backup og meta

เทสโทสเตอโรนบำบัด มีอะไรบ้าง และข้อควรระวังในการรักษา

เทสโทสเตอโรนบำบัด มีอะไรบ้าง และข้อควรระวังในการรักษา

ปัญหาเทสโทสเตอโรนต่ำ เป็นปัญหาที่อาจพบได้บ่อยในผู้ชายทุกช่วงวัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ชายที่มีอายุมาก เมื่อระดับเทสโทสเตอโรนต่ำอาจส่งผลต่อสุขภาพ เช่น น้ำหนักเพิ่มขึ้น โรคอ้วน นอนไม่หลับ มีปัญหาเกี่ยวกับความจำ ซึ่งวิธีการแก้ปัญหาเทสโทสเตอโรนต่ำ อาจทำได้ด้วย เทสโทสเตอโรนบำบัด (Testosterone Replacement Therapy หรือ TRT) หรือการให้ฮอร์โมนทดแทน อย่างไรก็ตาม ควรปรึกษาคุณหมอก่อนทำการรักษา เพื่อป้องกันผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น

เทสโทสเตอโรน คืออะไร

เทสโทสเตอโรน คือ ฮอร์โมนที่ส่งผลต่อลักษณะต่างๆ ของผู้ชาย เช่น เสียง กล้ามเนื้อ ขนบนใบหน้า รวมถึงยังอมจช่วยในการสร้างเม็ดเลือดแดง รักษาความแข็งแรงของกระดูก และช่วยการทำงานของสมอง โดยทั่วไป ระดับเทสโทสเตอโรนจะถึงจุดสูงสุดในช่วงวัยเลขสอง และหลังจากอายุ 30 หรือ 40 จะค่อย ๆ ลดลงปีละ 1% เมื่อระดับเทสโทสเตอโรนทีต่ำลง อาจทำให้ผู้ชายเผชิญกับปัญหาอย่าง เช่น

  • การเปลี่ยนแปลงของสุขภาพทางเพศ เช่น ความต้องการทางเพศลดลง การแข็งตัวของอวัยะเพศตามธรรมชาติลดลง มีบุตรยาก
  • การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย เช่น ไขมันในร่างกายเพิ่มขึ้น มวลกล้ามเนื้อลดลง ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อลดลง ความหนาแน่นของกระดูกลดลง หน้าอกบวมหรือกดเจ็บ ผมร่วง ขนตามร่างกายน้อยลง อาจมีพลังวังชาน้อยกว่าที่เคย
  • การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ เช่น ซึมเศร้า ไม่มีสมาธิ ความจำแย่ลง

อย่างไรก็ตาม อาจต้องมีการระบุสาเหตุที่แน่ชัดอีกครั้งว่า ระดับเทสโทสเตอโรนต่ำเกิดมาจากการลดลงของเทสโทสเตอโรนเนื่องจากวัย หรือเกิดจากภาวะฮอร์โมนเพศต่ำ ซึ่งเป็นโรคที่ทำให้ร่างกายไม่สามารถสร้างเทสโทสเตอโรนในระดับปกติได้ หรืออาจเกิดจากปัจจัยอื่น ๆ เช่น ผลข้างเคียงของยา ไทรอยด์มีปัญหา โรคเบาหวาน โรคซึมเศร้า ซึ่งโรคเหล่านี้อาจทำให้เทสโทสเตอโรนต่ำลง และอาจรักษาได้ด้วยการทำให้เทสโทสเตอโรนสูงขึ้น

เทสโทสเตอโรนบำบัด มีอะไรบ้าง

คุณหมอสามารถวินิจฉัยระดับเทสโทสเตอโรนต่ำได้จากการดูอาการ การตรวจร่างกาย และผลการตรวจเลือด เนื่องจากระดับฮอร์โมนอาจจะเปลี่ยนแปลงไปได้ในแต่ละวัน ในกรณีส่วนใหญ่ ผู้ชายต้องมีทั้งระดับเทสโทสเตอโรนในเลือดต่ำ และมีอาการหลายอย่างของเทสโทสเตอโรนต่ำ คุณหมอถึงจะเลือกใช้การรักษาที่เรียกว่าเทสโทสเตอโรนบำบัด ซึ่งอาจมีกลายแบบ ดังนี้

  • แผ่นแปะผิวหนัง โดยแปะไว 24 ชั่วโมงแล้วจึงเปลี่ยนแผ่นใหม่ มักแปะในตอนเย็น และค่อย ๆ ปล่อยฮอร์โมนปริมาณเล็กน้อยเข้าสู่ผิวหนัง
  • เจล สำหรับทาบนผิวทุกวัน โดยล้างมือก่อนทาเจลทุกครั้ง จากนั้น ทาลงบนผิวบริเวณต้นแขนทั้ง 2 ด้าน ไหล่ หรือต้นขา แล้วปิดบริเวณที่ทายาด้วยผ้าสะอาดหรือผ้าก๊อซ เพื่อป้องกันไม่ให้สัมผัสกับเทสโทสเตอโรนจากแหล่งอื่น นอกจากนี้ ควรระวังไม่ให้ผู้หญิงหรือเด็กสัมผัสถูกเจล เพราะอาจเป็นอันตรายได้
  • ยาเม็ดสำหรับใช้ในปาก เป็นยาที่ใช้แปะติดกับเหงือกหรือกระพุ้งแก้ม วันละ 2 ครั้ง เทสโทสเตอโรนจะถูกดูดซึมเข้ากระแสโหลิต
  • แบบรับประทาน เป็นเทสโทสเตอโรนในรูปแบบธรรมชาติ (Testosterone Undecanoate) ที่สามารถดูดซึมผ่านการรับประทานได้ โดยทั่วไปผู้ชายต้องรับประทานวันละ 160-240 กรัม แบ่งเป็น 2-4 โดส ควรรับประทานพร้อมอาหาร เพราะอาจช่วยเพิ่มการดูดซึมเทสโทสเตอโรน
  • แบบฝัง ปกติจะฝังบริเวณสะโพกหรือก้น และค่อย ๆ ปล่อยเทสโทสเตอโรนเข้าสู่ร่างกายช้า ๆ โดยจะมีการเปลี่ยนใหม่ทุก 3 เดือน หรือ 6 เดือน
  • ยาฉีด มีหลายสูตร โดยจะฉีดเข้ากล้ามเนื้อทุก 7-14 วัน ระดับเทสโทสเตอโรนจะสูงขึ้นเป็นเวลา 2-3 วันหลังการฉีด แล้วจะค่อย ๆ ลดลง ซึ่งอาจทำให้อารมณ์ขึ้น ๆ ลง ๆ และอาจมีพลังวังชาเป็นช่วง ๆ

ผู้ชายส่วนใหญ่จะรู้สึกดีขึ้นภายใน 4-6 สัปดาห์ เมื่อได้รับการบำบัดด้วยเทสโทสเตอโรน แต่การเปลี่ยนแปลงในเรื่องมวลกล้ามเนื้อ อาจต้องใช้เวลา 3-6 เดือน ถึงจะเห็นการเปลี่ยนแปลง

ข้อควรระวังในการรักษาด้วยเทสโทสเตอโรนบำบัด

เทสโทสเตอโรนบำบัดอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดลิ่มเลือดและโรคหลอดเลือดสมอง นอกจากนี้ ยังอาจทำให้มีอาการหยุดหายใจขณะหลับ การเกิดสิว และหน้าอกขยายใหญ่ ซึ่งอาจพบได้ไม่บ่อย และผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นอาจจะหายไปเมื่อหยุดบำบัด

อย่างไรก็ตาม หากมีอาการหลายอย่างที่อาจเกี่ยวเนื่องกับปัญหาเทสโทสเตอโรนต่ำ การปรึกษาคุณหมอถึงวิธีการรักษาที่เหมาะสมอาจช่วยแก้ไขปัญหาเทสโทสเตอโรนต่ำได้

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Low Testosterone Therapy: Risks and Benefits. https://www.webmd.com/men/features/low-testosterone-therapy-risks-benefits#1. Accessed December 17, 2018

Treating low testosterone levels. https://www.health.harvard.edu/mens-health/treating-low-testosterone-levels. Accessed December 17, 2018

Risks of testosterone replacement therapy in men. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3897047/. Accessed December 17, 2018

Testosterone therapy: Potential benefits and risks as you age. https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/sexual-health/in-depth/testosterone-therapy/art-20045728. Accessed December 17, 2018

Treatment of Men for “Low Testosterone”: A Systematic Review. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5031462/. Accessed December 17, 2018

เวอร์ชันปัจจุบัน

20/09/2022

เขียนโดย pimruethai

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

ทุกสิ่งที่ผู้ชายควรรู้เกี่ยวกับความสำคัญของ ฮอร์โมนเพศชาย “เทสโทสเตอโรน”

เทสโทสเตอโรน และความเกี่ยวข้องกับโรคต่าง ๆ 


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย pimruethai · แก้ไขล่าสุด 20/09/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา