backup og meta

กัญชารักษาโรคสะเก็ดเงิน ได้จริงหรือไม่?

โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรคผิวหนังที่สามารถส่งผลให้คุณรู้สึกคันระคายเคือง และเจ็บปวดต่อผิวหนัง ดังนั้น คุณจึงควรเร่งทำการรักษาทันที แม้ว่าจะมียารักษามากมาย แต่ยังคงมีข้อถกเถียงถึงประเด็น กัญชารักษาโรคสะเก็ดเงิน ว่าอาจนำมาบรรเทาอาการแทนยาได้ วันนี้ Hello คุณหมอ จึงขอนำข้อเท็จจริงมาให้ทุกคนคลายความสงสัยไปพร้อม ๆ กัน

กัญชารักษาโรคสะเก็ดเงิน ได้จริงหรือไม่?

นอกจากสรรพคุณของกัญชาที่ค่อนข้างเด่นในเรื่องช่วยให้ผ่อนคลายแล้ว ช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ นักวิทยาศาสตร์หลายคนสังเกตเห็นว่าสารประกอบในกัญชาที่มากกว่า 120 ชนิด มีสารออกฤทธิ์ ที่ให้ประโยชน์ที่แตกต่างกันออกไป โดยสารประกอบที่นักวิทยาศาสตร์มักรู้จักกันมากที่สุดนั้น คือ Cannabinoids ซึ่งจะเข้าไปทำปฏิกิริยากับระบบ Endocannabinoid ที่ควบคุมสมดุลระบบประสาทส่วนกลาง ส่งเสริมการทำงานภูมิคุ้มกันให้ต้านการอักเสบได้เป็นอย่างดี

5 ประโยชน์จากกัญชา ในการรักษาโรคสะเก็ดเงิน

หากคุณใช้ผลิตภัณฑ์ หรือยาที่มีส่วนประกอบของกัญชา คุณสมบัติ และสารประกอบในกัญชานั้น ก็อาจส่งผลให้ช่วยบรรเทาอาการของโรคสะเก็ดเงินได้ ดังนี้

  • ชะลอการเจริญเติบโตของเซลล์ 

ผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินส่วนใหญ่มีการสร้างเซลล์ผิวหนังที่รวดเร็วจนมากเกินไป โดยสารประกอบ Cannabinoids อาจช่วยชะลอการเจริญเติบโตของเซลล์ได้ ในปี พ.ศ. 2550 พบว่า Cannabinoids delta-9-tetrahydrocannabinol ดูเหมือนจะเข้าไปยับยั้งการพัฒนาเซลล์เคราติโนไซท์ (Keratinocytes) ชั้นผิวหนังกำพร้า นักวิจัยจึงมีความคิดเห็นว่าสารเหล่านี้มีบทบาท รักษาโรคสะเก็ดเงิน

  • บรรเทาอาการเจ็บปวด

นักวิทยาศาสตร์ได้ตั้งข้อสันนิษฐานเอาไว้ว่า กัญชาอาจสามารถช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดของโรคสะเก็ดเงิน และลดการระคายเคืองบนผิวหนังผู้ป่วยได้ แต่อาจจเป็นต้องใช้ร่วมกับยาชนิดอื่น ๆ และแพทย์ผู้ให้กัญชาเป็นแนวทางรักษาต้องมีใบอนุญาตให้ใช้กัญชาในทางการแพทย์ด้วยเช่นกัน

  • สมานแผล

บางครั้งสะเก็ดเงินอาจทำให้คุณมีเลือดออกตามผิวหนัง จากการศึกษาปี พ.ศ. 2559 หนูทดลองที่รับสาร Cannabinoids ในกัญชา สามารถซ่อมแซมบาดแผลที่เสียหาย แต่ถึงอย่างไรอาจต้องมีการศึกษาต่อไป จนกว่าจะมั่นใจว่ากัญชาสามารถช่วยสมานแผลในโรคสะเก็ดเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพมากเพียงพอ

การทบทวนการวิจัยในปี พ.ศ. 2560 ได้สำรวจความเชื่อมโยงของกัญชาที่ใช้รักษาด้านโรคผิวหนัง พบว่าผลิตภัณฑ์ที่มีสารประกอบ Palmitoylethanolamide (PEA) ซึ่งส่งผลต่อ Cannabinoid type-1 อาจช่วยลดอาการคันระดับเบาถึงปานกลาง

  • ลดการอักเสบ

ในปีพ.ศ. 2552 พบว่าสาร Cannabinoid ในกัญชา สามารถช่วยควบคุมการทำงานระบบภูมิคุ้มกันให้ไปในทางที่ดี และลดการอักเสบของผิวหนังได้

ความเสี่ยงจากกัญชา เมื่อใช้ รักษาโรคสะเก็ดเงิน

ในบางประเทศกัญชายังคงเป็นสิ่งผิดกฎหมาย และไม่อาจนำมาใช้ในทางการแพทย์ได้ แต่ขณะเดียวกันก็ยังคงมีอีกหลายประเทศที่หน่วยงานได้รับการอนุมัติให้นำมาใช้ แต่คงอยู่ภายใต้เงื่อนไขใช้กับทางการแพทย์เท่านั้น 

ถึงแม้จะมีการวิจัยมากที่เห็นว่ากัญชาสามารถใช้รักษาโรคสะเก็ดเงิน ในขณะเดียวก็มีความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้กับผู้เป็นโรคสะเก็ดเงินในบางบุคคล เพราะการที่จะนำกัญชามาใช้กับผิวอาจต้องแปรเปลี่ยนให้อยู่ในรูปแบบทิงเจอร์ หรือน้ำมันสกัดเท่านั้น หากแปรเปลี่ยนให้อยู่ในรูปแบบควันระเหย กัญชาอาจปล่อยสารเคมีที่ทำร้ายผิว ทำให้สภาพผิว รวมไปถึงระบบทางเดินหายใจอย่างปอดแย่ลงได้นั่นเอง

หากคุณมีความประสงค์ต้องการจะลองใช้กัญชา รักษาโรคสะเก็ดเงิน คุณต้องเข้าขอรับคำปรึกษา พร้อมการตรวจสอบสุขภาพผิวที่คุณเป็นเสียก่อน เพราะยังคงมียาอีกหลายประเภท และการรักษาหลากหลายวิธี ที่เหมาะกับสุขภาพผิวมากกว่าการใช้กัญชา

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Can cannabis help treat psoriasis?.https://www.medicalnewstoday.com/articles/320086.Accessed July 15, 2021

Cannabidiol (CBD) and its analogs: a review of their effects on inflammation.https://www.sciencedirect.com/science/article/abs/pii/S0968089615000838.Accessed July 15, 2021

Effect of cannabis use in people with chronic non-cancer pain prescribed opioids: findings from a 4-year prospective cohort study.https://www.thelancet.com/journals/lanpub/article/PIIS2468-2667(18)30110-5/fulltext.Accessed July 15, 2021

FDA Approves First Drug Comprised of an Active Ingredient Derived from Marijuana to Treat Rare, Severe Forms of Epilepsy.https://www.fda.gov/news-events/press-announcements/fda-approves-first-drug-comprised-active-ingredient-derived-marijuana-treat-rare-severe-forms.Accessed July 15, 2021

Cannabis for Refractory Psoriasis-High Hopes for a Novel Treatment and a Literature Review.https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/27164964/.Accessed July 15, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

31/12/2024

เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

วิธีรักษาสะเก็ดเงินที่เล็บ ง่าย ๆ ด้วยตัวคุณเอง

โรคสะเก็ดเงินกับการสัก เป็นโรคสะเก็ดเงิน สักได้ไหม


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 4 วันก่อน

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา