backup og meta

ตำแหน่งสิว บอกอะไรเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพได้

ตำแหน่งสิว บอกอะไรเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพได้

ตำแหน่งสิว ที่ขึ้นตามจุดต่าง ๆ บนร่างกาย ไม่ว่าจะเป็น แก้ม กลางคาง ทีโซน ไรผม อาจสามารถช่วยบ่งบอกสุขภาพ และอสาจช่วยให้สามารถตรวจพบโรคได้ไวขึ้น ดังนั้น จึงควรศึกษาเกี่ยวกับตำแหน่งที่สิวขึ้น และหาทางแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดสิว

[embed-health-tool-heart-rate]

สาเหตุของการเกิดสิว

สิวเกิดจากรูขุมขนบนผิวหนังเกิดการอุดตันด้วยน้ำมันที่ร่างกายผลิตขึ้นและเซลล์ผิวที่ตายแล้ว ในบางครั้งสิวอาจเกิดจากแบคทีเรีย หรือการอักเสบของผิวหนังทำให้เกิดเป็นสิวหัวขาว สิวหัวดำ หรือสิวเสี้ยน ส่วนใหญ่สิวมักเกิดขึ้นบริเวณใบหน้า หน้าผาก หน้าอก และหลัง เพราะบริเวณเหล่านี้มีต่อมไขมันมากที่สุดซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการเกิดสิว ส่วนใหญ่สิวมักเกิดขึ้นในวัยรุ่นมากกว่าวัยอื่น ๆ เนื่องจากในวัยรุ่นเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนมากที่สุด แต่ตำแหน่งของสิวที่เกิดขึ้นบางครั้งสามารถบอกถึงปัญหาสุขภาพในร่างกายได้ เรามาดูกันว่าตำแหน่งสิวสามารถบอกปัญหาสุขภาพอะไรได้บ้าง

ตำแหน่งสิว บอกปัญหาสุขภาพ

สิวบนใบหน้าสามารถบอกถึงปัญหาสุขภาพอะไรได้บ้าง มาดูกัน

บริเวณแก้ม

ผิวบริเวณแก้มเป็นบริเวณที่มีความบอบบางกว่าส่วนอื่น ๆ บนใบหน้า ซึ่งอาจเกิดอาการแห้งและระคายเคืองได้ง่ายกว่า และสิวบริเวณแก้มนั้นยังมีความสัมพันธ์กับระบบทางเดินหายใจ อีกทั้งอาจเกิดจากเชื้อแบคทีเรียหรือสิ่งสกปรกที่ติดมากับโทรศัพท์มือถือ ปลอกหมอน และการสัมผัสใบหน้าบ่อยครั้ง เพราะบนจอมือถืออาจมีการสัมผัสกับสิ่งสกปรกมากมาย เมื่อใช้งานโทรศัพท์มือถือจึงอาจเป็นการกระจายเชื้อแบคทีเรียมาสู่แก้ม ดังนั้นจึงควรทำความสะอาดโทรศัพท์มือถือ หรือใช้หูฟัง เพื่อหลีกเลี่ยงสิ่งสกปรกต่าง ๆ และควรทำความสะอาดปลอกหมอนอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้งเพื่อไม่ให้เป็นแหล่งละสมของแบคทีเรีย

บริเวณกรามและคาง

สิวบริเวณกรามและคางมีความสัมพันธ์กับฮอร์โมน เด็กวัยรุ่นส่วนใหญ่มักมีสิวบริเวณกรามและคางมากกว่าวัยอื่น ๆ เนื่องจากเป็นวัยที่มีการเจริญเติบโตและมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนมากที่สุด โดยทั่วไปเป็นผลมาจากแอนโดเจน (Androgens) ส่วนเกินเข้าไปกระตุ้นต่อมน้ำมันทำให้รูขุมขนอุดตัน ซึ่งสิวบริเวณกรามและคางอาจเกิดขึ้นเมื่อใกล้ประจำเดือนมา หรือเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเมื่อกินยาคุม

นักวิจัยเชื่อว่าสุขภาพของสำไส้สามารถส่งผลต่อการเกิดสิวได้เช่นกัน โดยเฉพาะยิ่งถ้ารับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูง อาหารแปรรูป  อาหารที่มีน้ำตาล อาจส่งผลต่อลำไส้และระบบขับถ่าย ทำให้ฮอร์โมนในร่างกายไม่คงที่ เป็นสาเหตุของการเกิดสิวบริเวณกรามและคางได้

บริเวณทีโซน (T-zone)

บริเวณทีโซน (T-zone) เป็นบริเวณที่มักพบสิวหัวดำและสิวหัวขาวมากที่สุด เพราะบริเวณนี้มีต่อมไขมันมากกว่าส่วนอื่น ๆ ของใบหน้า และความเครียดก็สามารถทำให้สิวในบริเวณนี้รุนแรงขึ้นได้เช่นกัน ปัญหาสุขภาพความเครียดไม่ได้ส่งผลต่อการผลิตน้ำมันในร่างกาย แต่ความเครียดที่เพิ่มมากขึ้นในวัยรุ่นและวัยอื่น ๆ อาจส่งผลต่อการนอนหลับและอาจทำให้สิวมีความรุนแรงมากขึ้น อีกทั้งยังมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย

การจัดการกับความเครียดจะทำให้นอนหลับได้ง่ายขึ้นและเพียงพอ ซึ่งส่งผลดีต่อการเกิดสิวบริเวณทีโซน และหลีกเลี่ยงการใช้มือสัมผัสใบหน้าเพราะบนมือของสิ่งสกปรกมากมาย การสัมผัสใบหน้าจึงเหมือนเป็นการกระจายสิ่งสกปรกและน้ำมันให้เข้าสู่รูขุมขนได้ง่ายขึ้น

บริเวณไรผม

สิวบริเวณไรผมมักเกิดจากการใช้ผลิตภัณฑ์สำหรับเส้นผม หากไม่ได้สระผมอาจทำให้เกิดการสะสมของน้ำมันและเกิดการอุดตันในรูขุมขนได้ เพื่อลดปัญหา ตำแหน่งสิว บริเวณไรผมให้หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผมที่มีสาร โพเมดส์ (Pomade) เช่น น้ำมัน เจล แว็กซ์ จะช่วยลดปัญหาสิวที่อาจเกิดขึ้นได้

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Acne. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/acne/symptoms-causes/syc-20368047. Accessed August 2, 2021

What Does It Mean When Acne Is on Certain Areas of Your Face?. https://health.clevelandclinic.org/what-does-it-mean-when-acne-is-on-certain-areas-of-your-face/. Accessed August 2, 2021

Study of Psychological Stress, Sebum Production and Acne Vulgaris in Adolescents. https://www.medicaljournals.se/acta/content/html/10.2340/00015555-0231. Accessed August 2, 2021

Consequences of Acne on Stress, Fatigue, Sleep Disorders and Sexual Activity: A Population-based Study. https://www.medicaljournals.se/acta/content/abstract/10.2340/00015555-1998. Accessed August 2, 2021

Hormonal treatment of acne vulgaris: an update. https://www.dovepress.com/hormonal-treatment-of-acne-vulgaris-an-update-peer-reviewed-fulltext-article-CCID. Accessed August 2, 2021

Contamination of UK mobile phones and hands revealed. https://www.lshtm.ac.uk/newsevents/news/2011/mobilephones.html. Accessed August 2, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

10/11/2022

เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

ที่กดสิว ใช้กับสิวประเภทไหน และการรักษาสิวที่ถูกต้อง

วิตามินลดสิว ช่วยได้จริงไหม อยู่ในอาหารชนิดใดบ้าง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 10/11/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา