backup og meta

โรคเซ็บเดิร์ม อาการ สาเหตุ วิธีรักษาและดูแลตัวเอง

คำจำกัดความอาการสาเหตุการวินิจฉัยและการรักษาการเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเอง

คำจำกัดความ

โรคเซ็บเดิร์ม (Seborrheic Dermatitis)  คืออะไร

โรคเซ็บเดิร์ม (Seborrheic Dermatitis) เป็นภาวะทางผิวหนังที่พบบ่อยมาก ส่งผลให้ผิวหนังเกิดรอยแดง เป็นสะเก็ดรังแค มักพบที่หนังศีรษะ และอาจพบที่ผิวหนังบริเวณที่มันง่าย เช่น ใบหน้า ข้างจมูก คิ้ว หู เปลือกตา หน้าอก

หากมีอาการแสดงออกคล้ายกับเซ็บเดิร์มควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเพราะอาจทำให้สับสนกับโรคสะเก็ดเงิน โรคอีสุกอีใส อาการภูมิแพ้ได้ 

พบได้บ่อยเพียงใด

โรคนี้มักพบได้บ่อยในทารกแรกเกิดและผู้ใหญ่ที่มีอายุระหว่าง 30-60 ปี พบได้บ่อยในเพศชายมากกว่าเพศหญิง โดยเฉพาะในผู้ที่มีผิวมัน

อาการ

อาการของโรคเซ็บเดิร์ม (Seborrheic Dermatitis)

โรคเซ็บเดิร์มมักพบที่ผิวหนังในบริเวณที่เกิดความมันค่อนข้างง่าย  เช่น หนังศีรษะ ใบหู รอบใบหู คิ้ว ร่องจมูก แผ่นหลัง หน้าอก อาการที่พบได้บ่อย เช่น ผิวหนังมีอาการคันหรือไหม้ ผิวเป็นรอยแดง มีสะเก็ดลักษณะคล้ายรังแคเป็นสีขาวหรือเหลือง

สาเหตุ

สาเหตุของโรคเซ็บเดิร์ม (Seborrheic Dermatitis)

โรคเซ็บเดิร์ม อาจเกิดจากสาเหตุต่อไปนี้

  • ความเครียด
  • ยีสต์ชื่อมาลาสซีเซีย (Malassezia) ซึ่งพบได้ในน้ำมันที่ผิวหนังหรือซีบัม
  • ความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน

ปัจจัยเสี่ยงของโรคเซ็บเดิร์ม

  • การใช้ยาบางชนิด
  • การฟื้นฟูจากสภาวะทางการแพทย์ที่ตึงเครียด เช่น ภาวะหัวใจวาย
  • ภาวะทางระบบประสาท เช่น ภาวะซึมเศร้า โรคพาร์กินสัน 
  • ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เช่น การปลูกถ่ายอวัยวะ การติดเชื้อเอชไอวี โดยเฉพาะในระยะเอดส์ โรคตับอ่อนอักเสบจากแอลกอฮอล์ โรคมะเร็งบางชนิด 

การวินิจฉัยและการรักษา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัยโรคเซ็บเดิร์ม (Seborrheic Dermatitis)

ในเบื้องต้นคุณหมอจะซักประวัติ ตรวจดูอาการของผู้ป่วย และอาจขูดเอาตัวอย่างเซลล์ผิวบริเวณที่สงสัยว่าเป็นโรคเซ็บเดิร์มไปทดสอบทางห้องปฏิบัติการ โดยมีการวินิจฉัยแยกประเภท ดังต่อไปนี้ 

  • โรคสะเก็ดเงิน จะมีสะเก็ดสีขาวออกเงิน เกิดขึ้นบริเวณข้อศอก หัวเข่า และอาจส่งผลให้ลักษณะของเล็บผิดปกติไปจากเดิม
  • โรคผิวหนังอักเสบ มักจะทำให้ผิวหนังบริเวณศีรษะ ข้อศอก หรือเข่าอักเสบ
  • โรคโรซาเซีย (Rosacea) ส่งผลให้ผิวเกิดอาการคัน อักเสบ มีผื่นแดง และสะเก็ดเล็ก ๆ มักขึ้นบริเวณใบหน้า 
  • โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง ส่งผลให้ผิวหนังคัน เป็นผื่นแดง มักเกิดจากสิ่งกระตุ้นอาการแพ้ เช่น ผ้าขนสัตว์ ละอองเกสร

การรักษาโรคเซ็บเดิร์ม

โรคเซ็บเดิร์มส่วนใหญ่สามารถหายไปได้เองโดยไม่ต้องรับการรักษา แต่ในบางกรณีอาจเป็นโรคเซ็บเดิร์มเรื้อรังที่ต้องเข้าพบคุณ เพื่อรับการรักษาด้วยการรับประทานยาต้านเชื้อรา การใช้ครีม เจล หรือยาสระผมน้ำมันดิน ทาครีมที่ช่วยลดการอักเสบของผิวหนัง เป็นต้น

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเอง

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเองเพื่อรับมือกับโรคเซ็บเดิร์ม

การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเองด้วยวิธีเหล่านี้ อาจช่วยควบคุมอาการของโรคเซ็บเดิร์มได้

  • อาบน้ำสระผมเป็นประจำ เพื่อชำระล้างสิ่งสกปรก เซลล์ผิวหนังที่ตายแล้ว และเชื้อโรคที่อาจอยู่บนผิวหนัง
  • หลีกเลี่ยงสบู่ที่มีกรดรุนแรงและใช้ครีมบำรุงผิวทุกครั้ง
  • หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์จัดแต่งทรงผม
  • หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์บำรุงผิวและเส้นผมที่มีแอลกอฮอล์ 
  • ทำความสะอาดผิวหนังบริเวณที่มันง่าย เช่น เปลือกตา เป็นประจำ

[embed-health-tool-heart-rate]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Seborrheic Dermatitis.https://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/seborrheic-dermatitis-medref#1. Accessed January 25, 2020

Seborrheic Dermatitis. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/seborrheic-dermatitis/symptoms-causes/syc-20352710. Accessed January 25, 2020

SEBORRHEIC DERMATITIS: OVERVIEW. https://www.aad.org/public/diseases/a-z/seborrheic-dermatitis-overview. Accessed June 20, 2022

https://www.aafp.org/pubs/afp/issues/2000/0501/p2703.html

Seborrheic Dermatitis.  https://www.urmc.rochester.edu/encyclopedia/content.aspx?ContentTypeID=85&ContentID=P00314. Accessed June 20, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

20/06/2022

เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย เนตรนภา ปะวะคัง

อัปเดตโดย: เนตรนภา ปะวะคัง


บทความที่เกี่ยวข้อง

วิธีดูแลผิวหนัง ให้ผิวแข็งแรง ดูสุขภาพดี

5 โรคผิวหนัง คัน เป็นวงแดง ที่พบได้บ่อย และวิธีรักษา


ตรวจสอบข้อมูลความถูกต้อง โดย ทีม Hello คุณหมอ · เขียน โดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไข 20/06/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา