backup og meta

Trichomonas คืออะไร มีสาเหตุ อาการ และการรักษาอย่างไร

Trichomonas คืออะไร มีสาเหตุ อาการ และการรักษาอย่างไร

Trichomonas (โรคพยาธิในช่องคลอด) คือ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่ส่วนใหญ่พบได้ในผู้หญิง ส่งผลกระทบต่อสุขภาพช่องคลอดทำให้มีตกขาวผิดปกติ มีอาการคันอวัยวะเพศ ซึ่งควรได้รับการรักษาอย่างรวดเร็ว เพื่อลดความเสี่ยงการเกิดภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง โดยเฉพาะผู้หญิงตั้งครรภ์ เช่น คลอดทารกก่อนกำหนด ทารกติดเชื้อ ทารกมีน้ำหนักแรกเกิดต่ำ 

[embed-health-tool-ovulation]

Trichomonas คืออะไร

Trichomonas คือ คำศัพท์ทางการแพทย์ที่ใช้เรียกโรคพยาธิในช่องคลอด ซึ่งเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เกิดจากการติดเชื้อปรสิตหรือพยาธิที่ชื่อว่าทริโคโมแนส วาจินาลิส (Trichomonas vaginalis) พบบ่อยในผู้หญิงและมักส่งผลกระทบต่อช่องคลอด ขณะเดียวกันก็สามารถพบได้ในผู้ชายแต่อาจไม่แสดงอาการหรืออาจมีอาการน้อยกว่าผู้หญิง

สาเหตุของ Trichomonas คืออะไร

สาเหตุของโรคพยาธิในช่องคลอดเกิดจากการติดเชื้อประสิตในระบบสืบพันธุ์ส่วนล่างภายในและภายนอกของผู้หญิง เช่น ปากช่องคลอด ปากมดลูก ท่อปัสสาวะ และสำหรับผู้ชายอาจติดเชื้อบริเวณองคชาต ต่อมลูกหมาก ท่อปัสสาวะ โดยมีปัจจัยเสี่ยงจากการมีเพศสัมพันธ์ไม่ป้องกัน ไม่ว่าจะเป็นการมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด ทวารหนัก หรือปาก การมีเพศสัมพันธ์หลายคน และมีประวัติเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ มาก่อน

อาการของ Trichomonas คืออะไร

อาการของโรคพยาธิในช่องคลอด คือ อาการติดเชื้อที่อาจใช้ระยะเวลาฟักตัวประมาณ 4-28 วัน ก่อนแสดงอาการผิดปกติ ดังนี้

อาการโรคพยาธิช่องคลอดในผู้หญิง

  • อวัยวะเพศแดง มีอาการคันหรือรู้สึกแสบร้อน
  • ช่องคลอดมีกลิ่นเหม็น
  • สีตกขาวผิดปกติ เช่น สีเขียว สีเทา สีเหลือง และอาจมีลักษณะเป็นฟองหรือเป็นก้อนหนา
  • รู้สึกเจ็บแสบขณะปัสสาวะหรือระหว่างที่มีเพศสัมพันธ์
  • รู้สึกปวดท้องช่วงล่าง

อาการโรคพยาธิช่องคลอดในผู้ชาย

  • เจ็บแสบอวัยวะเพศขณะปัสสาวะ
  • อาการคันอวัยวะเพศ
  • ปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ
  • ตกขาวไหลออกทางองคชาต
  • องคชาตและส่วนปลายขององคชาตมีอาการปวด บวมแดง 

วิธีการรักษา Trichomonas 

โรคพยาธิในช่องคลอดคุณหมอจะรักษาได้ด้วยการให้ยาปฏิชีวนะ ที่มี 2 รูปแบบ ดังนี้

  • การให้ยาเพียงครั้งเดียว เช่น เมโทรนิดาโซล (Methonidazole) ทินิดาโซล (Tinidazole) โดยอาจให้รับประทานเพียงครั้งเดียว เพื่อช่วยต้านเชื้อรา ปรสิตและรักษาโรคพยาธิในช่องคลอด
  • การให้ยาต่อเนื่อง คุณหมออาจให้รับประทานยาเมโทรนิดาโซล (Methonidazole) ทินิดาโซล (Tinidazole) ในปริมาณที่ต่ำกว่าการให้ยาเพียงครั้งเดียว โดยแนะนำให้รับประทาน 3 ครั้ง/วัน เป็นเวลา 7 วัน สำหรับ Metronidazole เพื่อช่วยกำจัดปรสิตโดยสมบูรณ์ และไม่ควรหยุดยาถึงแม้ว่าจะมีอาการดีขึ้น เพื่อป้องกันการดื้อยาและอาจกลับมาเป็นซ้ำได้ เพราะอาจยังคงเหลือปรสิตอยู่ภายในช่องคลอด

และควรรักษาคู่นอนด้วยแม้ว่าจะไม่มีอาการอะไรก็ตาม เพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำหรือการติดเชื้อซ้ำ

นอกจากนี้ระหว่างที่ใช้ยาไม่ควรมีเพศสัมพันธ์จนกว่าจะหายดี และหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อป้องกันอาการคลื่นไส้ อาเจียนและลดประสิทธิภาพของยา อีกทั้งควรเข้ารับการตรวจหาเชื้อตามที่คุณหมอกำหนดเพื่อให้แน่ใจว่าเชื้อนั้นหายไปอย่างสมบูรณ์ช่วยลดการแพร่กระจายไปยังผู้อื่น

การป้องกันโรคพยาธิในช่องคลอด

การป้องกันโรคพยาธิในช่องคลอด อาจทำได้ดังนี้

  • จำกัดการมีคู่นอนและหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์หลายคน
  • สวมถุงยางอนามัยทุกครั้งระหว่างที่มีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด ทางปาก และทวารหนัก
  • ตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อตรวจคัดกรองโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

[embed-health-tool-ovulation]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Trichomoniasis. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/trichomoniasis/symptoms-causes/syc-20378609.Accessed January 23, 2023  

Trichomoniasis. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/trichomoniasis/diagnosis-treatment/drc-20378613.Accessed January 23, 2023   

Trichomoniasis. https://www.nhs.uk/conditions/trichomoniasis/.Accessed January 23, 2023   

Trichomoniasis. https://www.cdc.gov/std/trichomonas/stdfact-trichomoniasis.htm.Accessed January 23, 2023   

Trichomoniasis. https://www.webmd.com/sexual-conditions/guide/trichomoniasis.Accessed January 23, 2023  

เวอร์ชันปัจจุบัน

04/03/2023

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงอรกนิษฐา อรุณาทิตย์

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

เลือดออกจากองคชาต หลังมีเพศสัมพันธ์ เกิดจากอะไร

5 ท่าร่วมรัก สำหรับผู้สูงอายุ และข้อควรระวังในการมีเพศสัมพันธ์


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงอรกนิษฐา อรุณาทิตย์

สูตินรีเวชวิทยา · โรงพยาบาลสุขุมวิท


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 04/03/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา