backup og meta

ปัจจัยเสี่ยงของติ่งเนื้อบนผิวหนัง และวิธีรักษาติ่งเนื้อ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย เนตรนภา ปะวะคัง


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 15/03/2022

    ปัจจัยเสี่ยงของติ่งเนื้อบนผิวหนัง และวิธีรักษาติ่งเนื้อ

    ติ่งเนื้อบนผิวหนัง หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่าติ่งเนื้อ คือ กลุ่มเส้นใยคอลลาเจนภายในเส้นเลือดที่ยื่นออกมาจากผิวหนัง มักอ่อนนุ่ม และมีสีใกล้เคียงกับสีผิวบริเวณนั้น ขนาดอาจมีตั้งแต่ไม่ถึงมิลลิเมตรไปจนถึง 5 เซนติเมตร อย่างไรก็ตาม การทราบ ปัจจัยเสี่ยงของติ่งเนื้อบนผิวหนัง อาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดติ่งเนื้อได้

    ติ่งเนื้อบนผิวหนัง คืออะไร

    ติ่งเนื้อบนผิวหนัง หรือที่เรียกว่าติ่งเนื้อ (Skin tags) คือ กลุ่มเส้นใยคอลลาเจนที่อยู่ภายในเส้นเลือด ซึ่งพัฒนาจนนูนขึ้นและเป็นติ่งยื่นออกมาจากผิวหนัง มักมีลักษณะนุ่ม สีใกล้เคียงกับสีผิวบริเวณนั้นหรือเข้มกว่า อาจมีขนาดไม่ถึงมิลลิเมตรไปจนถึง 5 เซนติเมตร พบบ่อยที่ผิวหนังบริเวณลำคอ ใต้วงแขน เปลือกตา ขาหนีบ รอยพับบั้นท้าย และใต้หน้าอก ติ่งเนื้อบนผิวหนังพบมากในวัยกลางคน และผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ส่วนช่วงวัยเด็กและวัยรุ่นนั้นอาจขึ้นอยู่กับพันธุกรรมที่ได้รับมาจากครอบครัว หรือพฤติกรรมที่เกิดจากการเสียดสีจากการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน เช่น เล่นกีฬา เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ติ่งเนื้อบนผิวหนังมักไม่มีอันตราย และไม่สามารถพัฒนาไปเป็นก้อนเนื้อร้ายอย่างมะเร็งได้

    ปัจจัยเสี่ยงของติ่งเนื้อบนผิวหนัง มีอะไรบ้าง

    หากมีภาวะเหล่านี้ อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดติ่งเนื้อบนผิวหนังได้

  • มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน
  • เป็นโรคอ้วน
  • เป็นโรคเบาหวาน
  • ติดเชื้อไวรัสบางชนิด
  • กำลังตั้งครรภ์
  • คอเลสเตอรอลสูง
  • ความดันโลหิตสูง
  • สาเหตุที่โรคเบาหวาน โรคอ้วน จัดเป็นปัจจัยเสี่ยงของติ่งเนื้อบนผิวหนัง เนื่องจากเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับภาวะดื้ออินซูลินซึ่งอาจทำให้ผิวหนังอักเสบได้ง่าย และภาวะอักเสบอาจกระตุ้นให้เกิดติ่งเนื้อได้

    วิธีรักษาติ่งเนื้อบนผิวหนัง

    วิธีทางการแพทย์ที่อาจช่วยกำจัดติ่งเนื้อออกจากผิวหนังได้ อาจมีดังนี้

    • การตัดติ่งเนื้อด้วยใบมีด
    • การจี้ออกด้วยไนโตรเจนเหลว (Cryo surgery)
    • การผูกติ่งเนื้อเพื่อไม่ให้เลือดไหลเวียนมาเลี้ยงเนื้อเยื่อติ่งเนื้อได้ ก่อนจะตัดออก
    • การใช้เลเซอร์

    ทั้งนี้ ควรรักษาติ่งเนื้อกับคุณหมอผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น อย่าพยายามกำจัดติ่งเนื้อด้วยตัวเอง เพราะอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดปัญหาสุขภาพ เช่น เลือดไหลไม่หยุด ติดเชื้อ อย่างไรก็ตาม ติ่งเนื้อบางกรณีอาจต้องรักษามากกว่า 1 ครั้ง และอาจก่อให้เกิดรอยแผลเป็นหรือรอยดำหลังกำจัดติ่งเนื้อ ในกรณีเหล่านี้ สามารถปรึกษาคุณหมอเพื่อหาวิธีรักษารอยที่เหมาะสมได้

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    เนตรนภา ปะวะคัง


    เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 15/03/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา