โรคผิวหนังช้าง เป็นโรคที่มีการเปลี่ยนแปลงของสีผิวหนัง ทั้งยังอาจมีความเชื่อมโยงกับโรคอ้วนและโรคเบาหวาน โดยส่วนใหญ่อาจเกิดขึ้นบริเวณข้อพับ เช่น หลังคอ รักแร้ ข้อศอก ขาหนีบ ซึ่งนอกจากจะทำให้ผิวดูไม่สวยงามแล้ว ยังอาจทำให้เสียความมั่นใจอีกด้วย
[embed-health-tool-bmr]
โรคผิวหนังช้าง คืออะไร
โรคผิวหนังช้าง (Acanthosis Nigricans) คือ โรคที่มีการเปลี่ยนแปลงของสีผิวหนัง อาจมีความเชื่อมโยงกับโรคอ้วนและโรคเบาหวาน โดยส่วนใหญ่อาจเกิดขึ้นตามบริเวณข้อพับต่าง ๆ เช่น หลังคอ รักแร้ ข้อศอก ขาหนีบ ซึ่งโรคผิวหนังช้างอาจเกิดขึ้นได้ตั้งแต่กำเนิด หรืออาจมาจากหลายสาเหตุ ดังต่อไปนี้
- ความผิดปกติของฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับต่อมหมวกไต ต่อมไทรอยด์
- การทำงานอินซูลินในร่างกายไม่คงที่ ซึ่งอาจอยู่ในระดับสูงเกินไป หรือร่างกายมีความต้านทานต่ออินซูลิน (Insulin Resistance)
- ยาหรืออาหารเสริมบางชนิด เช่น ยาคุมกำเนิด อาหารเสริมสำหรับผู้ที่เล่นกล้ามเนื้อหรือเพาะกล้าม
- ความผิดปกติของต่อมใต้สมอง
- มะเร็งกระเพาะอาหาร
อย่างไรก็ตาม หาเกิดความกังวลของโรคผิวหนังช้างอาจเข้ารับการตรวจร่างกาย หรือตรวจสุขภาพอย่างละเอียดได้โดยคุณหมอ เพราะบางครั้งอาจมีภาวะเบาหวานแทรกซ้อนอย่างโรคอ้วนร่วมอยู่ด้วย
อาการของโรคผิวหนังช้าง
การเปลี่ยนแปลงของผิวหนังตามข้อพับ อาจเป็นสัญญาณเดียวอาจเห็นได้ชัดเจน ซึ่งอาจจะมีความคล้ายคลึงกับขี้ไคลเล็กน้อย โดยจะมีสีที่ค่อนข้างคล้ำไปถึงดำ และมีผิวสัมผัสที่เนียนนุ่ม หรืออาจแห้งกร้านตามข้อพับต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ใต้หน้าอก ฝ่าเท้า ด้านหน้าของข้อศอก ขาหนีบ ทวารหนัก อวัยวะเพศ หลังคอ อีกทั้งยังอาจมีกลิ่นไม่พึงประสงค์ และอาการคันร่วมด้วยเมื่อมีการปรากฎของร่องรอยดำนี้ขึ้น
วิธีรักษาโรคผิวหนังช้าง
โดยปกติคุณหมออาจทำการวินิจฉัยเบื้องต้นถึงสาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคผิวหนังช้างเสียก่อน เพื่อให้ทราบสาเหตุที่แท้จริงก่อนการรักษาในลำดับถัดไป แต่โดยส่วนใหญ่ คุณหมออาจแนะนำให้ปรับพฤติกรรมบางอย่าง และอาจมีการรักษาทางการแพทย์ร่วมด้วย ดังนี้
- ลดน้ำหนัก โดยเฉพาะผู้เป็นโรคอ้วน หรือมีภาวะดื้ออินซูลิน (Insulin Resistance)
- ปรับฮอร์โมนในร่างกายให้สมดุล ด้วยการใช้ยาบางชนิดตามสาเหตุที่เกิดขึ้น
- หลีกเลี่ยงยาหรืออาหารเสริมบางชนิด เพราะตัวยาบางชนิดอาจก่อให้เกิดโรคผิวหนังช้างได้ ดังนั้น ควรแจ้งรายชื่อยาและอาหารเสริมที่ใช้ทั้งหมดให้คุณหมอทราบก่อนการรักษา
- เลเซอร์ผิวหนัง เพื่อลดความหนาของรอยดำ พร้อมปรับสีผิวให้ขาวกระจ่างใสขึ้น
สิ่งสำคัญ คือ การรักษาสุขอนามัยของตัวเองด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะที่คุณหมอแนะนำเพิ่มเติม เช่น การใช้สบู่ต้านเชื้อแบคทีเรีย ผลิตภัณฑ์ที่ประกอบด้วยเรตินเอ (Retin-A) ร่วมด้วย เพื่อช่วยให้สุขภาพผิวมีอาการที่ดีขึ้น จนอาจจางหายไปได้ภายในระยะเวลาอันรวดเร็ว