backup og meta

โรคผิวหนังในหน้าฝน ที่ควรระวัง มีอะไรบ้าง

โรคผิวหนังในหน้าฝน ที่ควรระวัง มีอะไรบ้าง

โรคผิวหนังในหน้าฝน เกิดจากร่างกายอับชื้นเนื่องมาจากปริมาณน้ำฝนที่อาจท่วมขังกลายเป็นแหล่งเชื้อโรค รวมทั้งการที่เมื่อโดนฝนแล้วไม่รีบอาบน้ำเช็ดตัวและเป่าผมให้แห้ง ทำให้เอื้อต่อการเจริญเติบโตของเชื้อราบนผิวหนังและเกิดโรคผิวหนังตามมา ทั้งนี้ เพื่อป้องกันโรคผิวหนังในหน้าฝน ควรทำให้ร่างกายแห้งอยู่เสมอ และหมั่นสังเกตผิวพรรณ หากพบความผิดปกติควรเข้าพบคุณหมอโรคผิวหนังเพื่อรักษาต่อไป

[embed-health-tool-bmi]

โรคผิวหนังในหน้าฝน ที่พบได้บ่อย

เมื่อเข้าสู่ช่วงฤดูฝน ความอับชื้น เฉอะแฉะ และอบอ้าว มักตามมา จนบางครั้งส่งผลให้ผิวหนังเกิดปัญหาสุขภาพได้  โดยเฉพาะผิวหนังที่เปียกฝนและไม่ได้ทำความสะอาดทันที อาจพัฒนาเกิดเป็นโรคผิวหนังต่าง ๆ ดังนี้

1. โรคน้ำกัดเท้า

เกิดจากเชื้อราบางชนิด ส่วนมากมักเกิดบริเวณง่ามนิ้วเท้า ส่งผลให้ผิวหนังเปื่อย แข็งแห้งแตกออก และอาจมีเลือดออก หรือรู้สึกเจ็บร่วมด้วย โรคน้ำกัดเท้ารักษาให้หายได้ ด้วยการทาครีม พร้อมกับการรักษาความสะอาด และเช็ดเท้าให้แห้งทุกครั้งหากเปียกน้ำ เพื่อป้องกันเชื้อราจากฝน หรือสิ่งสกปรกโดยรอบที่อาจเข้าไปทำลายผิวหนัง

2. โรคกลาก

โรคกลากจะก่อให้เกิดตุ่มแดง ผิวหนังหนา ตกสะเก็ด และมีอาการคัน ซึ่งมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อรา มักเป็นบริเวณผิวหนังที่อับชื้น หากเป็นโรคกลากควรรีบเข้ารับการรักษาจากคุณหมอด้านผิวหนัง เพื่อรับยาที่เหมาะสม และควรดูแลตนเองควบคู่ไปด้วย เช่น ไม่ให้ผิวหนังอับชื้น ถ้าเหงื่อเยอะควรรีบล้างทำความสะอาด ไม่ปล่อยให้หมักหมม

3. โรคเกลื้อน

มีสาเหตุมาจากเชื้อรา ลักษณะอาการคือ เกิดจุดเล็ก ๆ หรือรอยด่างสีแดง หรือสีชมพู ขึ้นบริเวณแผ่นหลัง หน้าอก คอ และแขน วิธีรักษาเบื้องต้นอาจหาซื้อยาต้านเชื้อราเฉพาะที่จากร้านขายยา นอกจากนั้น ควรดูแลตนเองด้วยการทำความสะอาดร่างกาย และไม่ควรใส่เสื้อผ้ารัดรูปเกินไป เพื่อให้สามารถระบายอากาศได้ง่าย และไม่อับชื้นจากเหงื่อ

4. ผื่นกุหลาบ

ผื่นกุหลาบเกิดจากเชื้อไวรัสเริมชนิดหนึ่ง พบมากในทารก และเด็กเล็ก สังเกตได้จากอาการไข้สูง ผื่นแดงสีเหมือนดอกกุหลาบตามบริเวณแขน ขา ใบหน้า ลำคอ โดยปกติแล้ว ผู้ปกครองสามารถดูแลอาการของทารกและเด็ก ๆ ให้หายไปเองได้ภายใน 1-2 วัน เช่น รับประทานยาตามอาการ ดื่มน้ำให้มาก ๆ ให้ทารกได้พักผ่อนเต็มที่ อย่างไรก็ตาม ผู้ปกครองควรทำความสะอาดตนเองก่อนสัมผัสกับลูกน้อย เพื่อป้องกันการติดเชื้อและการแพร่กระจายของเชื้อ

เคล็ดลับการดูแลผิวง่าย ๆ เพื่อป้องกันโรคผิวหนังในหน้าฝน

เพื่อป้องกันตนเองและลดความเสี่ยงจากโรคผิวหนังในหน้าฝน ควรดูแลผิวพรรณและสุุขภาพดังนี้

  • ปกป้องผิวจากแสงแดด เช่น ใช้ครีมกันแดด สวมใส่เสื้อผ้ามิดชิด พกอุปกรณ์กันแดด อย่างแว่นตา ร่ม
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ เพราะสารอันตายจากบุหรี่อาจส่งผลเสียต่อหลอดเลือดฝอยบริเวณผิวหนังชั้นนอกสุดได้
  • บำรุงผิวเป็นประจำ ด้วยการทาโลชั่น หรือผลิตภัณฑ์ที่อ่อนโยนต่อผิว ไร้สารเคมี เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นไม่ให้ผิวแตกแห้ง
  • จำกัดเวลาอาบน้ำให้พอดี ไม่ควรอาบน้ำนานเกินไป เพราะจะส่งผลให้ผิวขาดความชุ่มชื้น และควรอาบน้ำด้วยน้ำอุณหภูมิปกติ
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอ ป้องกันผิวขาดความชุ่มชื้น แตก แห้งเป็นขุย เพราะอาจเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อโรคในช่วงหน้าฝนได้

ในช่วงฤดูฝนนี้  ควรหมั่นดูแลตนเอง เช็ดผิวให้แห้งอยู่เสมอ หากสังเกตเห็นความผิดปกติของผิวหนัง หรือลองใช้ยารักษาอาการแล้ว แต่อาการยังไม่ดีขึ้น ควรรีบปรึกษาคุณหมอทันที เพื่อรับการวินิจฉัย และรักษาได้ทันท่วงที ก่อนที่อาการจะลุกลามจนส่งผลต่อสุขภาพด้านอื่น ๆ

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Athlete’s foot. https://www.nhs.uk/conditions/athletes-foot/. Accessed October 27, 2022.

Monsoon Skin Care Tips: How To Take Care Of Your Skin This Rainy Season. https://www.ndtv.com/food/monsoon-skin-care-tips-how-to-take-care-of-your-skin-this-rainy-season-1877699. Accessed October 27, 2022.

Tinea Versicolor. https://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/tinea-versicolor-cause-symptoms-treatments. Accessed October 27, 2022.

Everything you need to know about roseola rash. https://www.medicalnewstoday.com/articles/roseola-rash. Accessed October 27, 2022.

Skin care: 5 tips for healthy skin. https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/adult-health/in-depth/skin-care/art-20048237. Accessed October 27, 2022.

เวอร์ชันปัจจุบัน

14/06/2023

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงภัทรีวัลย์ โรจนพันธุ์

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

สารระคายเคืองผิวหนัง ที่พบมากที่สุด

แผลฉีกขาดที่ผิวหนัง ควรดูแลรักษาอย่างไร


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงภัทรีวัลย์ โรจนพันธุ์

โรคผิวหนัง · โรงพยาบาลวิภาวดี



เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 14/06/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา