backup og meta

ผิวสวย ด้วยกรด เป็นไปได้จริงหรือ และมีกรดอะไรบ้าง

ผิวสวย ด้วยกรด เป็นไปได้จริงหรือ และมีกรดอะไรบ้าง

ผิวสวย ด้วยกรด อาจฟังดูน่ากลัวเพราะคำว่ากรดอาจชวนให้นึกถึงสารเคมีที่ทำให้ผิวเสียหายหรือเกิดอาการไหม้ได้ ทั้งนี้ ในทางการแพทย์เพื่อผิวหนัง หากใช้กรดในปริมาณความเข้มข้มที่เหมาะสม ถูกต้อง และอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ผิวหนังผู้เชี่ยวชาญ กรดจะสามารถช่วยต่อสู้กับปัญหาสิว ริ้วรอย จุดด่างดำ แผลเป็น และสีผิวที่ไม่สม่ำเสมอได้  

[embed-health-tool-bmr]

ผิวสวย ด้วยกรด มีกรดอะไรบ้าง

การใช้กรดเพื่อดูแลผิวนั้น จำเป็นต้องใช้ด้วยความระมัดระวังและอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ผิวหนังผู้เชี่ยวชาญ หรือหากเป็นการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของกรด ควรได้รับคำแนะนำจากเภสัชกรหรือผู้ดูแลสินค้า ทั้งนี้ กรดที่นิยมใช้ในการแพทย์เพื่อผิวหนังและผลิตภัณฑ์เพื่อดูแลและบำรุงผิวหน้า อาจมีดังนี้

กรดซาลิไซลิค (Salicylic Acid)

กรดซาลิไซลิคมีคุณสมบัติในการขัดลอกผิว และช่วยไม่ให้รูขุมขนเกิดการอุดตัน จึงอาจช่วยลดปัญหาสิวได้ โดยจะพบกรดชนิดนี้ได้ในคลีนเซอร์และเซรั่มบำรุงผิวโดยทั่วไป ซึ่งมักจะมีความเข้มข้นตั้งแต่ร้อยละ 0.5 ถึงร้อยละ 2 รวมทั้งในทรีทเม้นท์ที่ช่วยเยียวยาปัญหาเรื่องสิวด้วย

กรดซาลิไซลิคมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ รวมถึงยังถูกนำมาใช้ในการกำจัดหูดและตาปลา นอกจากนี้ ยังอาจมีความปลอดภัยกับคนผิวคล้ำ ที่มักจะเกิดรอยคล้ำได้ง่ายด้วย

นอกจากนี้ ยังมีการใช้กรดซาลิไซลิคในปริมาณความเข้มข้นที่สูงขึ้น เพื่อทำการลอกผิวหน้าหรือเยียวยาปัญหาสิว รอยแผลเป็นจากสิว ฝ้า ความเสียหายจากแสงแดด และจุดด่างดำ ซึ่งต้องทำโดยผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนังเท่านั้น

กรดไกลโคลิค (Glycolic Acid)  

กรดไกลโคลิคคือ กรดผลไม้ (AHA) ซึ่งมีคุณสมบัติในการช่วยให้ผิวดูสวยสุขภาพดี เนื่องจากกรดชนิดนี้ได้มาจากอ้อย ซึ่งเป็นกรดเอเอชเอที่มีขนาดเล็กที่สุด จึงซึมซาบเข้าไปในผิวได้ดี และอาจช่วยเยียวยาปัญหาริ้วรอยได้ด้วย

กรดไกลโคลิคมีประสิทธิภาพในการขัดลอกผิว ลดเลือนริ้วรอย ป้องกันสิว ลดเลือนจุดด่างดำ เพิ่มความหนาให้ผิว และช่วยให้สีผิวดูเรียบเนียนเสมอกัน จึงเห็นส่วนผสมนี้ในผลิตภัณฑ์ดูแลผิวจำนวนมาก ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในปริมาณความเข้มข้นที่ต่ำกว่าร้อยละ 10

นอกจากนี้ ยังมีการใช้กรดไกลโคลิคในการลอกผิว เพื่อเยียวยาปัญหาสิว และปัญหาจุดด่างดำ ซึ่งบางครั้งก็ใช้ร่วมกับการกรอผิวด้วยผลึกคริสตัลขนาดเล็ก (Microdermabasion) หรือการฟื้นฟูผิวหน้าด้วยเข็มขนาดเล็ก (Microneedling) อย่างไรก็ตาม การใช้กรดไกลโคลิคจะทำให้ผิวหน้าไวต่อแสงแดดมากขึ้น จึงควรใช้ครีมกันแดดที่มีค่า SPF 50 ร่วมกับการปกป้องผิวจากแสงแดดด้วยวิธีอื่น ๆ เช่น ใส่เสื้อแขนยาว ใส่หมวก ใส่แว่นตากันแดด หลีกเลี่ยงการอยู่กลางแจ้งเป็นเวลานาน

กรดแมนเดลิค (Mandelic Acid)

กรดแมนเดลิคเป็นกรดอัลฟาไฮดร็อกซี่อีกชนิดหนึ่งที่ได้จากเมล็ดอัลมอนด์ ซึ่งมีคุณสมบัติคล้าย ๆ กรดไกลโคลิค ที่ช่วยขัดลอกผิว เพื่อป้องกันปัญหาสิว เยียวยาความเสียหายที่เกิดจากแสงแดด และช่วยลดเลือนจุดด่างดำ

แต่เนื่องจาก กรดชนิดนี้มีโครงสร้างทางโมเลกุลที่มีขนาดใหญ่กว่า จึงไม่สามารถซึบซาบเข้าผิวได้ล้ำลึกเหมือนกรดไกลโคลิค จึงทำให้ผิวเกิดอาการระคายเคืองได้น้อยกว่า ด้วยเหตุนี้ จึงมักนิยมใช้ในการลอกผิวมากกว่า เพราะไม่สร้างปัญหาให้กับผิวที่มีปัญหาง่ายกลับมามีรอยคล้ำได้ใหม่ แต่การใช้กรดนี้มากเกินไป นอกจากจะไม่ช่วยแก้ปัญหาแล้ว ยังอาจทำให้เกิดผลในทางตรงกันข้ามได้ด้วย

กรดอะซีลาอิก (Azelaic Acid)

เป็นกรดที่มักพบในครีมบำรุงผิวซึ่งต้องใช้ใบสั่งยาจากคุณหมอ กรดอะซีลาอิกจะช่วยไม่ให้รูขุมขนเกิดการอุดตัน ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรีย และลดอาการอักเสบ โดยทั่วไปจะใช้ในปริมาณเข้มข้นร้อยละ 15 ถึงร้อยละ 20 ในครีมบำรุงผิวที่ออกแบบมาสำหรับใช้ทาทั่วทั้งใบหน้าทั้งในตอนเช้าและเย็น

กรดอะซีลาอิกมักจะทำให้เกิดอาการข้างเคียงได้น้อย แต่สำหรับผู้ที่มีผิวแพ้ง่ายก็จะมักจะให้รู้สึกแสบร้อน ลอก หรือเป็นรอยแดงได้อย่างรวดเร็ว นอกจากจะช่วยเยียวยาปัญหาสิวแล้ว กรดอะซีลาอิกยังช่วยทำให้ผิวมีสีอ่อนลงได้ด้วย จึงช่วยลดเลือดรอยดำจากสิว หรือรอยคล้ำที่เกิดหลังการอักเสบ ซึ่งมักจะใช้ร่วมกับเรตินอลด์

กรดโคจิค (Kojic Acid)

กรดโคจิคเป็นกรดที่ได้จากเชื้อแบคทีเรียที่ใช้ในการหมักข้าวเพื่อทำเป็นสาเก มักเป็นส่วนผสมที่พบได้บ่อยในผลิตภัณฑ์บำรุงผิว ซึ่งมีสรรพคุณในด้านการต่อต้านริ้วรอย ช่วยลดเลือนจุดด่างดำ และช่วยให้สีผิวดูเรียบเนียนสม่ำเสมอกัน นอกจากนี้ ยังมักถูกใช้เป็นส่วนผสมในเคลนเซอร์และเซรั่ม โดยจะมีความเข้มข้นอยู่ที่ร้อยละ 1 ถึงร้อยละ 4  กรดชนิดนี้อาจทำให้ผิวเกิดอาการระคายเคืองได้ง่าย แต่ผลลัพธ์ค่อนข้างเป็นที่น่าพึงพอใจ ผู้ใช้จึงควรระวังเป็นอย่างมาก

ผิวสวย ด้วยกรด เริ่มได้ด้วยผลิตภัณฑ์สำหรับล้างหน้า

หากไม่เคยใช้กรดในการดูแลผิวมาก่อน หรือกลัวว่าจะเป็นอันตราย อาจลองเริ่มต้นด้วยการใช้ผลิตภัณฑ์ล้างหน้าที่มีส่วนผสมของกรดต่าง ๆ ซึ่งผลิตภัณฑ์ชนิดนี้จะช่วยให้สามารถควบคุมระยะเวลาที่ให้กรดจะสัมผัสกับผิวหน้าได้ ซึ่งนั่นจะช่วยให้หลีกเลี่ยงปัญหาผิวแห้งอันเป็นผลข้างเคียงจากการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของกรดมากเกินไปได้ 

ผลที่ได้จากการใช้กรดในการดูแลผิว

กรดต่าง ๆ ที่กล่าวข้างต้นมีส่วนช่วยทำให้ผิวดูเปล่งปลั่งสดใส และมีสีผิวเรียบเนียนเสมอกัน ซึ่งเมื่อใช้ไปนาน ๆ มักทำให้จุดด่างดำ กระ และสีผิวที่ไม่สม่ำเสมอลดน้อยลง และอาจมีส่วนช่วยทำให้ผิวเรียบเนียนขึ้นหลังใช้เป็นประจำ

อย่างไรก็ตาม หากใช้กรดในปริมาณที่มากเกินไป อาจจะสังเกตเห็นรอยแดง อาการระคายเคือง และอาการคัน ซึ่งหากอาการเหล่านี้เกิดขึ้น ควรหยุดใช้ผลิตภัณฑ์ทันทีเป็นระยะเวลาประมาณ 2-3 วัน และเติมความชุ่มชื้นให้ผิวด้วยผลิตภัณฑ์ที่อ่อนโยนหรือดื่มน้ำให้มาก ๆ หากเกิดความไม่มั่นใจ ควรไปปรึกษาแพทย์ผิวหนัง เพื่อขอคำแนะนำในการดูแลผิวพรรณอย่างถูกต้องและเหมาะสม 

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Alexis AF, et al. (2013). Natural ingredients for darker skin types: Growing options for hyperpigmentation. ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/24002160. Accessed April 21, 2022.

Ando H, et al. (1998). Linoleic acid and gamma-linolenic acid lightens ultraviolet-induced hyperpigmentation of the skin. DOI: doi.org/10.1007/s004030050320. Accessed April 21, 2022.

A Comprehensive Guide to Using Acids in Your Skin-Care Routine.  https://www.everydayhealth.com/skin-beauty/a-comprehensive-guide-to-using-acids-in-your-skin-care-routine/. Accessed April 21, 2022.

Uses and benefits of lactic acid in skin care. https://www.medicalnewstoday.com/articles/lactic-acid-for-skin. Accessed April 21, 2022.

What to Know About Lactic Acid for Skin Care. https://www.webmd.com/beauty/lactic-acid-for-skin-care. Accessed April 21, 2022.

Thinking About Getting a Chemical Peel? Read This First. https://www.thehealthy.com/beauty/face-body-care/all-about-chemical-peels/. Accessed April 21, 2022.

เวอร์ชันปัจจุบัน

27/06/2023

เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงภัทรีวัลย์ โรจนพันธุ์

อัปเดตโดย: Duangkamon Junnet


บทความที่เกี่ยวข้อง

รูขุมขน จำเป็นต้องทำความสะอาดเป็นพิเศษหรือไม่

ไนอะซินาไมด์ ส่วนผสมเพื่อผิวหน้า สวยครบจบในหนึ่งเดียว


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงภัทรีวัลย์ โรจนพันธุ์

โรคผิวหนัง · โรงพยาบาลวิภาวดี



เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 27/06/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา