backup og meta

เฮนน่า คืออะไร และความเสี่ยงของการเพ้นท์เฮนน่า

เฮนน่า คืออะไร และความเสี่ยงของการเพ้นท์เฮนน่า

เฮนน่า เป็นพืชที่นิยมนำมาสกัดเป็นผงเพื่อใช้ย้อมสีผม และสร้างลวดลายหรือรอยสักชั่วคราวบนผิวหนัง อย่างไรก็ตาม การเพ้นท์เฮนน่าอาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพได้ ดังนั้น การศึกษาข้อมูลให้ถูกต้องก่อนตัดสินใจเพ้นท์ผิวหนังด้วยเฮนน่าอาจช่วยให้ทราบว่าตนเองเหมาะสมกับการเพ้นท์เฮนน่าหรือไม่ เพื่อหลีกเลี่ยงผลเสียที่อาจเกิดขึ้นจากการเพ้นเฮนน่า

[embed-health-tool-bmi]

เฮนน่า คืออะไร

ต้นเฮนน่า (Henna) หรือที่เรียกว่า ต้นเทียนกิ่ง เป็นพืชสมุนไพรที่ถูกนำใบมาสกัดเป็นผงละเอียด สามารถใช้ย้อมสีผมเพื่อปิดผมขาวชั่วคราวได้ ทั้งยังถูกนำมาแปรสภาพเป็นหมึกเพ้นท์สีดำ หรือสีน้ำตาลเข้ม ที่นิยมนำมาวาดลวดลายต่าง ๆ ตามเรือนร่างด้วย

การเพ้นท์ร่างกายด้วยเฮนน่าจะอยู่ได้ประมาณ 2-4 สัปดาห์เท่านั้น หมึกเฮนน่าจะค่อย ๆ จางลงไปเองตามการดูแลรักษา ลายเส้นที่เพ้นท์ด้วยเฮนน่าจะค่อนข้างสลับซับซ้อน สวยงาม และแปลกตา ปัจจุบันอาจพบเห็นร้านที่เปิดให้บริการรับเพ้นท์ผิวด้วยเฮนน่าตามสถานที่ท่องเที่ยว เช่น ริมทะเล งานดนตรี ถนนคนเดิน

ความเสี่ยงของการเพ้นท์เฮนน่าบนผิวหนัง

แม้ลวดลายที่เพ้นท์ด้วยเฮนน่าจะอยู่บนผิวเพียงแค่ชั่วคราว แต่ก็อาจส่งผลเสียหรือเป็นอันตรายต่อร่างกายได้ โดยเฉพาะผู้ที่มีภาวะขาดเอนไซม์จีซิกพีดี (Glucose 6 phosphatase dehydrogenase deficiency หรือ G6PD) ซึ่งเป็นภาวะที่ร่างกายขาดเอนไซม์จีซิกพีดีที่มีส่วนช่วยให้เซลล์เม็ดเลือดแดงกลับมาทำงานปกติ

เมื่อผิวหนังถูกสารในเฮนน่ากระตุ้น อาจทำให้เซลล์เม็ดเลือดแดงบริเวณลายเพ้นท์นั้นสลายตัวและเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นได้ โดยองค์การอาหารและยาแห่งประเทศสหรัฐอเมริกาเผยว่า การสักชั่วคราวด้วยเฮนน่าอาจก่อให้เกิดปฏิกิริยาหรือผลกระทบต่อสุขภาพ เช่น

อย่างไรก็ตาม การย้อมผมด้วยเฮนน่ายังถือว่าเป็นวิธีที่ปลอดภัยต่อสุขภาพ เพราะสารต่าง ๆ อาจเจือจางกว่า ยกเว้นผู้ที่แพ้สารพาราฟินีลินไดอะมีน (Paraphenylenediamine หรือ PPD) ในน้ำยาย้อมผม ที่อาจเกิดการระคายเคืองบนหนังศีรษะได้

ก่อนเพ้นท์ผิวหนังหรือย้อมผมด้วยเฮนน่า ควรทดสอบอาการแพ้ด้วยการบีบสีเฮนน่า หรือหยดน้ำยาย้อมผมเฮนน่าลงบนท้องแขน แล้วทิ้งไว้ประมาณ 48 ชั่วโมง หากผิวหนังผิดปกติ หรือมีอาการแพ้ เช่น เป็นผื่นแดง คันผิวหนัง ควรพบคุณหมอเพื่อยืนยันและรักษาอาการแพ้ และไม่ควรใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของเฮนน่า

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Dangers of black henna. https://www.nhs.uk/live-well/healthy-body/black-henna-neutral-henna-ppd-dangers/. Accessed July 28, 2023.

Henna tattooing. https://ww2.health.wa.gov.au/Articles/F_I/Henna-tattooing. Accessed July 28, 2023.

Are Temporary Henna Tattoos Safe?. https://health.clevelandclinic.org/are-temporary-henna-tattoos-safe/. Accessed July 28, 2023.

BEWARE THE BLACK HENNA TATTOO. https://www.skinhealthinstitute.org.au/news/3/beware-the-black-henna-tattoo. Accessed July 28, 2023.

Additives Used in Henna Tattoo Materials – Potential Health Concerns. https://www.health.state.mn.us/communities/environment/skin/henna.html. Accessed July 28, 2023.

เวอร์ชันปัจจุบัน

31/08/2024

เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคผิวหนังในหน้าร้อน ที่ควรระวัง และวิธีป้องกัน

เจาะตามร่างกาย ความสวย เท่ ที่มาพร้อมความเสี่ยง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

Duangkamon Junnet


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 31/08/2024

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา