backup og meta

กัดเล็บ ส่งผลเสียไหม ทำอย่างไรให้เลิกนิสัยชอบกัดเล็บ

กัดเล็บ ส่งผลเสียไหม ทำอย่างไรให้เลิกนิสัยชอบกัดเล็บ

กัดเล็บ คือพฤติกรรมที่อาจเริ่มตั้งแต่ช่วงวัยเด็กและอาจสร้างความเคยชินจนติดการกัดเล็บมาจนถึงช่วงวัยผู้ใหญ่ ซึ่งการกัดเล็บนี้อาจสาเหตุมาจากความเครียด กังวลใจ เบื่อ หรือเศร้า อย่างไรก็ตามควรหลีกเลี่ยงการกัดเก็บเพราะอาจทำให้เนื้อเยื่อรอบเล็บเสียหาย เสี่ยงติดเชื้อ ทำให้ร่างกายได้รับเชื้อโรคนำไปสู่ความเจ็บป่วย และทำให้เสียบุคลิก

[embed-health-tool-bmi]

สาเหตุที่ทำให้เกิดพฤติกรรม กัดเล็บ

สาเหตุที่ทำให้เกิดพฤติกรรมการกัดเล็บ อาจเกิดจากความเครียด รู้สึกวิตกกังวล ประหม่า เบื่อ เศร้า เมื่อเผชิญกับสถานการณ์ต่าง ๆ ทำให้กัดเล็บเพื่อเป็นการผ่อนคลายหรืออาจคุ้นชินกับการกัดเล็บตั้งแต่วัยเด็กจนทำให้มีพฤติกรรมการกัดเล็บอย่างต่อเนื่องจนถึงช่วงวัยผู้ใหญ่ โดยสามารถสังเกตได้จากการกัดเล็บเมื่อตกอยู่ในสภาวะเครียด กัดเล็บบ่อยครั้งและกัดเป็นเวลานาน

จากการศึกษาในวารสาร School Psychology International ปี พ.ศ. 2560 ที่ศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบของสภาพจิตใจต่อการกัดเล็บในช่วงเด็กวัยรุ่น โดยให้นักเรียนในโรงเรียนทั้ง 7 แห่งในเมืองอิสตัลบลู ประเทศตุรกี ทำแบบฟอร์ม จากการรวบรวมข้อมูลทั้งหมด พบว่า วัยรุ่นอายุ 11-17 ปี มีนิสัยชอบกัดเล็บ 48.2% ซึ่งเกิดจากความตกกังวล ซึมเศร้า สูญเสียความมั่นใจ

กัดเก็บ ส่งผลเสียอย่างไร

การกัดเล็บอาจส่งผลเสียที่กระทบต่อสุขภาพ ดังนี้

  • สร้างความเสียหายแก่เนื้อเยื่อรอบเล็บและตัวเล็บ
  • ติดเชื้อจากแผลบนผิวหนังรอบ ๆ เล็บ
  • ทำให้เล็บยาวแบบผิดปกติและผิดรูปร่าง
  • เป็นไข้หวัดและเสี่ยงลำไส้อักเสบเนื่องจากร่างกายได้รับเชื้อโรค สิ่งสกปรก ปรสิตที่อยู่ใต้เล็บ
  • ปวดกราม ทำให้ฟันสึกกร่อน และอาจเสี่ยงเหงือกอักเสบ

วิธีป้องกันการกัดเล็บ

วิธีป้องกันการกัดเล็บ อาจทำได้ดังนี้

  • ตัดเล็บสั้น เพราะอาจทำให้กัดเล็บได้ยาก ลดการกระตุ้นที่ทำให้อยากกัดเล็บ
  • ทาเล็บ เนื่องจากยาทาเล็บหรือยาที่เคลือบเล็บมักมีสารเคมีที่มีรสชาติขม อาจทำให้ลดพฤติกรรมการกัดเล็บได้ อย่างไรก็ตามควรระวังได้รับสารเคมีที่เป็นอันตรายเข้าสู่ร่างกาย
  • ทำให้มือหรือปากไม่ว่าง เช่น การเคี้ยวหมากฝรั่ง บีบลูกบอลเล่นแก้เครียด กดปากกาเล่น เพื่อช่วยเบี่ยงเบนความสนใจไม่ให้กัดเล็บ
  • ทำกิจกรรมผ่อนคลายความเครียด เช่น ฟังเพลง ดูหนัง ออกกำลังกาย ทำงานฝีมือ เล่นดนตรี
  • เลิกกัดเล็บทีละนิ้ว โดยอาจเริ่มจากหยุดกัดเล็บมือทีละนิ้วของแต่ละข้าง หากหยุดกัดได้ภายใน 1 สัปดาห์ ควรทาเล็บหรือทำสัญลักษณ์บนนิ้วไว้ เพื่อเป็นแรงบันดาลใจในการหยุดกัดเล็บนิ้วอื่น ๆ

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Onychophagia (Nail biting), anxiety, and malocclusion. https://www.ijdr.in/article.asp?issn=0970-9290;year=2012;volume=23;issue=5;spage=680;epage=682;aulast=Sachan. Accessed October 17, 2018

The effect of psychological state and social support on nail-biting in adolescents: An exploratory study. https://journals.sagepub.com/doi/abs/10.1177/0143034317690578?journalCode=spia. Accessed October 17, 2018

 Why Do I Bite My Nails and How Do I Stop?. https://www.webmd.com/a-to-z-guides/stop-nail-biting-tips#1. Accessed October 17, 2018

HOW TO STOP BITING YOUR NAILS. https://www.aad.org/public/everyday-care/nail-care-secrets/basics/stop-biting-nails. Accessed January 27, 2022

How to stop biting your nails. https://www.nib.com.au/the-checkup/how-to-stop-biting-your-nails. Accessed January 27, 2022

Does nail biting cause any long-term nail damage?. https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/adult-health/expert-answers/nail-biting/faq-20058548. Accessed January 27, 2022

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

28/02/2023

เขียนโดย สุนันทา สุนันธภักดี

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย เนตรนภา ปะวะคัง

อัปเดตโดย: เนตรนภา ปะวะคัง


บทความที่เกี่ยวข้อง

เล็บขบ วิธีรักษา และวิธีป้องกันเล็บขบ

ตัดเล็บ บ่อยเกินไป อาจส่งผลต่อสุขภาพ


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

เนตรนภา ปะวะคัง


เขียนโดย สุนันทา สุนันธภักดี · แก้ไขล่าสุด 28/02/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา