backup og meta

ผิวหนังหนา จากการเกาและเสียดสี มีวิธีรักษาอย่างไรบ้าง

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงเกศอร ป้องอาณา · โรคผิวหนัง · โรงพยาบาลสุขุมวิท


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 05/04/2023

    ผิวหนังหนา จากการเกาและเสียดสี มีวิธีรักษาอย่างไรบ้าง

    ผิวหนังหนา หมายถึง ภาวะผิวหนังหยาบกระด้าง ด้าน หนา แข็ง หรือขรุขระขึ้น ส่วนใหญ่เกิดจากการเสียดสีของผิวหนังสะสมเป็นเวลานาน รวมทั้งการเกาและถูผิวหนังอย่างรุนแรง ซึ่งเกิดขึ้นได้ตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ทั้งใบหน้า หน้าอก ข้อมือ ต้นขา อย่างไรก็ตาม ภาวะผิวหนังแข็งตัวสามารถบรรเทาอาการและสามารถฟื้นฟูสุขภาพผิวให้ดีขึ้นได้ เพียงแต่ต้องใช้เวลาและวิธีการรักษาที่เหมาะสม

    ผิวหนังหนา คืออะไร

    ผิวหนังหนา หรือภาวะผิวหนังหนาตัว (Lichenification) หมายถึง ภาวะที่ผิวหนังตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ใบหน้า หนังศีรษะ ลำคอ หน้าอก ช่องคลอด อัณฑะ ข้อมือ ปลายแขน ต้นขา ขาส่วนล่าง มีลักษณะแข็งและหนาขึ้น โดยอาจมีสาเหตุหลัก ๆ มาจากพฤติกรรมเกาหรือถูผิวอย่างรุนแรง แต่ในบางรายอาจเกิดจากผลข้างเคียงของภาวะโรคต่าง ๆ ได้แก่

  • โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง
  • โรคสะเก็ดเงิน
  • กลาก
  • ภาวะผิวแห้ง
  • การพัฒนาของเซลล์ผิดปกติ
  • ผิวหนังติดเชื้อ
  • การได้รับสารก่อมะเร็งเข้าไปทำลายผิวหนัง
  • โรคผิวหนังอักเสบ
  • โรคย้ำคิดย้ำทำ
  • โรควิตกกังวล
  • พิษจากแมลงกัดต่อย
  • โรคระบบประสาท
  • อาการที่บ่งบอกว่าเกิดภาวะผิวหนังแข็งตัว

    อาการหรือสัญญาณเตือนของปัญหา ผิวหนังแข็งตัว ที่สามารถสังเกตเห็นได้คือ อาการผิวหนังมีรอยขีดข่วน ผิวนูนเป็นเส้น ๆ หนาตัว ขนโดยรอบหลุดร่วง ผิวหนังตกสะเก็ด และอาจมีจุดเลือดเล็กน้อยจากการเกา

    วิธีรักษา ภาวะผิวหนังแข็งตัว  

    สำหรับขั้นตอนการรักษาภาวะผิวหนังแข็งตัว คุณหมออาจจะแนะนำยาที่เหมาะสมกับอาการให้ไปลองใช้สักระยะหนึ่ง แล้วให้คนไข้คอยสังเกตตนเองว่าผิวหนังมีอาการดีขึ้นหรือไม่ แล้วมักนัดหมายเพื่อทำการตรวจผิวหนังบริเวณที่ได้รับผลกระทบอีกครั้งเพื่อติดตามผลว่าร่างกายตอบสนองต่อยาดีมากน้อยแค่ไหน

    ยารักษาปัญหา ผิวหนังแข็งตัว ที่คุณหมออาจเลือกใช้ มีดังต่อไปนี้

    • ครีมเพิ่มความชุ่มชื้น
    • ยาต้านเชื้อรา
    • ยาสเตียรอยด์
    • ยาต้านฮีสตามีน
    • ยากันชัก
    • ยาแก้ซึมเศร้า
    • ยาลดความวิตกกังวล
    • ยาแก้แพ้
    • ยาทาโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง

    นอกจากนี้ ในบางรายที่อาการค่อนข้างรุนแรง คุณหมออาจแนะนำให้รักษาด้วยการใช้เลเซอร์เพิ่มเติม หรือฉีดสเตียรอยด์ทุก ๆ 4-6 สัปดาห์ เพื่อบรรเทาอาการระคายเคืองบนผิวหนัง แต่หากเป็นกรณีของผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงิน และผู้ป่วยโรคผิวหนังอักเสบอื่น ๆ คุณหมออาจต้องพิจารณาเลือกการรักษาด้วยวิธีอื่นแทน

    หลังจากที่อาการดีขึ้นแล้ว ควรปฏิบัติตามคำแนะนำเกี่ยวกับจากคุณหมออย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ประกอบด้วยมอยส์เจอไรเซอร์ เจลว่านหาง การประคบเย็น ลดระดับความเครียด หลีกเลี่ยงสวมใส่เสื้อผ้าขนสัตว์ งดการถูการเกาบริเวณที่คัน ตัดเล็บให้สั้น หรือใส่ถุงมือ เพื่อช่วยป้องกันภาวะผิวหนังแข็งตัวกลับมาเป็นอีกครั้ง

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

    แพทย์หญิงเกศอร ป้องอาณา

    โรคผิวหนัง · โรงพยาบาลสุขุมวิท


    เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 05/04/2023

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา