backup og meta

Pid (Pelvic Inflammatory Disease) คือ โรคอะไร และมีวิธีการรักษาอย่างไร

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงอรกนิษฐา อรุณาทิตย์ · สูตินรีเวชวิทยา · โรงพยาบาลสุขุมวิท


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 03/03/2023

    Pid (Pelvic Inflammatory Disease) คือ โรคอะไร และมีวิธีการรักษาอย่างไร

    Pid คือ โรค อะไร อาจเป็นคำถามที่หลายคนสงสัย ซึ่ง Pid ย่อมาจาก Pelvic Inflammatory Disease หรือโรคอุ้งเชิงกรานอักเสบ ที่เกิดจากระบบสืบพันธุ์ของผู้หญิงส่วนบนติดเชื้อ ที่ควรเข้ารับการรักษาอย่างรวดเร็วเมื่อมีอาการผิดปกติ เช่น ปวดท้องน้อย ไข้ ตกขาวผิดปกติ  เจ็บปวดช่องคลอดระหว่างมีเพศสัมพันธ์ ปัสสาวะลำบาก กลิ่นเหม็นในช่องคลอด ไข้ เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง เช่น ฝีที่ท่อรังไข่ ปวดอุ้งเชิงกรานเรื้อรัง

    Pid คือ โรค อะไร

    Pid คือ โรคอุ้งเชิงกรานอักเสบที่มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อแบคทีเรียผ่านการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน ที่มักติดเชื้อในระบบสืบพันธุ์ส่วนบนของผู้หญิง เช่น มดลูก รังไข่ ท่อ นำไข่ ส่งผลให้อุ้งเชิงกรานอักเสบ นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ที่อาจทำให้ผู้หญิงอุ้งเชิงกรานอักเสบ ดังนี้

    • มีคู่นอนหลายคน
    • ไม่สวมถุงยางอนามัยระหว่างมีเพศสัมพันธ์
    • การสวนล้างอวัยวะเพศผิดวิธี ที่ทำให้แบคทีเรียชนิดดีภายในช่องคลอดเสียสมดุลนำไปสู่การติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน
    • เคยมีประวัติเป็นโรคอุ้งเชิงกรานอักเสบหรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์มาก่อน

    อาการของ Pid

    อาการของโรคอุ้งเชิงกรานอักเสบ อาจมีดังต่อไปนี้

    • ปวดท้องน้อยหรือรู้สึกเจ็บท้องน้อยเมื่อกด
    • สีตกขาวผิดปกติที่อาจมีสีเหลืองหรือเขียว 
    • ตกขาวไหลออกปริมาณมากและมีกลิ่นเหม็น
    • มีเลือดออกจากช่องคลอด โดยเฉพาะระหว่างหรือหลังจากมีเพศสัมพันธ์
    • อาการเจ็บปวดขณะมีเพศสัมพันธ์
    • มีไข้และอาการหนาวสั่นในบางครั้ง
    • ปวดปัสสาวะบ่อยหรือปัสสาวะลำบาก ปัสสาวะแสบขัด
    • คลื่นไส้อาเจียน

    ควรเข้าพบคุณหมออย่างรวดเร็วหากมีอาการปวดท้องน้อยระดับรุนแรง คลื่นไส้ อาเจียน มีไข้สูงกว่า 38 องศาเซลเซียส และตกขาวมีกลิ่นเหม็น

    ภาวะแทรกซ้อนของ Pid

    โรคอุ้งเชิงกรานอักเสบหากไม่เข้ารับการรักษาและปล่อยไว้เป็นเวลานานอาจเพิ่มความเสี่ยงก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อน ดังต่อไปนี้

  • การตั้งครรภ์นอกมดลูก การติดเชื้อแบคทีเรียอาจทำลายเนื้อเยื่อในท่อนำไข่ที่ส่งผลให้เป็นแผลเป็น เกิดพังผืดบริเวณท่อนำไข่ ส่งผลให้ไข่ปฏิสนธิแล้วไม่สามารถเดินทางผ่านท่อนำไข่เพื่อฝังตัวในมดลูกได้จึงอาจเกิดการฝังตัวบริเวณนอกมดลูกแทน สังเกตได้จาก มีอาการปวดท้องในขณะตั้งครรภ์และ เลือดออกมากและอาจเสียเลือดจนนำไปสู่การเสียชีวิตได้
  • ภาวะมีบุตรยาก โรคอุ้งเชิงกรานอักเสบอาจสร้างความเสียหายต่ออวัยวะในระบบสืบพันธุ์นำไปสู่การมีบุตรยาก
  • ปวดอุ้งเชิงกรานเรื้อรัง โรคอุ้งเชิงกรานอักเสบอาจส่งผลให้มีอาการปวดบริเวณอุ้งเชิงกรานเป็นเวลานานหลานเดือนหรือหลายปีและก่อให้เกิดแผลเป็นบริเวณท่อนำไข่รวมถึงอวัยวะอื่น ๆ ในระบบสืบพันธุ์โดยสามารถสังเกตได้จากอาการเจ็บปวดในระหว่างมีเพศสัมพันธ์
  • ฝีในท่อรังไข่ โรคอุ้งเชิงกรานอักเสบอาจก่อให้เกิดการสะสมของหนองบริเวณรังไข่และท่อนำไข่ หากไม่รับการรักษาอาจเกิดการติดเชื้อที่ส่งผลอันตรายให้ถึงแก่ชีวิตได้
  • วิธีการรักษา Pid

    วิธีการรักษาโรคอุ้งเชิงกรานอักเสบ คุณหมออาจรักษาด้วยยาปฏิชีวนะในรูปแบบ ฉีด เข้ากล้ามเนื้อ ครั้งเดียว และ รับประทานร่วมด้วยเป็นเวลา 2 สัปดาห์ และติดตามอาการร่วมด้วย เพื่อช่วยต้านเชื้อแบคทีเรีย ยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย ปกติแล้วผู้ป่วยมักมีอาการดีขึ้นประมาณ 3 วัน หากมีอาการแย่ลงหรืออาการไม่ดีขึ้นควรแจ้งคุณหมอให้ทราบ เพื่อปรับเปลี่ยนยาปฏิชีวนะชนิดใหม่ หรืออาจรับยาในรูปแบบฉีดผ่านหลอดเลือดดำโดยตรง

    นอกจากนี้ในระหว่างที่ใช้ยาปฏิชีวนะควรหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์จนกว่าโรคอุ้งเชิงกรานอักเสบจะหายสนิท เพื่อป้องกันการติดเชื้อเพิ่มเติมจากคู่นอนและมีอาการที่แย่ลง

    และควรรักษาคู่นอนด้วยในรายที่สงสัยการติดเชื้อหนองในแท้หรือหนองในเทียมซึ่งเป็นสาเหตุหลักของ PID

    การป้องกัน Pid 

    การป้องกันโรคอุ้งเชิงกรานอักเสบ อาจทำได้ดังนี้

    • สอบถามประวัติโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ของคู่นอน
    • ไม่ควรมีคู่นอนหลายคน
    • สวมถุงยางอนามัยทุกครั้งระหว่างที่มีเพศสัมพันธ์
    • หลีกเลียงการสวนล้างในช่องคลอด โดยควรล้างทำความสะอาดอวัยวะเพศหรือรอบนอกช่องคลอดด้วยผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดจุดซ่อนเร้นสูตรอ่อนโยน เพื่อป้องกันแบคทีเรียในช่องคลอดเสียสมดุล อีกทั้งควรซับน้ำด้วยทิชชูบริเวณอวัยวะเพศจากด้านหน้าไปด้านหลังทวารหนักให้แห้งสนิท เพราะความชื้นอาจกระตุ้นการเจริญเติบโตแบคทีเรียจนนำไปสู่การติดเชื้อได้
    • ตรวจสุขภาพประจำปีและเข้ารับการตรวจสุขภาพภายในช่องคลอด เพื่อช่วยตรวจคัดกรองโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และรักษาได้อย่างรวดเร็ว

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

    แพทย์หญิงอรกนิษฐา อรุณาทิตย์

    สูตินรีเวชวิทยา · โรงพยาบาลสุขุมวิท


    เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 03/03/2023

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา