สัญญาณโรคซิฟิลิส เป็นสัญญาณเตือนที่อาจบ่งบอกว่าร่างกายกำลังได้รับเชื้อซิฟิลิสที่อาจสร้างปัญหาร้ายแรงอื่น ๆ เช่น โรคข้ออักเสบ ระบบประสาท สมองถูกทำลาย รวมทั้งยังอาจลุกลามจนทำให้ตาบอดได้อีกด้วย โดยโรคซิฟิลิสเป็นโรคที่สามารถรักษาได้ แต่ถ้าปลอยทิ้งไว้เป็นเวลานานอาจส่งผลร้ายแรงต่อสุขภาพได้
[embed-health-tool-bmi]
โรคซิฟิลิส คืออะไร
โรคซิฟิลิส เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โดยอาจเชื้อได้ทางการสัมผัสแผลซิฟิลิสโดยตรงระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ ทั้งทางทวารหนัก ช่องคลอด หรือทางปาก นอกจากนี้ โรคซิฟิลิสยังแพร่กระจายจากมารดาไปยังทารกได้อีกด้วย หากไม่ได้รับการรักษาอาจส่งผลต่อสุขภาพร้ายแรง เช่น โรคข้ออักเสบ ระบบประสาท สมองถูกทำลาย หากไม่ได้รับการรักษา
สัญญาณโรคซิฟิลิส
สัญญาณโรคซิฟิลิส เป็นอาการที่บ่งบอกว่าร่างกายได้รับเชื้อซิฟิลิส ซึ่งผู้หญิงและผู้ชายอาจมีอาการของโรคที่คล้ายคลึงกัน มักไม่แสดงอาการที่รุนแรงหรืออาจเป็น ๆ หาย ๆ ทำให้ในบางคนอาจติดเชื้อซิฟิลิสโดยไม่รู้ตัว หากไม่ได้รับการรักษาอาจส่งผลต่อปัญหาร้ายแรงอื่น ๆ ตามมาได้ โดยโรคซิฟิลิสสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ระยะ คือ ระยะปฐมภูมิ ระยะทุติยภูมิ ระยะแฝง และระยะตติยภูมิ ซึ่งในแต่ละระยะอาจมีสัญญาณอาการที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้
ระยะปฐมภูมิ
หลังจากการติดเชื้อซิฟิลิสประมาณ 2-3 สัปดาห์ ผู้ป่วยมักมีอากการเริ่มแรก คือ
- มีแผลเล็ก ๆ ไม่มีอาการเจ็บ หรือเรียกว่า แผลริมอ่อน
- อาจมีอาการเจ็บบริเวณองคชาต ช่องคลอด รอบ ๆ ทวารหนัก หรือในบางครั้งอากเกิดขึ้นในช่องปาก ริมฝีปาก นิ้วมือ
- อาจมีต่อมบวมที่คอ ขาหนีบ หรือรักแร้
ระยะทุติยภูมิ
อาการในระยะนี้มักเริ่มขึ้นเมื่ออาการระยะแรกหายไป โดยอาการที่เกิดขึ้นอาจมีดังนี้
- มีผื่นแดงที่สามารถเกิดขึ้นได้ทั่วทั้งร่างกาย แต่ส่วนใหญ่มักพบที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้า
- ผิวหนังบริเวณอวัยวะเพศเจริญเติบโตเป็นก้อนขนาดเล็กคล้ายหูด
- มีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ เช่น เหนื่อยล้า ปวดศีรษะ ปวดข้อ และมีไข้สูง
- อาจมีต่อมบวม
- อาจมีผมร่วงเป็นหย่อม ๆ
อาการเหล่านี้อาจหายไปเองและสามารถกลับมาเป็นได้อีก ซึ่งอาการอาจเกิดขึ้นซ้ำ ๆ โดยใช้เวลาเป็นปี
ระยะแฝง
หากไม่ได้เข้ารับการรักษาซิฟิลิสตั้งแต่ต้น โรคซิฟิลิสจะเข้าสู่ระยะแฝง คือ ระยะที่ไม่แสดงอาการของโรค แต่เชื้อซิฟิลิสยังคงอยู่และอาจลุกลามไปจนถึงระยะที่รุนแรงขึ้นได้
ระยะตติยภูมิ
ระยะตติยภูมิเป็นสัญญาณโรคซิฟิลิสระยะร้ายแรง เพราะเชื้อยังอยู่ในร่างกายแต่อาจไม่แสดงอาการและสามารถแพร่กระจายไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ เช่น สมอง เส้นประสาท และอาจร้ายแรงถึงชีวิตได้ โดยในระยะตติยภูมิอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้ ดังนี้
- เยื่อหุ้มสมองอักเสบ
- โรคหลอดเลือดสมอง
- อาการสมองเสื่อม
- ความผิดปกติของการประสานงานและความสมดุลในร่างกาย เช่น การพูด การกลืน การทรงตัว
- อาการชา
- ปัญหาการมองเห็น อาจทำให้ตาบอด
- ปัญหาหัวใจ
ในระยะตติยภูมิบางอาการยังสามารถรักษาให้หายได้ แต่สำหรับบางอาการที่ส่งผลรุนแรงอาจไม่สามารถทำการรักษาให้หายได้ จึงควรเข้าพบคุณหมอเพื่อทำการตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หากมีสัญญาณโรคซิฟิลิสหรือรู้สึกวิตกกังวล เพื่อจะได้เข้ารับการรักษาได้อย่างทันท่วงที