backup og meta

ครีมลดรอยแผลเป็น ออกฤทธิ์อย่างไร

ครีมลดรอยแผลเป็น ออกฤทธิ์อย่างไร

ครีมลดรอยแผลเป็น เป็นผลิตภัณฑ์ที่เมื่อทาบริเวณแผลเป็นแล้ว จะช่วยให้แผลเป็นจางหรือเล็กลง ผ่านกลไกต่าง ๆ ของสารซึ่งเป็นส่วนประกอบ อย่างการเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิวหนัง หรือการลดคอลลาเจนที่สะสมที่แผลเป็น ทั้งนี้ ก่อนซื้อครีม ควรทราบก่อนว่าตัวเองมีแผลเป็นชนิดใด และเพื่อจะได้เลือกซื้อครีมได้อย่างเหมาะสม

[embed-health-tool-heart-rate]

แผลเป็นคืออะไร

แผลเป็น หมายถึง รอยแดง รอยดำ รอยนูน ซึ่งเกิดจากการที่ร่างกายผลิตโปรตีนคอลลาเจน (Collagen) ออกมามากหรือน้อยเกินไป ระหว่างกระบวนการซ่อมแซมตัวเองของผิวหนังเมื่อเป็นแผลหรือบาดเจ็บ ส่งผลให้ผิวหนังที่ถูกซ่อมแซมมีลักษณะต่างจากผิวหนังโดยรอบ

ปกติแล้ว แผลเป็นจะจางลงเมื่อเวลาผ่านไป อย่างไรก็ตาม แผลเป็นอาจใช้เวลานานมากกว่าจะจางลง หรืออาจไม่จางลงเลยก็ได้

ครีมลดรอยแผลเป็น ทำงานอย่างไร

การทำงานครีมลดรอยแผลเป็นนั้น จะแตกต่างกันไปตามส่วนผสมของครีม เช่น

  • ซิลิโคน จะลดรอยแผลเป็นด้วยการเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับเซลล์ผิวหนังชั้นนอกสุด ซึ่งส่งผลให้เอนไซม์คอลลาจีเนส (Collagenase) มีจำนวนมากขึ้นและย่อยสลายคอลลาเจนส่วนเกินบริเวณที่เป็นแผลเป็น ทำให้แผลเป็นจางหรือยุบลง
  • อีพิกัลโลคาเทชิน-กัลเลต (Epigallocatechen-gallate หรือ EGCG) เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่พบได้ในชาเขียว มีคุณสมบัติลดการสะสมของคอลลาเจนและเนื้อเยื่อเส้นใย อันเป็นสาเหตุของแผลเป็นนูนและคีลอยด์ (Keloid)
  • อัลลานโทอิน (Allantoin) เป็นสารที่พบได้ในร่างกายมนุษย์ สัตว์ต่าง ๆ รวมถึงในพืช และสามารถลดการก่อตัวของแผลเป็นได้ ด้วยการป้องกันไม่ให้เนื้อเยื่อแผลเป็นถูกสร้างมากเกินไปใกล้กับรากของเส้นประสาท

อย่างไรก็ตาม การทาครีมลดรอยแผลเป็นไม่ใช่สิ่งเดียวที่สามารถทำได้เพื่อลดรอยแผลเป็น เพราะแผลเป็นสามารถจางลงได้ด้วยการฉายเลเซอร์ ฉีดยาสเตียรอยด์ หรือผ่าตัด

นอกจากนี้ ผู้เป็นแผลเป็นไม่ควรปล่อยให้แผลเป็นสัมผัสกับแสงแดดโดยตรง เพราะรังสีอัลตราไวโอเลตในแสงแดดจะทำให้สีของแผลเป็นเข้มขึ้นหรืออ่อนลง และสามารถทำให้แผลเป็นหนากว่าเดิม ซึ่งส่งผลให้รักษาได้ยากขึ้นด้วย

ข้อควรรู้ก่อนใช้ครีมลดแผลเป็น

ก่อนใช้ครีมลดรอยแผลเป็น ควรทราบข้อควรรู้ดังต่อไปนี้

  • ครีมแต่ละชนิดมีข้อกำหนดในการใช้ไม่เหมือนกัน ดังนั้น จึงควรอ่านฉลาดให้ละเอียดก่อนทา

    ก่อนทาครีม ควรทำความสะอาดผิวหนังและทำให้แห้งก่อน

  • ครีมลดรอยแผลเป็น สามารถใช้ร่วมกับผลิตภัณฑ์ลดรอยแผลเป็นอื่น ๆ ได้ อย่างไรก็ตาม ก่อนใช้แบบผสม ควรปรึกษาคุณหมอหรือผู้เชี่ยวชาญเสียก่อน
  • ไม่ควรใช้ครีมลดรอยแผลเป็นขณะที่แผลหรือแผลเป็นยังไม่ฟื้นฟูโดยสมบูรณ์ เพราะอาจส่งผลให้อาการแย่ลงได้
  • ครีมลดรอยแผลเป็นมักใช้เวลานานกว่าจะเห็นผลลัพธ์ หรือประมาณ 2-6 เดือน

ปัจจัยในการเลือกซื้อครีมลดรอยแผลเป็น

การซื้อครีมลดรอยแผลเป็น ควรคำนึงถึงปัจจัยดังต่อไปนี้

  • ชนิดแผลเป็นที่กำลังเป็นอยู่ เช่น คีลอยด์ แผลเป็นนูน
  • คุณสมบัติของครีม ว่าสอดคล้องกับรูปแบบของแผลเป็นที่กำลังเป็นหรือไม่ เช่น ถ้าเป็นรอยดำแต่ไม่นูน ควรใช้ครีมลดรอยดำ
  • ส่วนผสมสำคัญในครีม รวมถึงคุณสมบัติของส่วนผสมดังกล่าว
  • ผลข้างเคียงที่อาจพบได้เมื่อใช้ครีม เช่น อาการคัน ระคายเคือง
  • ราคาของครีมทาแผลเป็น

เป็นแผลเป็น เมื่อไรควรไปพบคุณหมอ

ควรไปพบคุณหมอ หากแผลเป็นแตกออกหรือมีก้อนนูนขึ้นมาเอง  เนื่องจากอาการแบบนี้อาจมีสาเหตุมาจากโรคมะเร็งผิวหนัง หรือหากมีอาการบวม แดง เจ็บ คัน หรือไม่สบายตัว บริเวณแผลเป็น ก็ควรไปพบคุณหมอเช่นกัน

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

An investigation into multifaceted mechanisms of action of allantoin in wound healing. https://www.jaad.org/article/S0190-9622(17)30663-1/fulltext. Accessed January 20, 2023

Scars. Overview. https://www.nhs.uk/conditions/scars/. Accessed January 20, 2023

Cosmetic Procedures: Scars. https://www.webmd.com/beauty/cosmetic-procedures-scars. Accessed January 20, 2023

การดูแลและรักษาแผลเป็น (scar). https://pharmacy.hcu.ac.th/upload/files/CPE%20HCU/2559/Scar%20Treatments.pdf. Accessed January 20, 2023

Scars. https://www.hopkinsmedicine.org/health/conditions-and-diseases/scars#:~:text=Steroids%20are%20injected%20directly%20into,Cryotherapy. Accessed January 20, 2023

เวอร์ชันปัจจุบัน

05/04/2023

เขียนโดย Duangkamon Junnet

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงเกศอร ป้องอาณา

อัปเดตโดย: เนตรนภา ปะวะคัง


บทความที่เกี่ยวข้อง

เลเซอร์แผลเป็น ผลข้างเคียง และวิธีดูแลผิวหลังเลเซอร์

ฉีดคีย์ลอยด์ รักษาแผลเป็นนูน มีข้อดีและข้อเสียอย่างไร


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงเกศอร ป้องอาณา

โรคผิวหนัง · โรงพยาบาลสุขุมวิท


เขียนโดย Duangkamon Junnet · แก้ไขล่าสุด 05/04/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา