backup og meta

เลเซอร์รอยแตกลาย ข้อดี ข้อเสีย และข้อควรระวัง

เลเซอร์รอยแตกลาย ข้อดี ข้อเสีย และข้อควรระวัง

เลเซอร์รอยแตกลาย เป็นวิธีการรักษาปัญหาผิวแตกลายด้วยการฉายลำแสงที่มีความเข้มข้นสูงเป็นจังหวะไปที่ผิวหนังบริเวณที่ต้องการรักษา เพื่อช่วยขจัดเซลล์ผิวที่เสื่อมสภาพ กระตุ้นการสร้างคอลลาเจนในชั้นผิว ทำให้ผิวที่ถูกสร้างขึ้นใหม่มีสุขภาพดี กระจ่างใส และลดเลือนรอยแตกลายบนผิวหนังได้ อย่างไรก็ตาม ระยะเวลาในการรักษารอยแตกลายด้วยการทำเลเซอร์อาจแตกต่างกันไปในแต่ละคน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับขนาดและความรุนแรงของรอยแตกลายที่เกิดขึ้น

รอยแตกลายเกิดขึ้นได้อย่างไร

รอยแตกลาย เกิดขึ้นเมื่อผิวหนังยืดและหดตัวอย่างรวดเร็ว ทำให้คอลลาเจนและอีลาสติน (Elastin) ที่เป็นโครงสร้างของผิวหนังเปลี่ยนแปลงอย่างเฉียบพลันจนทำให้เกิดเป็นรอยแตกลาย เนื่องจากผิวหนังอาจขาดความยืดหยุ่นและผิวไม่สามารถสมานตัวได้ดีเท่าที่ควร อย่างไรก็ตาม รอยแตกลายอาจไม่เกิดขึ้นกับทุกคน ขึ้นอยู่กับสุขภาพผิวและการดูแลผิวของแต่ละคนด้วย

เลเซอร์รอยแตกลาย มีข้อดีและข้อเสียอย่างไร

เลเซอร์รอยแตกลาย อาจเป็นวิธีการรักษาที่มีความปลอดภัยและอาจได้ผลดีกว่าการรักษาแบบอื่น ซึ่งผู้เข้ารับการรักษาอาจต้องทำการเลเซอร์ประมาณ 1-4 เดือน หรือนานกว่านั้น ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับขนาดและความรุนแรงของรอยแตกลาย ดังนี้

  • การรักษารอยแตกลายด้วยเลเซอร์และการรักษาด้วยแสงอาจช่วยลบรอยแตกที่ได้ผลดีที่สุด
  • หลังเข้ารับการรักษาไม่ต้องพักฟื้น จึงสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติทันที และไม่ทำให้เกิดอาการเจ็บปวด จึงไม่ต้องกินยาแก้ปวดหลังการรักษา
  • อาจช่วยเพิ่มการตอบสนองของภูมิคุ้มกันที่ดีขึ้น ส่งผลให้การตอบสนองต่อการรักษาดีขึ้นตามไปด้วย
  • ส่งเสริมการสร้างคอลลาเจนให้ผิวใหม่ ช่วยเร่งการผลัดเซลล์ผิวเก่า จึงช่วยลดรอยแตกลายได้
  • ในบริเวณที่รักษามีการไหลเวียนของเลือดที่ดีขึ้น อาจช่วยให้อาการบวมลดลงและลดการอักเสบ
  • ช่วยลดเลือนริ้วรอยและทำให้ผิวแลดูกระจ่างใสขึ้น

อย่างไรก็ตาม การเลเซอร์รักษารอยแตกลายอาจมีข้อเสียเล็กน้อย ดังนี้

  • ความเจ็บปวด เลือดออกเล็กน้อย
  • อาการบวม
  • สีผิวบริเวณที่เลเซอร์อาจเปลี่ยนสี
  • บางกรณีอาจมีการติดเชื้อ เกิดแผลเป็นหรือเป็นสะเก็ด

การเตรียมตัวก่อนทำเลเซอร์รอยแตกลาย

ก่อนเข้ารับการรักษาด้วยเลเซอร์ควรเข้าพบคุณหมอเพื่อตรวจสุขภาพผิวและสุขภาพร่างกายอื่น ๆ เพื่อเตรียมความพร้อม ดังนี้

  • หลีกเลี่ยงการอาบแดด การแว็กซ์ขน การลอกผิวด้วยสารเคมีหรือการฉีดคอลลาเจน เป็นเวลาอย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนทำเลเซอร์ เพื่อป้องกันอาการระคายเคืองและการบาดเจ็บบริเวณผิวที่บอบบางเกินไป
  • หลีกเลี่ยงการใช้น้ำหอมหรือผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของน้ำหอม สารระงับกลิ่นกาย หรือสารที่อาจทำให้ผิวหนังระคายเคือง เนื่องจากอาจก่อให้เกิดความระคายเคืองรุนแรงในบริเวณที่ทำการรักษา
  • หลีกเลี่ยงการกินยาแอสไพริน ยาแก้อักเสบ และอาหารเสริมสมุนไพร เนื่องจากยาและอาหารเสริมเหล่านี้อาจขัดขวางการแข็งตัวของเลือด และอาจทำให้เลือดออกมากขึ้น

การดูแลผิวหลังทำเลเซอร์รอยแตกลาย

หลังการทำเลเซอร์ ผิวอาจบอบบางและอาจระคายเคืองได้ง่าย จึงควรดูแลสุขภาพผิว ดังนี้

  • งดการสครับผิวอย่างน้อย 1 สัปดาห์ เพื่อป้องกันการระคายเคืองบริเวณผิวที่ทำการเลเซอร์
  • ให้ความชุ่มชื้นบริเวณผิวที่ทำเลเซอร์ ด้วยการทาครีม มอยส์เจอร์ไรเซอร์ หรือโลชั่น
  • งดใช้เครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของกรดไกลโคลิก (Glycolic Acid) หรือกรดเรติโนอิก (Retinoic Acid) ประมาณ 2 สัปดาห์ ทั้งก่อนและหลังเลเซอร์ เพราะกรดทั้ง 2 งชนิดมีคุณสมบัติในการผลัดเซลล์ผิว ซึ่งอาจทำให้ผิวบางลงและระคายเคืองได้
  • หลีกเลี่ยงการถูกแดดโดยตรงอย่างน้อย 1 เดือนหลังการทำเลเซอร์ แต่หากไม่สามารถเลี่ยงได้ ควรทาครีมกันแดดที่มี SPF 60 ก่อนออกไปโดนแดดและควรทาซ้ำทุก ๆ 3-4 ชั่วโมง นอกจากนี้ ควรสวมใส่เสื้อผ้าปกปิดร่างกายให้มิดชิดเพื่อป้องกันแสงแดด

[embed-health-tool-heart-rate]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Laser Skin Resurfacing Skin Care Procedure. https://www.plasticsurgery.org/cosmetic-procedures/laser-skin-resurfacing. Accessed July 19, 2022

Management of stretch marks (with a focus on striae rubrae). https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5782435/#!po=53.5714. Accessed July 19, 2022

Stretch Marks. https://www.webmd.com/beauty/what-are-stretch-marks. Accessed July 19, 2022

STRETCH MARKS: WHY THEY APPEAR AND HOW TO GET RID OF THEM. https://www.aad.org/public/cosmetic/scars-stretch-marks/stretch-marks-why-appear. Accessed July 19, 2022

Laser Therapy for Stretch Marks. https://www.asds.net/skin-experts/skin-treatments/laser-light-therapy/laser-therapy-for-stretch-marks. Accessed July 19, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

24/08/2022

เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงอัญชิสา กาญจโนมัย

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

ไฮยาลูรอน คืออะไร มีประโยชน์ต่อสุขภาพผิวอย่างไรบ้าง

แต่งหน้าจัด ส่งผลเสียต่อสุขภาพผิวอย่างไร


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงอัญชิสา กาญจโนมัย

โรคผิวหนัง · พรเกษมคลินิก


เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 24/08/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา