backup og meta

สิวข้าวสาร (Milium Cysts)

สิวข้าวสาร (Milium Cysts)

สิวข้าวสาร (Milium Cysts)  คือก้อนซีสต์ขนาดเล็กเท่าหัวเมล็ดข้าวสาร มีลักษณะเป็นสีขาวหรือสีเหลือง โดยมีสาเหตุมาจากเซลล์ผิวที่ตายแล้วหรือเคราติน (Keratin) ที่สะสมไว้ใต้ผิวหนัง จึงทำให้ปรากฎออกมาเป็นลักษณะตุ่มนูน ๆ มักพบบริเวณใบหน้า เปลือกตาและใต้ตา

[embed-health-tool-bmr]

คำจำกัดความ

สิวข้าวสาร (Milium Cysts) คืออะไร

สิวข้าวสาร (Milium Cysts) คือ ก้อนซีสต์ขนาดเล็ก มีลักษณะเป็นสีขาวหรือสีเหลือง โดยมีสาเหตุมาจากเซลล์ผิวที่ตายแล้วหรือเคราติน (Keratin) ที่สะสมไว้ใต้ผิวหนัง จึงทำให้ปรากฎออกมาเป็นลักษณะตุ่มนูน ๆ มักพบบริเวณใบหน้า เปลือกตาและใต้ตา

พบได้บ่อยเพียงใด

สิวข้าวสารเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย แต่ส่วนใหญ่มักพบในเด็กทารก

อาการ

อาการของสิวข้าวสาร (Milium Cysts)

สิวข้าวสารมีลักษณะเป็นตุ่มสีขาวหรือเหลือง ขึ้นเป็นกระจุก มักพบบริเวณ ใบหน้า ริมฝีปาก เปลือกตา แก้ม ตามลำตัว และอวัยวะเพศ อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าสิวข้าวสารจะไม่มีอาการคันหรือรู้สึกเจ็บปวด แต่อาจทำให้เรารู้สึกระคายเคืองเล็กน้อย 

ควรไปพบหมอเมื่อใด

หากมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามอาการ

สาเหตุ

สาเหตุของสิวข้าวสาร (Milium Cysts)

สิวข้าวสารเกิดขึ้นเมื่อเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้วหรือเคราติน (โปรตีนที่พบในผิวหนังและเส้นผม) สะสมอยู่ภายใต้ผิว จึงทำให้ปรากฎออกมาเป็นลักษณะตุ่มนูน ๆ 

ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงของสิวข้าวสารในทารกแรกเกิด หลายคนมักเข้าใจผิดคิดว่าเป็นสิวในทารก แต่แท้จริงแล้วเป็นเพียงภาวะที่ถูกกระตุ้นจากฮอร์โมนและทำให้เกิดการอักเสบ

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดสิวข้าวสาร (Milium Cysts)

  • ผิวโดนแสงแดดเป็นเวลานาน
  • โรคทางผิวหนัง 
  • การบาดเจ็บ หรือความเจ็บป่วยทางผิวหนัง
  • การใช้ครีมสเตียรอยด์เป็นระยะเวลานานติดต่อกัน
  • ความผิดปกติทางพันธุกรรมที่ส่งผลกระทบต่อผิวหนัง

การวินิจฉัยและการรักษา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัยสิวข้าวสาร (Milium Cysts)

ในเบื้องต้นแพทย์จะสอบถามประวัติอาการและตรวจสอบดูความผิดปกติของผิวหนัง ในผู้ป่วยบางรายแพทย์อาจนำชิ้นเนื้อไปตรวจ

การรักษาสิวข้าวสาร (Milium Cysts)

สิวข้าวสารมักหายได้เอง โดยไม่ต้องรับการรักษา โดยเฉพาะในทารกแรกเกิดมักหายได้เองภายใน 1 สัปดาห์ และในวัยผู้ใหญ่มักหายไปใน 2-3 สัปดาห์ ในผู้ป่วยบางรายสิวข้าวสารอาจอยู่หลายเดือนหรือนานกว่านั้น หากรู้สึกไม่สบายตัว แพทย์อาจกำจัดสิวข้าวสารออก ด้วยวิธีดังต่อไปนี้ 

  • การใช้สารเคมีลอกออก
  • การบำบัดด้วยความเย็น โดยการใช้ไนโตรเจนเหลวทำให้สิวข้าวสารแข็งตัว
  • การบำบัดด้วยความร้อน
  • ใช้เข็มที่ผ่านการฆ่าเชื้อเจาะ เพื่อเปิดตุ่มสิวข้าวสาร

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเอง

 การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองเพื่อบรรเทาอาการสิวข้าวสาร 

 การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองเพื่อบรรเทาอาการสิวข้าวสาร มีดังต่อไปนี้

  • หลีกเลี่ยงเจาะหรือจิ้มสิวข้าวสารออกด้วยตนเอง เพราะอาจทำให้เกิดการตกสะเก็ดและมีแผลเป็นได้
  • รักษาสุขอนามัย ทำความสะอาดล้างด้วยสบู่ที่อ่อนโยน (ปราศจากสารพาราเบน) เพื่อป้องกันผิวเสียดสีจนเป็นแผลหรือแห้งเกินไปอาจทำให้คันได้
  • ขัดผิวบริเวณนั้นรอบ ๆ เพื่อป้องกันเคราตินในผิวผลิตออกมามากเกินไป
  • ครีมกันแดดเนื้อบางเบา การใช้ครีมกันแดดที่เหมาะสมอาจช่วยลดการระคายเคืองของผิวหนังที่ทำให้เกิดสิวข้าวสารได้ 

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

How can I get rid of milia?. https://www.medicalnewstoday.com/articles/320953. Accessed December 2, 2021.

Milia on Your Eyelid? What Milia Are and How to Remove Them. https://www.allaboutvision.com/conditions/milia.htm. Accessed December 2, 2021.

What to Know About Milia. https://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/what-to-know-about-milia. Accessed December 2, 2021.

Milia. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/milia/symptoms-causes/syc-20375073. Accessed December 2, 2021.

Does Your Skin Have Tiny White Bumps? Leave Them Alone. https://health.clevelandclinic.org/does-babys-skin-have-tiny-white-bumps-leave-them-alone/. Accessed December 2, 2021.

เวอร์ชันปัจจุบัน

30/03/2023

เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงภัทรีวัลย์ โรจนพันธุ์

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

สิวฮอร์โมน สาเหตุ และวิธีรักษา

ล้างหน้าบ่อย สามารถช่วยลดสิวได้จริงหรือ


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงภัทรีวัลย์ โรจนพันธุ์

โรคผิวหนัง · โรงพยาบาลวิภาวดี



เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 30/03/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา