว

ตุ่มเอดส์ มีกี่ประเภท

แม้จะยังไม่สามารถระบุสาเหตุที่แน่ชัดในการเกิดตุ่มเอดส์ได้ แต่ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อเอชไอวี และอาจเกิดจากปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อระบบภูมิคุ้มกัน อาการของตุ่มเอดส์อาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสาเหตุ เช่น

ตุ่มเอดส์จากการติดเชื้อเอชไอวีเฉียบพลัน

ตุ่มเอดส์มักเกิดบริเวณใบหน้า มือ และเท้า อาจเป็นจุดสีแดงในคนผิวขาว และเป็นจุดสีม่วงหรือสีคล้ำในคนที่มีผิวคล้ำ โดยตุ่มเอดส์จากสาเหตุนี้จะเกิดขึ้นเมื่อร่างกายพยายามต่อสู้กับเชื้อไวรัส ซึ่งอาจทำให้มีอาการอื่นดังต่อไปนี้ด้วย

  • มีไข้ ปวดหัว เจ็บคอ
  • เหนื่อยล้า ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
  • ต่อมน้ำเหลืองบวม
  • ท้องเสีย

อาการเหล่านี้คล้ายอาการของโรคไข้หวัดใหญ่ หรือภูมิแพ้ทั่วไป จะเริ่มปรากฎให้เห็นหลังติดเชื้อประมาณ 2 สัปดาห์ และอาจหายไปอย่างรวดเร็ว ทำให้หลายคนอาจไม่ทราบว่าเป็นสัญญาณเริ่มต้นของการติดเชื้อเอชไอวี ซึ่งหากปล่อยไว้อาจทำให้อาการของโรคแย่ลงได้ การตรวจเลือดเพื่อวินิจฉัยโรคและรับการรักษาอย่างเหมาะสม อาจช่วยควบคุมการลุกลามของไวรัส และลดความเสี่ยงในการแพร่กระจายไวรัสสู่ผู้อื่นได้ด้วย

ตุ่มเอดส์จากยารักษาภูมิคุ้มกันบกพร่อง

ตัวยาบางชนิดที่ใช้รักษาการติดเชื้อเอชไอวีหรือเชื้ออื่น ๆ ซึ่งส่งผลให้ภูมิคุ้มกันบกพร่องอาจทำให้เกิดตุ่มผื่นที่ผิวหนังได้ เมื่อหยุดรับประทานยา ตุ่มผื่นอาจหายไปได้เอง แต่ทั้งนี้ การหยุดรับประทานยาควรขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของคุณหมอด้วย และหากมีตุ่มผื่นเกิดขึ้นพร้อมกับอาการปวดกล้ามเนื้อ ปวดหัว มีไข้ เหนื่อยล้า ปวดท้อง และอาเจียน อาจเป็นสัญญาณของภาวะภูมิไวเกิน ซึ่งอาจเกิดขึ้นเมื่อรับประทานยารักษาการติดเชื้อเอชไอวีดังต่อไปนี้

  • อบาคาเวียร์ (Abacavir)
  • ราลเตกราเวียร์ (Raltegravir)
  • โดลูเทกราเวียร์ (Dolutegravir)
  • มาราวิร็อค (Maraviroc)
  • เนวิราพีน (Nevirapine)

ตุ่มเอดส์จากการติดเชื้อชนิดอื่น

เชื้อเอชไอวีมีส่วนทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง จึงอาจเพิ่มความเสี่ยงการติดเชื้อชนิดอื่น และหากผู้ป่วยไม่ได้รับประทานยาควบคุมเชื้อเอชไอวี ก็จะยิ่งเสี่ยงติดเชื้อได้ง่ายกว่าผู้ที่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง การติดเชื้อชนิดอื่นที่อาจส่งผลให้เกิดตุ่มเอดส์ ได้แก่

  • โรคหูดข้าวสุก เป็นการติดเชื้อไวรัสที่ผิวหนังทำให้เกิดตุ่มสีเนื้อเล็ก ๆ สามารถพบได้ทุกส่วนบนร่างกาย และแพร่สู่ผู้อื่นได้ผ่านการสัมผัสผิวหนัง หรือใช้สิ่งของส่วนตัวร่วมกัน ตุ่มอาจมีขนาดใหญ่ขึ้นและรักษายากขึ้น โดยเฉพาะในผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี การรักษาที่ดีที่สุดคือการเสริมระบบภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยให้ดีขึ้น
  • ซิฟิลิส ผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวีและเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่ไม่ได้รับการรักษาในทันที อาจมีตุ่มผื่นขึ้นบริเวณฝ่ามือและฝ่าเท้า หลังจากติดเชื้อประมาณ 2-8 สัปดาห์
  • โรคงูสวัด เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเริม พบบ่อยในผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง ซึ่งส่งผลให้อาจรักษาได้ยากขึ้น โรคงูสวัดอาจทำให้เกิดตุ่มผื่นที่ผิวหนัง เจ็บปวด อาจเกิดขึ้นได้ทุกบริเวณบนร่างกาย โดยเฉพาะลำตัว แขน ขา และใบหน้า การรักษาอาจต้องให้ยาบรรเทาอาการปวดและยาต้านไวรัสเพื่อบรรเทาอาการและควบคุมตุ่มผื่นลุกลาม
  • มะเร็งผิวหนังชนิดคาโปซิ ซาร์โคมา (Kaposi Sarcoma) อาจทำให้เกิดตุ่มสีน้ำตาล สีม่วง หรือสีแดงบนผิวหนัง พบมากในผู้ติดเชื้อไวรัสเอชไอวีในระยะโรคเอดส์

ภาวะแทรกซ้อนของ ตุ่มเอดส์

  • อาจทำให้รู้สึกถูกแบ่งแยกออกจากสังคม
  • ผิวหนังอาจหนาและด้านขึ้น สีผิวคล้ำลงและอาจเกิดรอยแผลเป็น
  • การอักเสบอาจทำให้เกิดรอยดำบนผิวหนัง โดยเฉพาะผู้ที่มีผิวเข้ม

การรักษาตุ่มเอดส์

หาก ตุ่มเอดส์ ที่เกิดขึ้นทำให้มีอาการคลายไข้หวัดใหญ่ ผื่นลุกลามอย่างรวดเร็ว ต่อมน้ำเหลืองบวม และคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย ควรรีบเข้าพบคุณหมอเพื่อวินิจฉัยอาการ

  • การตรวจเลือด เพื่อตรวจหาเชื้อเอชไอวี ปริมาณไวรัส และจำนวนของเม็ดเลือดขาว CD4
  • การตัดชิ้นเนื้อจากผิวหนังส่งตรวจ เพื่อวินิจฉัยการติดเชื้อที่ผิวหนัง และการอักเสบของต่อมน้ำเหลือง

การรักษาอาจขึ้นอยู่กับสาเหตุของตุ่มเอดส์ หากเกิดขึ้นเพราะยา คุณหมออาจให้หยุดยาเพื่อให้ตุ่มเอดส์หายไป หรืออาจให้ยาต้านเชื้อไวรัสเพื่อทำให้ตุ่มยุบลงและทำให้อาการดีขึ้น ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของคุณหมอด้วย

วิธีดูแลตัวเองเพื่อลดอาการคันหรือปัญหาผิวเมื่อเป็นตุ่มเอดส์ มีดังนี้

  • ปรึกษาคุณหมอเกี่ยวกับวิธีใช้ยารับประทานและยาเฉพาะที่ เช่น ยาต้านฮีสตามีน (Antihistamine) ไฮโดรคอร์ติโซน (Hydrocortisone) สเตียรอยด์เฉพาะที่ เพื่อช่วยบรรเทาอาการคัน
  • รักษาด้วยวิธีส่องไฟ (Phototherapy) คือ การรักษาด้วยแสงไฟฟ้าที่มีความยาวคลื่น 400-500 นาโนเมตร เพื่อใช้รักษาโรคผิวหนังบางชนิด
  • ตุ่มเอดส์อาจทำให้มีอาการคันมาก ควรหลีกเลี่ยงการเกาเพื่อไม่ให้เกิดบาดแผลและติดเชื้อเพิ่มเติม
  • หลีกเลี่ยงการอาบน้ำร้อน ให้อาบน้ำอุณหภูมิปกติเพื่อไม่ให้ผิวแห้งเกินไป
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสแสงแดดโดยตรง เพราะผิวของผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวีอาจไวต่อแสงมาก

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

HIV Rash. https://www.webmd.com/hiv-aids/hiv-rash-causes-and-treatments. Accessed 10 March, 2023.

HIV. https://www.cdc.gov/hiv/basics/whatishiv.html. Accessed 10 March, 2023.

Side Effects of HIV Medicines. https://hivinfo.nih.gov/understanding-hiv/fact-sheets/hiv-and-rash. Accessed 10 March, 2023.

HIV Care. https://health.ucsd.edu/specialties/hiv/hiv-health/pages/skin.aspx. Accessed 10 March, 2023.

Cutaneous Manifestations of Human Immunodeficiency Virus: a Clinical Update. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4447481/. Accessed 10 March, 2023.

Pruritic papular eruption of HIV. https://dermnetnz.org/topics/pruritic-papular-eruption-of-hiv. Accessed 10 March, 2023.

Pruritic papular eruption in HIV: a case successfully treated with NB-UVB. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/23551375/. Accessed 10 March, 2023.

Pruritic papular eruptions as presenting illness of HIV. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3195174/. Accessed 10 March, 2023.

Can response of a pruritic papular eruption to antiretroviral therapy be used as a clinical parameter to monitor virological outcome?. https://journals.lww.com/aidsonline/Fulltext/2008/01110/Can_response_of_a_pruritic_papular_eruption_to.12.aspx. Accessed 10 March, 2023.

Factors associated with pruritic papular eruption of human immunodeficiency virus infection in the antiretroviral therapy era/. https://onlinelibrary.wiley.com/doi/10.1111/bjd.12721. Accessed 10 March, 2023.

เวอร์ชันปัจจุบัน

27/12/2023

เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคซิฟิลิส กับ เอดส์ เหมือนกันไหม มีวิธีรักษาและการป้องกันอย่างไร

อาการโรคเอดส์ สาเหตุ การรักษาและวิธีป้องกัน


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

Duangkamon Junnet


เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 27/12/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา