backup og meta

ไขข้อสงสัย เชื้อเอชพีวีกับมะเร็งปากมดลูก เกี่ยวข้องกันอย่างไร

ไขข้อสงสัย เชื้อเอชพีวีกับมะเร็งปากมดลูก เกี่ยวข้องกันอย่างไร

เชื้อเอชพีวีกับมะเร็งปากมดลูก ทั้ง 2 โรคนี้มีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร? คุณเคยสงสัยหรือไม่? วันนี้เราจะมาหาคำตอบถึงความเกี่ยวข้องกันของ เชื้อเอชพีวีกับมะเร็งปากมดลูก เพื่อให้คุณผู้หญิงทุกคนได้ระมัดระวังตัวมากยิ่งขึ้น ถ้าพร้อมแล้วหาคำตอบความเกี่ยวข้องของเชื้อเอชพีวีกับมะเร็งปากมดลูกได้ในบทความนี้

HPV คือกลุ่มของเชื้อไวรัสที่เกี่ยวข้องมากกว่า 200 ชนิด บางชนิดแพร่กระจายผ่านการมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด ทวารหนัก หรือทางช่องปาก โดยจะแบ่งออกเป็นกล่มที่มีความเสี่ยงต่ำกับกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง

  • HPV กลุ่มที่มีความเสี่ยงต่ำส่วนใหญ่ไม่ก่อให้เกิดโรค แต่บางชนิดอาจทำให้เกิดหูดที่อวัยวะเพศ ทวารหนัก ปาก หรือลำคอได้
  • HPV กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงสามารถทำให้เกิดมะเร็งได้หลายประเภทหนึ่งในนั้น คือ มะเร็งปากมดลูก

เชื้อเอชพีวีกับมะเร็งปากมดลูก เกี่ยวข้องกันอย่างไร

มะเร็งปากมดลูกในสตรีส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากการติดเชื้อ ฮิวแมนแพพพิลโลมาไวรัส (Human papillomavirus : HPV) ซึ่งเป็นกลุ่มของเชื้อไวรัสที่มีมากกว่า 200 ชนิด เชื้อไวรัสจะแพร่กระจายในระหว่างมีเพศสัมพันธ์และการทำกิจกรรมทางเพศอื่น ๆ  เช่น การสัมผัสทางผิวหนังบริเวณอวัยวะเพศ

เชื้อ HPV อย่างน้อย 15 ชนิด มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดมะเร็งปากมดลูก ส่วนใหญ่ HPV16 และ HPV18 จะเป็นตัวที่ทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูกมากที่สุด โดยเชื้อ HPV ที่มีความเสี่ยงสูงเหล่านี้จะเข้าไปหยุดการทำงานของเซลล์ ซึ่งส่งผลให้เซลล์สืบพันธ์มีความผิดปกติแบบควบคุมไม่ได้ นำไปสู่การเจริญเติบโตของเนื้องอกมะเร็ง

ปัจจัยเสี่ยงเชื้อเอชพีวีพัฒนาไปเป็นมะเร็งปากมดลูก

  • ชนิดของเชื้อ HPV ที่สามารถก่อให้เกิดมะเร็งปากมดลูกได้
  • ภูมิคุ้มกัน ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น ติดเชื้อเอชไอวี หรือมีแนวโน้มติดเชื้อ HPV อย่างต่อเนื่องและลุกลามอย่างรวดเร็วไปเป็นมะเร็ง
  • การติดเชื้อ HPV ร่วมกับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ เช่น โรคเริม หนองในเทียม และโรคหนองใน
  • การสูบบุหรี่

การป้องกันมะเร็งปากมดลูกจากเชื้อเอชพีวี

เชื้อ HPV ส่วนใหญ่นั้นไม่แสดงอาการของโรค คุณจึงอาจมีความเสี่ยงติดเชื้อไวรัสโดยไม่รู้ตัวมาเป็นระยะเวลานาน ดังนั้นการป้องกันมะเร็งปากมดลูกจากเชื้อเอชพีวีจึงเป็นสิ่งที่คุณควรใส่ใจ

  • ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก วิธีนี้เป็นวิธีป้องกันที่ดีที่สุดในการตรวจหาเซลล์มะเร็งที่อาจเกิดขึ้นในระยะแรกเพื่อรักษาได้อย่างทันท่วงทีในระยะที่ยังไม่ลุกลาม และถึงแม้ว่าคุณจะได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อ HPV แล้วก็ตามการตรวจคัดกรอกก็ยังมีความสำคัญอยู่เช่นเคย
  • ฉีดวัคซีน เป็นการฉีดวัคซีนป้องกัน HPV 4 ชนิด รวมถึง 2 สายพันธุ์ (HPV 16 และ HPV 18) ที่เป็นสาเหตุการเกิดมะเร็งปากมดลูก และนอกจากนี้ยังช่วยป้องกันหูดที่อวัยวะเพศด้วย
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ จะช่วยลดโอกาสเกิดมะเร็งปากมดลูกได้และสามารถกำจัดการติดเชื้อ HPV ออกจากร่างกายที่อาจพัฒนาไปเป็นมะเร็งในอนาคต
  • เพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย มะเร็งปากมดลูกสามารถเกิดได้จากการติดเชื้อบางชนิด สามารถแพร่กระจายผ่านการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน ดังนั้นจึงควรใช้ถุงยางอนามัยเพื่อลดความเสี่ยงของการติดเชื้อไวรัส และการติดเชื้อ HPV จะเพิ่มโอกาสมากขึ้นหากคุณมีเพศสัมพันธ์กับคู่นอนหลายคน การมีแพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัยจึงเป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยป้องกันเชื้อเอชพีวีกับมะเร็งปากมดลูกได้

[embed-health-tool-ovulation]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Prevention. https://www.nhs.uk/conditions/cervical-cancer/prevention/. Accessed July 22, 2021

Human Papillomavirus and Cervical Cancer. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC145302/. Accessed July 22, 2021

HPV and Cancer. https://www.cancer.gov/about-cancer/causes-prevention/risk/infectious-agents/hpv-and-cancer. Accessed July 22, 2021

Cervical cancer. https://www.nhs.uk/conditions/cervical-cancer/causes/. Accessed July 22, 2021

Cervical cancer. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/cervical-cancer/symptoms-causes/syc-20352501. Accessed July 22, 2021

Human papillomavirus (HPV) and cervical cancer. https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/human-papillomavirus-(hpv)-and-cervical-cancer. Accessed July 22, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

22/08/2024

เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

ข้อควรรู้เกี่ยวกับ วัคซีน HPV ตัวช่วยป้องกันมะเร็งปากมดลูก เท่านั้นหรือ?

ไวรัส HPV คืออะไร รักษาและป้องกันได้อย่างไรบ้าง?


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 22/08/2024

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา