backup og meta

ประจําเดือนสีดำ สาเหตุ และอาการผิดปกติที่ควรพบคุณหมอ

ประจําเดือนสีดำ สาเหตุ และอาการผิดปกติที่ควรพบคุณหมอ

ประจําเดือนสีดำ อาจเป็นเรื่องปกติในช่วงแรกที่ประจำเดือนมาหรือใกล้ประจำเดือนหมด แต่ในขณะเดียวกันก็อาจบ่งบอกถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้นภายในสุขภาพช่องคลอดได้ ดังนั้น จึงควรสังเกตอาการผิดปกติ เช่น ช่องคลอดมีกลิ่น ปวดท้องล่างรุนแรง ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ และควรเข้าพบคุณหมออย่างรวดเร็ว เพราะอาจเป็นสัญญาณเตือนของการติดเชื้อ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และมะเร็งปากมดลูกได้

[embed-health-tool-ovulation]

ประจําเดือนสีดำ มีสาเหตุมาจากอะไร

ประจำเดือนเป็นสีดำ มีสาเหตุมาจากเลือดเก่าของประจำเดือนที่ตกค้างอยู่ภายในช่องคลอด เมื่อเลือดประจำเดือนสัมผัสกับอากาศหรือออกซิเจนจะเกิดการออกซิเดชันทำให้กลายเป็นสีดำได้ หรืออาจเป็นเลือดผสมกับตกขาวทำให้เลือดเปลี่ยนจากสีแดงหรือสีชมพูเป็นสีน้ำตาลหรือสีแดงเข้มจนถึงสีดำเข้มคล้ายกับกากกาแฟที่ไหลออกมาในช่วงระยะแรกของประจำเดือนหรือก่อนประจำเดือนหมดในรอบเดือนนั้น

นอกจากนี้ประจำเดือนสีดำยังอาจเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ ดังนี้

ประจําเดือนสีดำส่งผลกระทบต่อสุขภาพหรือไม่

ประจําเดือนสีดำ มักไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ แต่หากพบว่ามีเลือดหรือตกขาวสีดำไหลออกทางช่องคลอดหลังหมดประจำเดือนหรือมีอาการผิดปกติอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น มีไข้ แสบช่องคลอด ช่องคลอดมีกลิ่นเหม็น ก็อาจเป็นสัญญาณเตือนของสภาวะการติดเชื้อในช่องคลอด ที่เกิดจากสิ่งแปลกปลอมอุดตันภายในช่องคลอด เช่น อุปกรณ์คุมกำเนิด ถุงยางอนามัย ผ้าอนามัยแบบสอด ทำให้เยื่อบุช่องคลอดระคายเคืองจนเกิดการติดเชื้อ นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ที่สังเกตได้จากอาการเจ็บปวดขณะปัสสาวะ คันช่องคลอด มีเลือดออกระหว่างมีเพศสัมพันธ์ ปัสสาวะลำบาก สีตกขาวผิดปกติ ช่องคลอดมีกลิ่นเหม็น ผิวรอบ ๆ ช่องคลอดบวมและมีผื่นขึ้นที่อวัยวะเพศ 

นอกจากนี้ยังอาจเป็นสัญญาณเตือนของการแท้งบุตรรวมถึงโรคมะเร็งปากมดลูกที่อาจส่งผลให้มีเลือดสีดำออกทางช่องคลอด พร้อมกับอาการปวดท้องอย่างรุนแรง 

อาการผิดปกติของประจําเดือนสีดำที่ควรพบคุณหมอ

อาการผิดปกติของประจําเดือนสีดำที่ควรพบคุณหมอ อาจมีดังต่อไปนี้

  • ปวดเกร็งท้องรุนแรงโดยเฉพาะบริเวณท้องน้อย
  • สีตกขาวผิดปกติ เช่น ตกขาวมีสีเหลือง เขียว เทา และดำ ตกขาวสีขาวเป็นก้อนหนาเหมือนแป้งเปียก 
  • ช่องคลอดมีกลิ่นเหม็น
  • ประจำเดือนมามากจนต้องเปลี่ยนผ้าอนามัยทุก ๆ 1-2 ชั่วโมง
  • ประจำเดือนขาดนานกว่า 3 เดือน โดยที่ไม่ได้ตั้งครรภ์
  • รอบเดือนสั้นกว่า 21 วัน หรือมากกว่า 35 วัน
  • เป็นประจำเดือนหลายครั้งภายในเดือนเดียว
  • รู้สึกหายใจลำบากระหว่างเป็นประจำเดือนหรือหลังเป็นประจำเดือน
  • มีไข้ วิงเวียนศีรษะ อ่อนเพลีย และเหนื่อยล้า

หากมีอาการดังกล่าวควรเข้ารับการวินิจฉัยโดยคุณหมออาจตรวจด้วยการอัลตราซาวด์ เช็คมะเร็งปากมดลูก เก็บตัวอย่างชิ้นเนื้อเยื่อบุโพรงมดลูก ตรวจเลือด หรืออาจต้องส่องกล้องตรวจในโพรงมดลูก เพื่อหาความผิดปกติและรักษาตามสาเหตุที่เป็นอย่างรวดเร็ว

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Amenorrhea. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/amenorrhea/symptoms-causes/syc-20369299.Accessed January 17, 2023  

Overview-Periods. https://www.nhs.uk/conditions/periods/.Accessed January 17, 2023  

Menstrual cycle: What’s normal, what’s not. https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/womens-health/in-depth/menstrual-cycle/art-20047186.Accessed January 17, 2023  

What to Know About the Color of Period Blood. https://www.webmd.com/women/what-to-know-color-period-blood.Accessed January 17, 2023  

The Menstrual Cycle: An Overview. https://www.stanfordchildrens.org/en/topic/default?id=menstrual-cycle-an-overview-85-P00553.Accessed January 17, 2023  

เวอร์ชันปัจจุบัน

14/03/2023

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงอรกนิษฐา อรุณาทิตย์

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

ประจำเดือนเลื่อน เกิดจากอะไร มาช้าหรือเร็วแค่ไหนคือผิดปกติ

ประจำเดือนคืออะไร สำคัญอย่างไร และการดูแลตัวเองเพื่อให้ประจำเดือนมาปกติ


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงอรกนิษฐา อรุณาทิตย์

สูตินรีเวชวิทยา · โรงพยาบาลสุขุมวิท


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 14/03/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา