backup og meta

วิธีรับมือและจัดการกับ อารมณ์แปรปรวนในวัยทอง ที่ผู้หญิงวัยทองควรรู้

เขียนโดย นายแพทย์ธนานันต์ นุ่มแสง · สุขภาพ · โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์


แก้ไขล่าสุด 19/09/2022

    วิธีรับมือและจัดการกับ อารมณ์แปรปรวนในวัยทอง ที่ผู้หญิงวัยทองควรรู้

    วัยทอง (Menopause) คือ ภาวะที่ผู้หญิงเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน อยู่ในช่วงอายุประมาณ 45-55 ปี เป็นช่วงเวลาที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกายและจิตใจ และสภาวะทางอารมณ์ ที่อาจมีภาวะอารมณ์แปรปรวนจนเกิดเป็น อารมณ์แปรปรวนในวัยทอง ซึ่งนับเป็นอาการหนึ่งที่เกิดขึ้นใน วัยทอง ซึ่งทาง Hello คุณหมอ มีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้มาฝากกันในบทความนี้

    สาเหตุของการเกิด อารมณ์แปรปรวนในวัยทอง

    เมื่อเริ่มเข้าสู่ช่วง วัยทอง ร่างกายจะผลิตฮอร์โมนสำคัญอย่างฮอร์โมน เอสโตรเจน (Estrogen) และ โปรเจสเตอโรน (Progesterone) เริ่มลดลงทำให้ร่างกายและสมองมีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง บางอย่างก็เกี่ยวกับอารมณ์ อย่างฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ช่วยควบคุมฮอร์โมนเกี่ยวข้องกับการกระตุ้นอารมณ์ เช่น

    • เซโรโทนิน (Serotonin)
    • นอร์เอพิเนฟริน (Norepinephrine)
    • โดพามีน (Dopamine)

    อีกทั้งฮอร์โมนเอสโตรเจนยังช่วยสนับสนุนการทำงานของสมองในส่วนของความรู้ความเข้าใจ เมื่อฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลงจึงทำให้เกิดอาการหลงๆ ลืมๆ และนำไปสู่ อารมณ์วัยทอง ซึ่งเป็นอารมณ์แปรปรวนได้ นอกจากนี้ยังมีสาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้เกิดอารมณ์แปรปรวนใน วัยทอง เช่น มีภาวะโรคซึมเศร้า มีความเครียดสูง มีสุขภาพไม่แข็งแรง เป็นต้น

    การจัดการกับ อารมณ์แปรปรวนในวัยทอง ด้วยตนเอง

    • การออกกำลังกาย

    จากการศึกษาพบว่าการออกกำลังกายแอโรบิคครั้งละ 20 นาที อย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ช่วยบรรเทาอาการอารมณ์แปรปรวนใน วัยทอง ได้ การออกกำลังกายเป็นการทำกิจกรรมทางร่างกายที่ทำให้สมองเกิดการปล่อยสารเอนดอร์ฟิน (Endorphins) และสารเคมีอื่น ๆ ที่ทำให้อารมณ์ดี คุณควรวางแผนออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมที่ชอบโดยเลือกวันเวลาที่สะดวกและสามารถทำได้ต่อเนื่อง การออกกำลังกายในช่วงแรกอาจทำให้เหนื่อย

    เคล็ดลับคือคุณลองออกกำลังกายเบาๆ ก่อน เช่น วิ่งในวันแรก ว่ายน้ำต่อไป หรือขี่จักรยานทุกวัน ๆ คุณไม่จำเป็นต้องออกกำลังกายหนักๆ อย่างนักกีฬาโอลิมปิก การเดินเร็วๆ ก่อนไปทำงานหรือหลังอาหารเย็นก็ช่วยลดอารมณ์แปรปรวนได้เช่นเดียวกับการวิ่งมาราธอน

    • กินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ

    การรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพเป็นประโยชน์ต่ออารมณ์ของคุณเช่นเดียวกับร่างกาย คุณอาจรู้สึกดีขึ้นหลังจากรับประทานสลัดที่อุดมไปด้วยวิตามินและโปรตีนมากกว่ากินไอศกรีมไปหนึ่งกล่องก็ได้

    การกินอาหารที่หลากหลายเพื่อสุขภาพอย่างผักผลไม้ โปรตีนลีน และธัญพืชที่อุดมด้วยเส้นใย ทำให้ร่างกายได้รับกรดไขมันโอเมก้า 3 โฟเลต และสารอาหารอื่น ๆ ที่ช่วยปรับอารมณ์ของคุณให้ดีขึ้น

    • ปลดปล่อยความเครียด

    สำหรับผู้หญิงบางคน การปลดปล่อยความเครียดอาจทำได้ง่ายเหมือนกับการหายตัวไปในนวนิยายลึกลับ แต่สำหรับคนอื่น การทำโยคะท่าง่าย ๆ การทำสมาธิ หรือการเดินเงียบ ๆ ในธรรมชาติจะช่วยปรับอารมณ์ให้ดีขึ้น ลดความเครียด และความวิตกกังวล

    ลองออกกำลังกายด้วยการหายใจลึกๆ หรือฝึกโยคะ กิจกรรมเหล่านี้จะช่วยให้คุณรู้สึกปลอดโปร่งผ่อนคลายเหมือนอยู่ในวันหยุดพักผ่อน

    นอนหลับให้เพียงพอ

    การนอนหลับที่ไม่เพียงพอทำให้เกิดความหงุดหงิดและอารมณ์แปรปรวนได้ คุณควรมีวินัยในการนอน คือนอนให้เป็นเวลา ปิดเครื่องมือสื่อสารทุกชนิด ตรวจดูให้แน่ใจว่าห้องมีอุณหภูมิที่เย็นสบายและแสงจากภายนอกส่องเข้ามาไม่ได้

    การหลีกเลี่ยงการดื่มคาเฟอีนและแอลกอฮอล์ สิ่งเหล่านี้ช่วยให้คุณนอนหลับสบายขึ้น การนอนหลับที่ดีควรใช้เวลา 7-8 ชั่วโมง เพื่อให้ร่างกายได้ฟื้นฟูและซ่อมแซมระบบภูมิคุ้มกัน

    ปรึกษาแพทย์เพื่อหาแนวทางการรักษา อารมณ์แปรปรวนในวัยทอง

    หากคุณไม่สามารถควบคุมอารมณ์แปรปรวนได้ด้วยตัวเอง การพบผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์เพื่อรับคำแนะนำเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยได้ ก่อนพบหมอ ควรเตรียมข้อมูลสุขภาพให้พร้อม เช่น การใช้ยาหรืออาหารเสริมที่กินเป็นประจำ กิจกรรมที่ทำประจำ การกินอาหาร สถานที่ที่ก่อให้เกิดความเครียด ข้อมูลเหล่านี้ช่วยให้หมอปรับแนวทางในการใช้ชีวิตประจำวันที่เหมาะสมเพื่อลดอารมณ์แปรปรวนของคุณได้

    การบำบัดด้วยวิธีการใช้ฮอร์โมนทดแทนระยะสั้น (HRT) วิธีนี้อาจเป็นทางเลือกที่ดีในการบรรเทาอาการอารมณ์แปรปรวนและอาการที่เกี่ยวข้องกับ วัยทอง สำหรับผู้หญิงบางคน การบำบัดด้วยวิธี HRT นี้ไม่มีผลข้างเคียงใดๆ แต่ไม่เหมาะกับผู้ที่มีประวัติเป็นโรคมะเร็งเต้านม โรคลิ่มเลือด โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง

    การรักษาด้วยการฝังเข็ม เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยปรับสมดุลของระดับฮอร์โมนและการเพิ่มการผลิตสารโดพามีนและสารนอร์อะดรีนาลีน (Noradrenaline) แพทย์ฝังเข็มเรียกวิธีการรักษานี้ว่า “qi”  หรือการรักษาสมดุลการไหลของพลังงานภายในร่างกาย

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    เขียนโดย

    นายแพทย์ธนานันต์ นุ่มแสง

    สุขภาพ · โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์


    แก้ไขล่าสุด 19/09/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา