backup og meta

1

แบ่งปัน

หรือ คัดลอกลิงก์

ตาปลาที่นิ้วมือ เกิดจากอะไร ควรรักษาอย่างไร

ตาปลาที่นิ้วมือ เกิดจากอะไร ควรรักษาอย่างไร

ตาปลาที่นิ้วมือ เป็นภาวะผิวหนังที่พบได้บ่อย มักเกิดจากผิวหนังที่นิ้วมือถูกกดทับหรือเสียดสีบ่อย ๆ จนทำให้เกิดตาปลาเป็นตุ่มนูน แข็ง กดแล้วเจ็บ โดยทั่วไปจะพบที่เท้าได้บ่อยกว่าที่มือหรือนิ้วมือ ทั้งนี้ ตาปลาที่นิ้วมือไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ แต่อาจทำให้เกิดการระคายเคืองหรือทำให้รู้สึกเจ็บได้ โดยทั่วไปตาปลาที่นิ้วมือมักจะหายภายในไม่กี่สัปดาห์เมื่อดูแลตัวเองอย่างถูกวิธี อย่างไรก็ตาม หากต้องการกำจัดตาปลาที่นิ้วก็สามารถไปพบคุณหมอเพื่อเลเซอร์หรือผ่าตัดออกได้

[embed-health-tool-bmi]

ตาปลาที่นิ้วมือ เกิดจากอะไร

ตาปลาที่นิ้วมือเกิดจากผิวหนังบริเวณนิ้วมือถูกกดทับหรือถูกเสียดสีบ่อย ๆ จนผิวหนังชั้นนอกสร้างตุ่มนูน หนา แข็ง หรือหยาบ บางครั้งอาจกดแล้วรู้สึกเจ็บขึ้นมา ซึ่งการเกิดตาปลาเป็นกลไกที่ร่างกายตอบสนองต่อแรงเสียดทานเพื่อป้องกันผิวหนังเสียหายหรือพุพอง หากตาปลาที่นิ้วมือมีขนาดเล็กอาจหายได้ด้วยการดูแลรักษาเองอย่างถูกวิธี แต่หากตาปลาหมีขนาดใหญ่และรู้สึกระคายเคืองมาก อาจต้องเข้ารับการรักษาที่ที่เหมาะสมกับคุณหมอผู้เชี่ยวชาญ

พฤติกรรมที่ทำให้เกิดตาปลาที่นิ้วมือ อาจมีดังนี้

  • เขียนหนังสือโดยออกกดนิ้วกับดินสองหรือปากกา หรือนิ้วเสียดสีกับกระดาษมากเกินไป
  • ใช้นิ้วหิ้วของหนักเป็นประจำ
  • มีอาชีพที่จำเป็นใช้มืออย่างต่อเนื่อง เช่น ช่างกล คนสวน คนงานก่อสร้าง นักกีฬา นักดนตรี

ความแตกต่างของตาปลาและหนังด้าน

หากผิวหนังได้รับแรงเสียดสีหรือถูกกดทับเป็นประจำ นอกจากจะทำให้เกิดตาปลาแล้ว ยังอาจทำให้เกิดภาวะผิวหนังด้าน ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกับตาปลาได้ด้วย อย่างไรก็ตาม ข้อแตกต่างระหว่างตาปลา (Corn) และหนังด้าน (Callus) ที่สังเกตได้ อาจมีดังนี้

  • ตาปลา (Corn) คือ เนื้อเยื่อผิวหนังที่หนา นูน ลักษณะเป็นตุ่มกลมเล็ก สีขาว สัมผัสคล้ายยาง ตรงกลางแข็งหรืออ่อนนุ่ม อาจเป็นขุย แห้งกร้าน หรือตกสะเก็ด เมื่อกดแล้วอาจรู้สึกเจ็บ  พบได้ที่ผิวหนังในบริเวณที่เกิดการเสียดสีหรือกดทับบ่อย ๆ แต่อาจพบมากที่เท้าและนิ้วเท้า
  • หนังด้าน (Callus) คือ ผิวหนังที่แข็งตัวขึ้นเนื่องจากได้รับแรงกดทับหรือถูกเสียดสีเป็นประจำ เช่นเดียวกับตาปลา แต่ส่วนใหญ่ สัมผัสแล้วอาจไม่รู้สึกเจ็บ เนื่องจากผิวหนังบริเวณนั้นหนาและด้านกว่าปกติ หนังด้านมักมีขนาดใหญ่กว่าตาปลา มีสีออกเหลือง มักเกิดขึ้นที่เท้า แต่อาจเกิดขึ้นที่มือ ข้อศอก หัวเข่า หรือบริเวณอื่น ๆ ที่มีการเสียดสีบ่อย ๆ ได้เช่นกัน

การรักษา ตาปลาที่นิ้วมือ

การรักษาตาปลาด้วยตัวเอง

  1. แช่นิ้วมือบริเวณที่เป็นตาปลาในน้ำอุ่นประมาณ 5-10 นาที หรือจนกว่าผิวหนังจะอ่อนนุ่มลง
  2. ใช้ผ้านุ่ม ๆ ชุบน้ำอุ่น ขัดวนผิวหนังเบา ๆ เพื่อขจัดเซลล์ผิวที่ตายแล้ว ระวังอย่าขัดแรงเกินไป เพราะอาจทำให้เกิดแผลหรือรอยถลอกและเสี่ยงติดเชื้อได้
  3. ทามอยส์เจอร์ไรเซอร์หรือครีมที่มีส่วนผสมของกรดซาลิไซลิก (Salicylic Acid) แอมโมเนียม แลคเตท (ammonium lactate) หรือยูเรีย (Urea) เพื่อให้ผิวหนังบริเวณตาปลาอ่อนนุ่มลงและหลุดออกไปได้ ควรทาเป็นประจำทุกวันจนกว่าตุ่มตาปลาจะหลุดออกและหายไปในที่สุด

การรักษาด้วยวิธีการทางการแพทย์

หากตาปลาที่นิ้วมือมีขนาดใหญ่และระคายเคือง หรือรักษาด้วยยาแล้วไม่ได้ผล คุณหมออาจแนะนำให้รักษาด้วยการผ่าตัด ใช้มีดฝานออก หรือเลเซอร์ตาปลา

วิธีการดูแลตัวเองเมื่อเป็นตาปลาที่นิ้วมือ

วิธีการดูแลตัวเองเมื่อเป็นตาปลาที่นิ้วมือ อาจทำได้ดังนี้

  • สวมใส่ถุงมือเพื่อป้องกันมือจากการเสียดสีเมื่อใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ
  • ใช้ผ้าพันแผลปิดตาปลาเพื่อลดการระคายเคืองหรืออาการเจ็บเมื่อผิวหนังบริเวณตาปลาเสียดสีกับพื้นผิวหรือวัตถุอื่น ๆ
  • ทามอยส์เจอร์ไรเซอร์เป็นประจำ เพื่อให้ผิวชุ่มชื้น

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Corns and calluses. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/corns-and-calluses/diagnosis-treatment/drc-20355951. Accessed May 18, 2022

Understanding Corns and Calluses — the Basics. https://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/understanding-corns-calluses-basics. Accessed May 18, 2022

Corns and Calluses. https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/16896-corns-and-calluses. Accessed May 18, 2022

How to treat corns and calluses. https://www.aad.org/public/everyday-care/injured-skin/burns/treat-corns-calluses. Accessed May 18, 2022

Corns and calluses. https://www.nhs.uk/conditions/corns-and-calluses/. Accessed May 18, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

31/08/2024

เขียนโดย ศุภานิช สุริโย

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงอัญชิสา กาญจโนมัย

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล

avatar

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงอัญชิสา กาญจโนมัย

โรคผิวหนัง · พรเกษมคลินิก


เขียนโดย ศุภานิช สุริโย · แก้ไขล่าสุด 31/08/2024

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา