backup og meta

รักษาเริมที่ปาก สามารถทำได้อย่างไร

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงนันทิวดี มาเมือง · สูตินรีเวชวิทยา · โรงพยาบาลสุขุมวิท


เขียนโดย นนทกร บัณฑิตสินทรัพย์ · แก้ไขล่าสุด 03/01/2023

    รักษาเริมที่ปาก สามารถทำได้อย่างไร

    โรมเริม เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่สามารถพบได้บ่อย เกิดจากการติดเชื้อไวรัส Herpes simplex virus (HSV) ผู้ป่วยอาจไม่แสดงอาการและอาจไม่รู้ตัวว่าติดเชื้อไวรัส หากเริ่มรุนแรง อาจมีอาการเจ็บปวดในปาก เหงือก ลิ้น โดยการ รักษาเริมที่ปาก อาจช่วยบรรเทาอาการและลดการแพร่เชื้อของไวรัส

    อาการของเริมที่ปาก

    การติดเชื้อเริมที่ปาก อาจไม่แสดงอาการ หรืออาจมีอาการหลังจากได้รับเชื้อประมาณ 2-12 วัน อาการอาจเริ่มจากรู้สึกแสบร้อน หรือคันบริเวณริมฝีปาก และเกิดตุ่มใส ๆ ลักษณะคล้ายพวงองุ่น หลังจากนั้นประมาณ 4-6 วัน ตุ่มใสจะเริ่มแห้งและหายเป็นปกติ อาจมีไข้ เหนื่อยล้า ปวดกล้ามเนื้อ เหงือกบวม รวมถึงต่อมน้ำเหลืองที่คอบวมร่วมด้วย แต่ถ้าหากร่างกายอ่อนแอ อาการของโรคเริมที่ปากก็อาจกลับมาได้อีกครั้ง 

    การ รักษาเริมที่ปาก

    ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาโรคเริมที่ปากให้หายได้ 100 % เนื่องจากผู้ที่เคยเป็นเริมที่ปากอาจกลับมาเป็นซ้ำได้อีก หากร่างกายอ่อนแอ หรือพักผ่อนไม่เพียงพอ แต่การรักษาด้วยยาต้านไวรัสดังต่อไปนี้ อาจช่วยบรรเทาอาการได้

    • อะไซโคลเวียร์ (Acyclovir) รับประทาน 400 มก. วันละ 3 ครั้ง หรือ 200 มก. วันละ 5 ครั้ง  
    • ฟามซิโคลเวียร์ (Famciclovir) รับประทาน 500 มก. วันละ  ครั้ง หรือ 250 มก. วันละ 3 ครั้ง  
    • วาลาไซโคลเวียร์ (Valacyclovir) 1 กรัม วันละ 2 ครั้ง 

    นอกจากนี้ คุณหมออาจรักษาด้วยยาชนิดทา เช่น อะไซโคลเวียร์ (Acyclovir) เพนซิโคลเวียร์ (penciclovir) โดยระยะเวลาในการรักษาประมาณ 7-10 วัน ขึ้นอยู่กับอาการของแต่ละบุคคล หากรอยโรคไม่หายหรือลุกลามอาจต้องขยายเวลาในการรักษา โดยขณะรักษาโรคเริมที่ปาก ควรเช็ดบริเวณแผลให้แห้ง และสะอาดอยู่เสมอ เพราะหากให้แผลชื้น อาจทำให้แผลหายช้าได้ ผู้ป่วยบางรายอาจต้องใช้ยาแก้ปวด หรือยาแก้อักเสบร่วมด้วย อย่างไรก็ตาม หากรักษาหายแล้ว ควรหมั่นดูแลร่างกาย เนื่องจากวิธีรักษาเริมที่ปากดังกล่าวเป็นเพียงการบรรเทาอาการเท่านั้น 

    การป้องกันโรคเริมที่ปาก 

    เนื่องจากโรคเริมที่ปาก สามารถแพร่กระจายเชื้อไวรัสจากการสัมผัส หรือผ่านทางสารคัดหลั่ง เช่น น้ำลาย ดังนั้นการป้องกันโรคเริมอาจทำได้ ด้วยวิธีดังต่อไปนี้

    • หลีกเลี่ยงการใช้สิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ ร่วมกับผู้อื่น เช่น แก้วน้ำ ผ้าเช็ดตัว เสื้อผ้า เครื่องสำอาง เพื่อลดการแพร่เชื้อ และลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ
    • หลีกเลี่ยงการเปลี่ยนคู่นอนหลายคน และควรสวมถุงยางอนามัยทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์ และอาจหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ทางปาก หรือใช้แผ่นยางอนามัยทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์ด้วยปาก
    • หลีกเลี่ยงการสัมผัสแผล หรือสารคัดหลั่งของผู้ป่วย โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีตุ่ม เพราะหากสัมผัสอาจมีโอกาสที่จะได้รับเชื้อ เนื่องจากโรคเริมสามารถแพร่กระจายเชื้อไวรัสได้แม้แผลแห้งแล้ว

    บุคคลที่เคยเป็นโรคเริมที่ปาก ควรปฏิบัติตามคำแนะนำข้างต้นเช่นกัน เพื่อลดปัจจัยในการแพร่เชื้อให้กับบุคคลอื่น 

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

    แพทย์หญิงนันทิวดี มาเมือง

    สูตินรีเวชวิทยา · โรงพยาบาลสุขุมวิท


    เขียนโดย นนทกร บัณฑิตสินทรัพย์ · แก้ไขล่าสุด 03/01/2023

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา