backup og meta

7 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ ระบบทางเดินหายใจ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย เนตรนภา ปะวะคัง · แก้ไขล่าสุด 22/02/2023

    7 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ ระบบทางเดินหายใจ

    ระบบทางเดินหายใจ เป็นระบบหนึ่งที่สำคัญมากในร่างกาย โดยระบบนี้ประกอบด้วยอวัยวะและส่วนประกอบต่าง ๆ ที่ช่วยในการสูดอากาศเข้าไปในร่างกายและเอาออกมลภาวะออกจากร่างกาย ระบบหายใจแบ่งออกเป็นส่วนบนและส่วนล่าง โดยอวัยวะในระบบทางเดินหายใจส่วนบนประกอบด้วยจมูก คอหอย เป็นต้น ส่วนอวัยวะในระบบทางเดินหายใจส่วนล่างประกอบด้วยกล่องเสียง หลอดคอ หลอดลมต่าง ๆ ปอด และกะบังลม ระบบทางเดินหายใจไม่ได้มีหน้าที่แค่หายใจเข้า-ออกเท่านั้น  แต่ยังทำหน้าที่ในการการควบคุมการหายใจและความชื้นของอากาศที่เข้าไปในปอดอีกเ้วย

    7 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ ระบบทางเดินหายใจ

    1. แค่หายใจก็อาจทำให้ร่างกายเสียน้ำได้

    การหายใจก็เข้าเพื่อรับเอาออกซิเจนเข้าสู่ส่วนต่า งๆ ของร่างกาย และการหายใจออกเพื่อกำจัดคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากร่างกาย แต่สิ่งที่ออกจากร่างกายขณะที่หายใจออกนั้นไม่ได้มีแค่คาร์บอนไดออกไซด์เท่านั้น ยังมีน้ำจำนวนมากด้วย โดยข้อมูลจากบทความที่เผยแพร่ในวารสาร Polish Pneumonology and Allergology เมื่อ พ.ศ. 2555 พบว่า ในขณะที่อยู่นิ่ง ๆ ร่างกายจะสูญเสียน้ำไปกับการหายใจออกมากถึง 17.5 มิลลิลิตร และปริมาณน้ำที่เสียไปเมื่อหายใจออกจะสูงกว่านี้ถึง 4 เท่าเมื่อออกกำลังกาย

    2. บางคนกลั้นหายใจได้นานกว่า 20 นาที

    ผู้ใหญ่อาจกลั้นหายใจได้เฉลี่ย 30-60 วินาที ซึ่งหากกลั้นหายใจนานกว่านี้อาจทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ และมีคาร์บอนไดออกไซด์สะสมอยู่ในกระแสเลือดมากขึ้นจนส่งผลให้เกิดภาวะเลือดเป็นกรดได้

    แม้ค่าเฉลี่ยจะออกมาเช่นนี้ แต่ก็ยังมีคนบางกลุ่ม เช่น นักดำน้ำแบบฟรีไดฟ์ ที่เชี่ยวชาญการดำน้ำแบบตัวเปล่า โดยไม่ใช้อุปกรณ์ช่วยหายใจใด ๆ มักาจะใช้เทคนิคในการหายใจที่แตกต่างจากคนทั่วไป ซึ่งจะช่วยให้ระดับคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดลดลง จึงหายใจได้นานขึ้นโดยไม่เกินภาวะเลือดเป็นกรด โดยเจ้าของสถิติดำน้ำแบบฟรีไดฟ์ได้นานที่สุด ที่บันทึกโดยสถาบันสถิติโลกอย่างกินเนส เวิลด์ เรคคอร์ด (Guinness World Record) คือ Stig Severinsen ชาวเดนมาร์ก โดยใน พ.ศ. 2555 ซึ่งสามารถอยู่ใต้น้ำได้นานถึง 22 นาที

    3. ละอองฝอยจากการจามอาจไปได้ช้ากว่าที่คุณคิด

    จากการศึกษาวิจัยแบบจำลองในอดีต พบว่า การจามนั้นมีอัตราความเร็วอยู่ที่ประมาณ 180 กิโลเมตร/ชั่วโมง แต่ผลการจากศึกษาวิจัยเกี่ยวกับความเร็วของการจาม โดยอาศัยกล้องความเร็วสูงและแสงไฟแอลอีดี ที่ตีพิมพ์ในวารสาร PLOS ONE เมื่อ พ.ศ. 2556 เผยว่า การจามของผู้เข้าร่วมการศึกษาวิจัยมีอัตราความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 16 กิโลเมตร/ชั่วโมงเท่านั้น

    4. ที่หน้าอกขยับเวลาออกกำลังกาย ไม่ได้เป็นเพราะอากาศเคลื่อนที่

    ขณะที่หายใจเข้า หน้าอกจะพองตัว และเมื่อหายใจออก หน้าอกจะยุบตัว หลายคนอาจคิดว่าที่เป็นเช่นนี้เพราะอากาศเคลื่อนที่เข้าและออกจากร่างกาย แต่ความจริงแล้ว การที่หน้าอกพองและยุบเวลาที่หายใจ เกิดจากกะบังลม ซึ่งเป็นแผ่นกั้นบาง ๆ ประกอบด้วยกล้ามเนื้อ เอ็นกล้ามเนื้อ และแผ่นผังผืด ที่กั้นระหว่างช่องอกกับช่องท้องยึดและหดตัว

    โดยเมื่อหายใจเข้า กะบังลมจะยืดหรือขยายตัวเพื่อเพิ่มพื้นที่ในช่องอก ส่งผลให้กล้ามเนื้อที่อยู่ระหว่างกระดูกซี่โครงหดตัว กระดูกซี่โครงจึงเคลื่อนขึ้นข้างบนและยื่นไปข้างหน้า ส่งผลให้ดูเหมือนหน้าอกพองตัว และเมื่อหายใจออก ก็จะเกิดกระบวนการดังกล่าวในลักษณะตรงกันข้าม ส่งผลให้มองแล้วเหมือนหน้าอกยุบตัวนั่นเอง

    5. ปอดเป็นอวัยวะชิ้นเดียวในร่างกายที่ลอยน้ำได้

    ปอดทั้ง 2 ข้างประกอบไปด้วยถุงลมปอด (Alveoli) ซึ่งมีลักษณะเป็นถุงอากาศเล็ก ๆ คล้ายลูกโป่งจำนวนกว่า 300 ล้านถุง มีหน้าที่แลกเปลี่ยนอากาศ คือ กำจัดคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากกระแสเลือดและนำออกซิเจนเข้าสู่กระแสเลือด เมื่อมีอากาศอยู่เต็มปอด ถุงลมปอดเหล่านี้จะพองขึ้น ทำให้ปอดกลายเป็นอวัยวะเดียวในร่างกายของมนุษย์ที่สามารถลอยน้ำได้

    6. ปอดข้างซ้ายเล็กกว่าปอดข้างขวา

    หลายคนอาจคิดว่าปอดทั้ง 2 ข้างมีขนาดเท่ากัน แต่ความจริงแล้ว ปอดข้างซ้ายนั้นมีขนาดเล็กกว่าปอดข้างขวาเล็กน้อย เพราะต้องเผื่อพื้นที่ให้หัวใจนั่นเอง ปอดข้างซ้ายจะมี 2 กลีบ ส่วนปอดข้างขวาจะมี 3 กลีบ โดยขนาดของกลีบปอดแต่ละกลีบนั้นจะขึ้นอยู่กับส่วนสูงของคุณและระดับความสูงจากน้ำทะเลของพื้นที่ที่อยู่อาศัย หากเป็นคนรูปร่างสูงใหญ่ หรืออยู่บนที่สูงซึ่งอากาศเบาบาง ปอดก็จะใหญ่ เพราะร่างกายต้องการอากาศมากกว่านั่นเอง

    7. มนุษย์หายใจประมาณ 22,000 ครั้ง/วัน

    เมื่อหายใจเข้า ออกซิเจนจะเข้าสู่ร่างกายและถูกลำเลี้ยงไปเลี้ยงเซลล์ทั่วร่างกายผ่านกระแสเลือด เมื่อเซลล์ในร่างกายใช้ออกซิเจนแล้วก็จะปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์เข้าสู่กระแสเลือดและส่งไปยังปอด จากนั้นก็จะหายใจพร้อมปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ออกไป ซึ่งจำนวนครั้งในการหายใจเข้า-ออกในแต่ละวันจะอยู่ที่ประมาณ 22,000 ครั้ง และเวลาที่หายใจเข้า ร่างกายจะได้รับอากาศถึง 8,000 ลิตร

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


    เขียนโดย เนตรนภา ปะวะคัง · แก้ไขล่าสุด 22/02/2023

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา