แผลในกระเพาะอาหาร

แผลในกระเพาะอาหาร เป็นโรคที่อยู่ในกลุ่ม โรคแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ เกิดจากเยื่อบุในกระเพาะอาหารถูกน้ำย่อยกัดกร่อนจนระคายคายเคือง เป็นแผล และมีอาการระคายเคืองท้อง ปวดท้อง รวมถึงมีเลือดปนขณะขับถ่าย เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ แผลในกระเพาะอาหาร ตั้งแต่ปัจจัยเสี่ยง การรับมือ และเรื่องน่ารู้อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

แผลในกระเพาะอาหาร

เป็นแผลในกระเพาะอาหาร มีวิธีป้องกันและรักษาได้อย่างไรบ้าง

หนึ่งในอาการทางสุขภาพที่เกี่ยวกับกระเพาะอาหารที่เรามักจะพบกันได้บ่อย ๆ ก็คือ แผลในกระเพาะอาหาร ซึ่งเป็นปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นได้หากมีพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เสี่ยงต่อระบบทางเดินอาหาร แต่ถ้าจู่ ๆ เราก็เป็นแผลในกระเพาะอาหารขึ้นมาล่ะ จะมีวิธีรับมืออย่างไรได้บ้าง หากสงสัยกันล่ะก็ วันนี้ Hello คณหมอ มีสาระน่ารู้และวิธีการรับมือเมื่อ เป็นแผลในกระเพาะอาหาร มาฝากค่ะ แผลในกระเพาะอาหารคืออะไร แผลในกระเพาะอาหาร (Peptic ulcer) เกิดจากการที่เยื่อบุในกระเพาะอาหารถูกทำลายจากกรดและน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร หรือบางครั้งอาจเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียเอชไพโลไร (Helicobacter Pylori) การรับประทานยาแอสไพริน การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ ความเครียด หรือแม้แต่การรับประทานอาหารที่มีรสเผ็ดจัด ก็สามารถก่อให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารได้เช่นเดียวกัน  แผลในกระเพาะ อาหารสามารถแบ่งได้ 2 ประเภท คือ แผลในกระเพาะอาหารที่เกิดขึ้นด้านในของกระเพาะอาหาร (Gastric ulcers) แผลในกระเพาะอาหารที่เกิดบนเยื่อบุลำไส้เล็ก (Duodenal ulcer) อาการของแผลในกระเพาะอาหารเป็นอย่างไร ผู้ที่เป็น แผลในกระเพาะอาหาร มักจะมีอาการดังต่อไปนี้ ปวดแสบปวดร้อนในท้อง ไม่สบายท้อง ท้องอืด เรอ แน่นหรือเจ็บหน้าอก คลื่นไส้และอาเจียน ไม่อยากอาหารหรือไม่กระหายน้ำ น้ำหนักลด อุจจาระมีสีคล้ำหรือมีเลือดปนออกมา อาการปวดของ แผลในกระเพาะอาหาร สามารถบรรเทาได้ด้วยการรับประทานยาแก้ปวด แต่เมื่อหมดฤทธิ์ยา อาการปวดก็อาจกลับมาได้อีกครั้ง หรืออาจทำให้มีอาการปวดท้องในตอนกลางคืน เป็นแผลในกระเพาะอาหาร จะรักษาได้อย่างไร แผลในกระเพาะอาหาร สามารถหายเองได้ แต่ก็สามารถที่จะกลับมาเป็นอีกครั้งได้เช่นกัน แพทย์จำเป็นต้องตรวจหาสาเหตุเพื่อที่จะได้ทำการรักษาได้อย่างตรงจุด โดยอาจใช้วิธีการรักษาดังต่อไปนี้ หากสาเหตุในการเกิด แผลในกระเพาะอาหาร มาจากติดเชื้อแบคทีเรีย แพทย์ก็จะทำการรักษาด้วยการใช้ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย รักษาโดยการให้รับประทานยาลดกรดในกระเพาะอาหาร รักษาโดยการให้รับประทานยาเคลือบแผลในกระเพาะอาหาร รักษาโดยการให้รับประทานยาป้องกันเยื่อบุกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กอักเสบ อย่างไรก็ตาม แผลในกระเพาะอาหาร อาจรักษาไม่หาย ถ้าหาก ไม่รับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง เชื้อแบคทีเรียเอชไพโลไรเกิดการดื้อยา สูบบุหรี่เป็นประจำ หากเป็นแผลที่เกิดจากการใช้ยาแก้ปวดในกลุ่มสเตียรอยด์เป็นประจำ มีการผลิตกรดในกระเพาะอาหารมากจนเกินไป หากเป็นแผลที่เกิดจากติดเชื้อแบคทีเรียชนิดอื่นที่ไม่ใช่เชื้อเอชไพโลไร เป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร มีอาการทางสุขภาพอื่น ๆ […]

สำรวจ แผลในกระเพาะอาหาร

แผลในกระเพาะอาหาร

แผลในกระเพาะอาหาร (Peptic Ulcer)

คำจำกัดความแผลในกระเพาะอาหารคืออะไร แผลในกระเพาะอาหาร (stomach ulcer) หรือแผลเปปติค (peptic ulcer) เป็นแผลซึ่งเกิดขึ้นในกระเพาะอาหาร หรือลำไส้เล็กส่วนต้นที่เรียกว่าดูโอดีนัม แผลในกระเพาะอาหารเป็นอาการที่พบได้ทั่วไป แผลในกระเพาะอาหารพบได้บ่อยเพียงใด แผลในกระเพาะอาหาร เป็นอาการที่พบได้บ่อยมาก สามารถเกิดขึ้นได้กับผู้ป่วยทุกวัย แต่สามารถควบคุมได้ด้วยการลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ กรุณาปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการอาการของแผลในกระเพาะอาหาร อาการของแผลในกระเพาะอาหาร มีดังนี้ รู้สึกดีขึ้นเมื่อคุณรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำ แล้วก็รู้สึกแย่ลงในอีก 1 หรือ 2 ชั่วโมงต่อมา (แผลที่ลำไส้เล็กส่วนต้น) รู้สึกแย่ลงเมื่อคุณรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำ (แผลในกระเพาะอาหาร) มีอาการปวดท้องตอนกลางคืนจนทำให้ตื่น รู้สึกอิ่มเร็ว รู้สึกหนักท้อง ท้องอืด แสบร้อน หรือปวดหน่วงในท้อง อาเจียน น้ำหนักก็ลดแบบทันทีทันใด คุณอาจมีอาการอื่นนอกเหนือจากที่แสดงไว้ข้างต้น ถ้าคุณมีความกังวลเกี่ยวกับอาการ กรุณาปรึกษาแพทย์ ควรไปพบหมอเมื่อใด หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใดๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ สาเหตุสาเหตุของแผลในกระเพาะอาหาร แผลในกระเพาะอาหารอาจเกิดได้จากการอักเสบ หรือการติดเชื้อ แผลในกระเพาะอาหารบางชนิดอาจเกิดจากโรคมะเร็ง ปัจจัยเสี่ยงปัจจัยเสี่ยงของแผลในกระเพาะอาหาร มีปัจจัยเสี่ยงหลายประการที่ทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร เช่น การติดเชื้อแบคทีเรีย โรคมะเร็ง การสูบบุหรี่ การดื่มสุรา การรับประทานอาหารที่มีกรดมากเกินไป ความตึงเครียดทางกายหรือทางจิตใจ ยาต้านการอักเสบ รวมทั้งแอสไพริน ไอบูโพรเฟน (Motrin) นาพรอกเซน (Aleve) คีโตรโปรเฟน (Actron, Orudis KT) และยาบางชนิดที่จ่ายเพื่อรักษาโรคข้ออักเสบ การวินิจฉัยและการรักษาข้อมูลที่นำเสนอในที่นี้ ไม่สามารถใช้แทนข้อแนะนำทางการแพทย์ ให้ปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม การวินิจฉัยแผลในกระเพาะอาหาร สามารถวินิจฉัยแผลในทางเดินอาหารได้โดย การตรวจร่างกายเพื่อตรวจหาความกังวลและอาการต่างๆ ที่คุณมี ประวัติทางการแพทย์ของคุณ สุขภาพของคนในครอบครัว และยาเพื่อรักษาโรคที่คุณกำลังใช้อยู่ อาการแพ้ที่คุณอาจจะมี และประเด็นอื่นๆ การตรวจหลอดอาหาร กระเพาะอาหารและลำไส้ส่วนต้น (Upper gastrointestinal series) การส่องกล้องภายในระบบทางเดินอาหาร การตรวจเลือดเพื่อหาเชื้อแบคทีเรีย […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม