backup og meta

อาการผื่นแพ้ยา เกิดจากอะไร และมีวิธีรักษาอย่างไร

อาการผื่นแพ้ยา เกิดจากอะไร และมีวิธีรักษาอย่างไร

อาการผื่นแพ้ยา (Drug Rash) เป็นปฏิกิริยาที่ผิวหนังตอบสนองต่อยาบางชนิด โดยส่วนใหญ่มักเป็นยาประเภท ยาต้านชัก ยากลุ่มเอนเสด (Non-Steroidal Anti-Inflammatory หรือ NSAIDs) อาการแพ้ยา ส่งผลให้ผื่นขึ้นผิวหนัง มีไข้สูง หายใจลำบาก โดยปกติมักสามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยาแก้แพ้ อย่างไรก็ตาม หากมีอาการผิดปกติ เช่น มีอาการแพ้อย่างรุนแรง อาการแพ้ไม่หายไปแม้จะรับประทานยาแก้แพ้แล้ว ควรเข้าพบคุณหมอในทันที

[embed-health-tool-vaccination-tool]

สาเหตุที่ทำให้เกิด อาการแพ้ยา

ผื่นที่เกิดจากปฏิกิริยา อาการแพ้ยา นั้น เกิดจากหลายสาเหตุหลายปัจจัยด้วยกัน ดังต่อไปนี้

  • การแพ้ยาที่ส่งผลต่อผิวหนังและเยื่อบุจากกลไกทางภูมิคุ้มกัน
  • ยาที่ส่งผลให้ผิวไวต่อแสง
  • การติดเชื้อไวรัสและการรับประทานยาปฏิชีวนะ

รวมถึงปัจจัยดังต่อไปนี้ ที่อาจส่งผลให้เกิดอาการผื่นแพ้ยา 

  • ประวัติการแพ้ยาอื่น ๆ เช่น การแพ้อาหาร ไข้ละอองฟาง
  • เคยมีประวัติการแพ้ยา หรือสมาชิกในครอบครัวเคยมีประวัติการแพ้ยา
  • การใช้ยาซ้ำ ๆ ในปริมาณที่มากขึ้นเป็นระยะเวลานานติดต่อกัน 
  • การเจ็บป่วยจากปฏิกิริยาการแพ้ยา เช่น การติดเชื้อเอชไอวี (Human Immunodeficiency Virus : HIV) การติดเชื้อไวรัสเอ็บสไตบาร์ (Epstein Barr Virus หรือ EVB)

ลักษณะกลุ่มยาที่ทำให้เกิด อาการแพ้ยา 

สำหรับกลุ่มยาที่ทำให้เกิด อาการแพ้ยา จนเป็นสาเหตุที่ทำให้ผิวหนังเกิดอาการผื่นแพ้ยา มีดังต่อไปนี้ 

  • ยาปฏิชีวนะ ยาเพนิซิลลิน (Penicillin) ยาซัลฟา (Sulfa drugs) ยาเซฟาโลสปอริน (Cephalosporins) ยาต้านอาการชัก(Anticonvulsant) ยาอัลโลพูรินอล (Allopurinol)
  • กลุ่มยาเอนเสด ยาลดความดันโลหิต ยาเพนิซิลลิน (Penicillin) ยาชาทั่วไป
  • กลุ่มยาไวต่อแสง ยาแก้แพ้ ยาขับปัสสาวะ ยาต้านเชื้อรา ยาปฏิชีวนะบางชนิดรวมถึงยาเตตตราไซคลีน ยาสแตติน (Statin)

วิธีการรักษาอาการผื่นแพ้ยา

ในเบื้องต้นแพทย์จะสอบถามประวัติและอาการของผู้ป่วย ตรวจดู อาการแพ้ยา โดยส่วนใหญ่เมื่อหยุดใช้ยาที่ทำให้เกิดผื่น ผื่นจะค่อย ๆ หายไปเอง หากมีอาการผื่นคันรุนแรง แพทย์อาจให้ยาต้านฮีสตามีน (Antihistamine) หรือกลุ่มยาสเตียรอยด์ (Steroid) เพื่อบรรเทาอาการผื่นคัน

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Drug allergy. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/drug-allergy/symptoms-causes/syc-20371835. Accessed January 25, 2020

Is Your Medicine Giving You a Rash?. https://www.webmd.com/allergies/medicines-cause-rash. Accessed January 25, 2020

Drug Allergies. https://www.worldallergy.org/education-and-programs/education/allergic-disease-resource-center/professionals/drug-allergies. Accessed 31 May, 2022

Drug Allergies. https://acaai.org/allergies/allergic-conditions/drug-allergies/. Accessed 31 May, 2022

Drug Allergy. https://www.aaaai.org/Conditions-Treatments/Allergies/Drug-Allergy. Accessed 31 May, 2022

Drug Allergy and Other Adverse Reactions to Drugs https://www.aafa.org/medicine-drug-allergy/. Accessed 31 May, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

06/03/2023

เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงภัทรีวัลย์ โรจนพันธุ์

อัปเดตโดย: เนตรนภา ปะวะคัง


บทความที่เกี่ยวข้อง

แพ้ยา อาการแพ้อันตรายที่ป้องกันและรักษาได้

การวินิจฉัยอาการแพ้ยา ทำได้อย่างไรบ้าง


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงภัทรีวัลย์ โรจนพันธุ์

โรคผิวหนัง · โรงพยาบาลวิภาวดี



เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 06/03/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา